WordPress Plugin คืออะไร


WordPress Plugin คืออะไร

 คืออุปกรณ์เสริมความสามารถให้กับ WordPress ในแต่ละด้านซึ่งมีมากมายหลายพันตัว แล้วแต่จะเลือกใช้ และขอบอกว่าส่วนมากแล้วให้ใช้ฟรีๆ แต่ต้องศึกษาวิธีใช้กันเองหรือบางที่อาจมีแนะนำวิธีใช้ให้ ถ้าคุณยังนึกไม่ออกผมแนะนำให้อ่านต่อด้านล่างครับ ว่า Plugin แต่ละตัวเสริมความสามารถด้านไหนบ้าง ถ้าเราต้องการใช้งานด้านไหนเราก็เลือกเฉพาะด้านไป

รายชื่อ Plugin บางส่วน (ผมเลือกมาเฉพาะที่จำเป็นและเป็นที่นิยมนะครับ ส่วนคุณจะหาเพิ่มเองก็หาได้ในhttp://wordpress.org/extend/plugins/ คุณจะเห็นว่ามีมากมายจริงๆ)
1. All in One SEO Pack เป็นตัวจัดการด้านการโปรโมตเว็บไซต์ให้แรงแซงคู่แข่งทางธุรกิจง่ายๆ Optimizesyour WordPress blog for Search Engines (Search Engine Optimization).
2. Contact Form 7 ปัจจุบันรองรับภาษาไทย 100 % ช่วยจัดการหน้าติดต่อคุณได้ง่ายๆ โดยเมื่อติดตั้ง Plugin ตัวนี้แล้วคุณสามารถให้ลูกค้าหรือผู้ชมเว็บไซต์คุณ สามารถส่งข้อความถึงคุณทางอีเมล์ได้ทันที คุณจะไม่พลาดการติดต่อจากลูกค้าเลยครับ (ถ้าคุณเช็คเมล์ประจำ)
3. Google Analyticator ตัวช่วยติดตั้งโค้ด Google Analytic ที่ได้จากการสมัครใช้บริการของ Google เพื่อเก็บสถิติเข้าใช้งานเว็บไซต์
4. Google XML Sitemaps ไว้สร้างไฟล์ sitemap ในรูปแบบ XML โดยอัตโนมัติ เมื่อมีการโพสต์ข้อความใหม่ หรือหน้าใหม่
5. WP-Polls ตัวช่วยในการสร้างโพลล์ สำรวจความคิดเห็นของผู้ชมเว็บไซต์
6. WP-PageNavi ใช้ในกรณีที่ต้องการแบ่งหน้าการเข้าชมเว็บไซต์หลายๆ หน้าให้เป็นตัวเลขกำกับเลขหน้า
7. LightBox ไว้ซูมภาพให้ดูกันชัดๆ เหมือนเว็บผมที่ใช้อยู่
8. TinyMCE Advanced ตัวนี้ช่วยให้คุณเขียนเนื้อหาเป็นเรื่องง่ายๆ เหมือนใช้ Microsoft Word
9. WP-PostViews ใช้แสดงบทความที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเรีียงตามความฮิตของแต่ละบทความ
10. Easy Facebook Like Button เมื่อผู้ชมอ่านบทความแล้วรู้สึกชอบและผู้ชมคนนั้นเป็นสมาชิก Facebook ก็สามารถ กดปุ่มชอบ ได้ทันที และบทความที่กดชอบนี้ก็จะกระจายไปใน Facebook ของเพื่อนๆ ได้โดยง่ายเป็นการโปรโมทเว็บไซต์ที่ดีและไม่ต้องลงทุนมากครับ
11.Facebook Comments for WordPress ใช้ทำเป็นกล่องไว้ให้ผู้ชม comment ในเว็บเราครับ จะอยู่ด้านล่างของแต่ละหน้า ลองศึกษาดูจากเว็บที่อยู่ของ Plugin ตัวนี้เลยครับ
และยังมี WordPress Plugin เกี่ยวกับ Facebook อีกมากมาย ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ ในนั้นจะมีวิธีใช้งานอย่างละเอียดให้เราได้อ่านด้วยครับ



ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำเว็บไซต์ดัวย WordPress 
ผมอยากให้ลองศึกษาโครงสร้าง
ของบทความว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง
WordPress จะมีรูปแบบการเผยแพร่บทความอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบคือ

1. โพส Post (บทความทั่วไป) จะมีหมวดหมู่บทความ (Categrries) คลุมอยู่อีกชั้นหนึ่งเพื่อง่ายต่อการหาเนื้อหาที่คล้ายๆ กัน
2. Pages (บทความเหมือนบทความทั่วไป แต่นิยมเขียนแยกเป็นหน้าไม่ขึ้นกับหมวดหมู่ใดๆ)

จะเริ่มยังไง?
1. สร้างหมวดหมู่ก่อน Categories  ใน 1 เว็บไซต์คุณต้องคิดโครงสร้างคร่าวๆ ก่อน ว่ามีหมวดหมู่อะไรบ้าง โดยทั่วไป 1 เว็บจะมีประมาณ 3 หมวดหมู่ขึ้นไป เช่น ทำเรื่อง wordpress
หมวดหมู่ที่เตรียมไว้ก็น่าจะมี
1.1 พื้นฐานเวิร์ดเพรส
1.2 WordPress Theme
1.3 WordPress Plugin
** คุณอาจจะเริ่มโดยการเขียนบทความก่อน แล้วจึงสร้างหมวดหมู่ก็ได้ ซึ่งในขณะที่กำลังเขียนบทความนั้น สังเกตุด้านขวามือจะมีแถบเมนูที่ชื่อ Categries
และจะำมีหมวดหมู่ที่ระบบสร้างไว้ให้คือ Uncategories หมายถึงอื่นๆ ไม่เข้าพวก
เราก็สร้างใหม่จากตรงนี้ได้เลย โดยคลิกเลือก + Add New Category
จะมีช่องให้กรอกชื่อหมวดหมู่ที่ต้องการได้เลย และคลิก Add New Categories

