การทำ SEO เริ่มต้นทำ SEO


enjoyday นั้นตั้งใจอยู่แล้วที่จะเขียนแนะนำเรื่องการทำ SEO  เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญในการทำเว็บไซต์ แต่ว่ามันต้องใช้เวลาพอสมควรในการเรียบเรียง และเขียนออกมา คงต้องรอกันหน่อยนะคะ  
สำหรับผู้อ่านที่สนใจ ไม่อยากรอ อยากรู้ว่าการทำ SEO เบื้องต้นนั้นทำได้อย่างไรบ้าง สามารถอ่านจาก “คู่มือการทำ SEO สำหรับผู้เริ่มต้นฉบับภาษาไทยจาก Google” 



ดาวน์โหลดได้ที่นี่ค่ะ
http://www.google.co.th/intl/th/webmasters/docs/search-engine-optimization-starter-guide-th.pdf
.
คำแนะนำจาก Google ในการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาให้กับเว็บไซต์ enjoyday สรุปมาบางส่วนให้อ่านกันง่ายๆ ค่ะ  

1. ตั้งชื่อ Title ของหน้าเว็บว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร และไม่ซ้ำกันในแต่ละหน้า

การตั้งชื่อให้แต่ละหน้าเว็บนั้นทำโดยการใส่ข้อความใน tag <title> ที่อยู่ใน tag <head> เช่น
<html>
<head>
   <title>Brand’s Baseball Cards – BuyCards, Baseball News, Card Prices</title>
   …
</head>
ซึ่ง Google จะใช้ชื่อที่เราตั้งแสดงในผลการค้นหาด้วย
เราอาจจะต้องใช้วาทะศิลป์สักนิด ในกรณีที่เว็บของเรามีอันดับต่ำกว่า เช่น อยู่หน้าแรกเหมือนกันแต่อยู่ลำดับที่ 5    ถ้าเราเขียนชื่อเว็บได้ชวนให้คลิกเข้ามาชม ผู้ชมก็จะเลือกคลิกมาที่เว็บเราด้วย คำที่มีผลก็เช่น สอนตั้งแต่พื้นฐาน, แบบละเอียด, แบบ stept by step, ฟรี เป็นต้น
ข้อแนะนำจาก Google
  • ตั้งชื่อให้สื่อถึงเนื้อหาของหน้าเว็บ ไม่ควรปล่อยเป็นค่าเริ่มต้นที่ได้มาตอนเขียนเว็บเพจ เช่น Untitled, New Page1
  • ตั้งชื่อให้แตกต่างกันในแต่ละหน้า หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อเดียวกันในทุกหน้า
  • ตั้งชื่อที่สั้น แต่ได้ใจความ เพราะถ้ายาวเกินไป Google จะแสดงได้เพียงบางส่วน
.

2.ใช้ Meta tag description ข้อความอธิบายเกี่ยวกับเว็บไซต์

Meta tag description ใช้สำหรับใส่ข้อความบรรยายเว็บไซต์ด้วยประโยคสรุป  อยู่ในส่วนของ tag <head>
<html>
<head>
<title>Brand’s Baseball Cards – BuyCards, Baseball News, Card Prices</title>
<meta name=”description” content=”Brandon’s Baseball Cards provides a large selection of vintage and modern era baseball cards for sale. We also offer daily baseball news and events in …”>

</head>
โดยคำอธิบายที่เราใส่ให้หน้าเว็บจะถูกนำมาแสดงในผลการค้นหาด้วยใต้ชื่อเว็บ หรือ title   แต่ไม่แน่เสมอไป เพราะบางครั้ง Google ก็เลือกดึงข้อความจากในหน้าเว็บนั้นมาแสดงเอง โดยดูจากคำค้นหา    แต่อย่างไรเราก็ควรใส่ไว้ และไม่ต้องใส่ให้ยาวเกินไปเพราะมันแสดงไม่พอค่ะ
ข้อแนะนำจาก Google
  • เขียนคำอธิบายเว็บให้ละเอียดแต่ให้กระชับ และดึงดูดความสนใจ
  • ไม่เขียนคำอธิบายที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้านนั้น
  • ระบุคำหลักที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเราลงไปด้วย
  • เขียนคำอธิบายที่ไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละหน้าเว็บ
.

3. การปรับปรุงโครงสร้าง URL ของเว็บ

URL ก็คือลิงค์ข้อความที่บอกตำแหน่งของข้อมูลใน Internet ไม่ว่าจะเป็น Web page, File ประเภทต่างๆ เช่น รูปภาพ เสียง
ข้อแนะนำจาก Google
  • ใช้คำที่ได้ใจความใน URL ที่ประกอบด้วยคำที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
    ไม่ควรเป็นค่าพารามิเตอร์และรหัส session ที่ไม่จำเป็น เช่น http://www.enjoyday.net/list.php?catid=34&no=37
    ไม่ใช้คำที่ไม่สื่อความหมาย เช่น page1.html
  • สร้างโครงสร้าง directory ที่เรียบง่าย การใช้ directory ที่จัดเนื้อหาอย่างเป็นระเบียบจะช่วยให้ผู้ชมรู้ตำแหน่งของตนที่อยู่บนเว็บไซต์ได้ เช่น
    http://www.enjoyday.net/webtutorial/html/index.html (บทเรียนออนไลน์สอน HTML)
    http://www.enjoyday.net/webtutorial/css/index.html (บทเรียนออนไลน์สอน CSS)
    http://www.enjoyday.net/webtutorial/xhtml/index.html (บทเรียนออนไลน์สอน XHTML)
  • หลีกเลี่ยงการใช้ directory ที่เป็น sub ซอยย่อยจนเกินไป เช่น “…/dir1/dir2/dir3/dir4/dir5/dir6/page.html”
  • หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อ directory ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
.

4. ทำระบบนำทางในเว็บไซต์ให้ใช้งานง่าย

ระบบนำทางที่ดีจะช่วยให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว รู้ว่ากำลังอยู่ตรงไหนของเว็บไซต์ และยังทำให้ Google รู้ว่า Webmaster ให้ความสำคัญกับเนื้อหาใด
องค์ประกอบของระบบนำทาง ได้แก่ เมนู, กล่องค้นหา, หน้า sitemap เป็นต้น
ข้อแนะนำจาก Google
  • สร้างลำดับขั้นที่ต่อเนื่องกันอย่างเหมาะสม ไม่แบ่งย่อยจนเกินไป เช่นต้องคลิกถึง 20 ครั้งกว่าเข้าถึงหน้าเนื้อหาย่อยได้
  • ใช้ข้อความสำหรับนำทาง เช่น ใช้ลิงค์ข้อความ หลีกเลี่ยงการใช้งานแบบเมนูเลื่อนลง รูปภาพ flash
  • ใช้การนำทางแบบแสดงเส้นทาง และทำเป็นลิงค์ให้คลิกกลับไปอีกหน้าได้ เช่น Brandon’s Baseball Cards > Articles > Top Ten Rarest Baseball Cards
  • ทำหน้า sitemap แบบ HTML  ที่มีลิงค์ของหน้าทั้งหมดในเว็บ และจัดระเบียบหัวข้อด้วย  หรือถ้ามีจำนวนหน้ามาก ก็ให้แสดงเฉพาะหน้าเว็บหลัก  และไม่ควรปล่อยให้มีลิงค์เสียในหน้า sitemap
  • สร้างไฟล์ sitemap แบบ XML สำหรับให้ Bot ของ Search Engine เข้ามาเก็บข้อมูลเว็บไซต์ได้ง่ายๆ ไม่ต้องไต่ลิงค์ตามหน้าเว็บเพจต่างๆ เอง
  • ใช้หน้า 404 ให้เกิดประโยชน์  ในกรณีที่ผู้ใช้อาจเข้าถึงหน้าที่เว็บที่ถูกลบไปแล้ว หรือพิมพ์ URL ผิด  การสร้างหน้าเว็บ 404 ที่กำหนดเอง โดยนำทางกลับไปยังหน้าแรก  จะดีกว่าปล่อยให้แสดงข้อความ Not Found

Meta Tag ของ Blogger ให้มีประสิทธิผลสูงสุด


บทความนี้ พยายามที่จะทำให้ง่าย ทั้งการนำไปใช้ปฏิบัติจริง 
และการทำความเข้าใจกับแท็ก header ของ bloggerสำหรับ
การทำ Search engine optimization (SEO) ในส่วนของ Onpage Optimize
ทบทวนกันก่อน สำหรับ Meta Tag หลักๆสำหรับการทำ SEO