2. เริ่มเขียนบทความ Post  โดยนำเนื้อหาที่เตรียมไว้มาเขียน โดยที่หน้า Dashboard ของ Admin ไปที่เมนู Post >>> Add New
และิริ่มต้นเขียนโพสได้เลย
การแทรกรูปภาพให้เราลองสังเกตุปุ่ม Upload/Insert   ที่อยู่ตรงกลางด้านบน ตอนที่เรากำลังเขียนบทความหรือโพส
คลิกที่รูปที่อยู่ข้างๆ ปุ่ม Upload/Insert   ได้เลย สามารถเลือกขนาดภาพได้ ลองเล่นดูนะครับ

3. เขียนหน้า  Page  หน้าเขียนเพื่ออะไร ทำไมต้องเขียนหน้า?
หน้า หรือ Page มีไว้เพื่อเขียนประวัติ, หน้าติดต่อเรา, หน้าที่ตั้้งของเจ้าของเว็บไซต์, อื่นๆ ที่เป็นข้อมูลที่ตายตัวไม่เข้ากับหมวดหมู่อื่น
ตัวอย่างเว็บ WPsmile.com จะมีหน้าดังนี้
หน้าติดต่อเรา
http://www.wpsmile.com/contact-1

หน้า ส่งหัวข้อที่อยากรู้เกี่ยวกับพื้นฐาน WordPress
http://www.wpsmile.com/wordpress-how-to-request

หน้า ใครคือ WPsmile
http://www.wpsmile.com/about-wpsmile

ที่เหลือจะเป็นโพสแยกตามหมวดหมู่ครับ

ติดตั้ง WordPress แล้วทำยังไงต่อ

หลังจากติดตั้ง WordPress แล้ว ก่อนที่เราจะเขียนบทความกัน เราต้องตั้งค่าเบื้องต้นให้กับเว็บไซต์ของเราก่อนครับ การตั้งค่าเบื้องต้นหลังจากติดตั้ง WordPress ที่จำเป็นก็มีไม่กี่อย่างครับ
เป็นการตั้งค่าพื้นฐานที่จำเป็นก่อนนะครับ ส่วนชั้นสูงขอยกไปโพสต่อไปละกันครับ

1. General Settings

เป็นการตั้งค่าพื้นฐานขั้นแรกๆ ครับ วิธีทำก็ไปที่  Settings(ที่หน้าควบคุมหรือ Dasboard)>>>General
จากนั้นกรอกรายละเอียดเว็บของเราลงไป
Site Title: สโลแกนของเว็บเราครับ แบบสั้น
Tagline: ส่วนนี้จะเป็นคำอธิบายเว็บครับ
WordPress address (URL):กำหนด url ของ wordPress ถ้าเปลี่ยนตรงนี้ก็จะเป็นต้องย้ายไฟล์ที่เกี่ยวข้องไปด้วยครับ แต่ถ้าเติมแค่ คำว่า www ไว้ข้างหน้าโดเมนเราก็ไม่มีปัญหาครับ
Site address (URL): ที่อยู่สำหรับผู้ชมเว็บไซต์ของเราครับสามารถเติม คำว่า www ไว้ข้างหน้าโดเมนเราก็ได้ครับ แล้วแต่ชอบ
E-mail address : E-Mail ของเว็บมาสเตอร์ครับ
Membership: ถ้าติกถูกตรงนี้ก็หมายถึงอนุญาตให้มีการสมัครสมาชิกของเว็บเราได้
New User Default Role: กำหนดว่าถ้ามีการสมัครแล้วจะกำหนดให้เข้าถึงได้ในระดับใด(ค่าตั้งต้น)
ส่วนมากเพื่อความปลอดภัยจะกำหนดให้เป็นแค่ Subscriber เป็นผู้รับข่าวสารจากเราเท่านั้น
Timezone: กำหนดเวลาเป็น +7 เวลาประเทศไทยครับ
และก็กด Save Changes

2. Writing Settings

ขยาย บรรทัดการพิมพ์โพส จาก 10 เป็นประมาณ 50 หรือ 60 แล้วแต่ชอบครับ ตรงนี้จะขยายช่องการโพสเนื้อหาครับให้ใหญ่ขึ้นเราจะได้มองภาพรวมง่ายๆ ครับ วิธีทำก็ไปที่ Settings>>>Writing>>>Size of the post box กำหนดตามชอบครับประมาณ 50 กำลังเหมาะ

3.  Settings

เปลี่ยน Link ของ บทความเพื่อเหตุผลด้าน SEO และความสวยงาม ซึ่งถ้าไม่เปลี่ยนตรงนี้ เวลาที่เราคลิกอ่านแต่ละโพสมันจะขึ้นแบบนี้   http://www.โดเมนเนม/?p=123
ถ้าเปลี่ยนแล้วจะเป็นประมาณนี้ครับ “http://www.wpsmile.com/ทำไมต้องใช้-wordpress.html”
วิธีทำก็ไปที่ settings>>>Common settings>>>ตรง Custom Structure ให้เป็นเป็น
/%postname%.html
การตั้งค่าพื้นฐานก็มีเพียงแค่นี้ครับ จริงๆ ทำแค่ข้อ 1 ก็น่าจะเพียงพอแล้วครับ (แล้วแต่ความชอบครับ)

ร่วมเป็นสมาชิก Blogseothai คุณคือตัวจริง !