รูปจากคู่มือแนะนำการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหาของ google จะสังเกตได้ว่า Meta Tag ที่ header มีเพียง Title Tag และ Meta Description เท่านั้น ถึงแม้จะขาด Meta Keyword เนื่องจาก google ไม่ได้ให้ความสำคัญ แต่ถึงอย่างไร ก็ยังมี Search Engine ตัวอื่นที่ยังใช้อยู่ เพราะฉะนั้นก็ใส่ๆไปเถอะ และเพิ่ม Tag canonical (แท็กที่บอก bot ว่า URL นี้ที่เราให้ความสำคัญ)
สรุป ก็คือเราต้องการจะให้ มี 4 แท็ก ดังนี้
  1. Title Tag
    <title></title>
  2. Meta Description
    <meta content="description" name="description" />
  3. Meta Keyword
    <meta content="keywords" name="keywords" />
  4. Canonical
    <link href="URL" rel="canonical" />
ตามค่าพื้นฐาน Templates ของ Blogger นั้น จะมี Meta Tag เพียง Title Tag เท่านั้น และก็เป็น title ที่ซ้ำๆ กันทุกหน้า ทีนี้เราจะมาปรับตรงส่วนของ Title Tag ไม่ให้ซ้ำกันมาก และเพิ่มแท็ก Description , Keyword และ Canonical ให้ส่วนของเมต้าของแต่ละหน้ามีความแตกต่างกัน
วิธีการ
  1. ล็อกเข้าไปที่หน้า Layout (1.) –> Edit HTML(2.)
  2. มองหาแท็ก
    <title><data:blog.pageTitle/></title>
  3. แล้วก๊อปปี้โค้ดด้านล่างนี้ไปใส่แทน 
     
    <b:if cond='data:blog.pageType == &quot;index&quot;'>
    <title><data:blog.pageTitle/></title> 
    <meta expr:content='data:blog.pageTitle' name='description'/>
    <meta expr:content='data:blog.pageTitle' name='keywords'/>
    <link expr:href='data:blog.url' rel='canonical'/>
    </b:if>
     
    <b:if cond='data:blog.pageType == &quot;item&quot;'>
    <title><data:blog.pageName/></title>
    <meta expr:content='data:blog.pageName' name='description'/>
    <meta expr:content='data:blog.pageName' name='keywords'/>
    <link expr:href='data:blog.url' rel='canonical'/>
    </b:if>
     
    <b:if cond='data:blog.pageType == &quot;archive&quot;'>
    <title><data:blog.pageName/></title>
    <meta expr:content='data:blog.pageName' name='description'/>
    <meta expr:content='data:blog.pageName' name='keywords'/>
    <link expr:href='data:blog.url' rel='canonical'/>
    </b:if>
ความหมายของแต่ละวรรค





  • - วรรคแรก ถ้าเป็นหน้า index จะแสดงในส่วนของหน้าแรก (หน้า hame page)







  • - วรรคสอง ถ้าเป็นหน้า item จะแสดงในส่วนของหน้าเดี่ยว หรือหน้าของโพสต์







  • - วรรคสาม ถ้าเป็นหน้า archive จะแสดงในส่วนของหน้ารวมบทความ หรือหน้าคลังบทความ







  • - ในส่วนของแท็กหน้าที่เป็น URL หน้า Label นั้น จะอิงตามหน้า index คือจะเหมือนหน้า index แต่งจะเพิ่มตัว Label เข้ามาด้วย



  • ตามวิธีการนี้จะเป็นการเรียก title ของแต่หน้า ขึ้นมาแสดงในส่วนของ meta ทั้งหมด คือเป็นทั้ง title , description และ keywords ซึ่งผมคิดว่าเป็นวิธีการที่ง่ายดี ท่านใดมีวิธีที่ดีกว่าก็ชี้แนะได้ครับ.

    5 อันตรายใครทำบ้างใน SEO

             


    ต้องยอมรับนะครับว่าในปัจจุบันการทำ SEO (Search Engine Optimization) เริ่มทำยากมากขึ้นและใช้เวลาในการทำอันดับที่นานขึ้น แต่การทำ SEO มันสามารถช่วยให้คุณมี traffic เข้าเว็บไซต์ที่เพิ่มขึ้นแถมยังเป็น traffic ที่มีคุณภาพอีกด้วย เมื่อ traffic เพิ่มขึ้นก็สามารถหาเงินออนไลน์ได้มากขึ้น “More traffic = More money” เนื่องจาก traffic ที่ได้จาก search engine นั้นเป็นสิ่งที่คน search หาข้อมูลที่ต้องการอ่านจริงๆ ยิ่งถ้าคุณอยากติดอันดับดีๆ บน search engine การทำ SEO เป็นสิ่งที่ควรจะทำและเพื่อให้มั่นใจว่า SEO ที่เรากำลังทำอยู่นั้นมีคุณภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์ของเราในอนาคต นี่คือ 5 สิ่งที่คุณควรจะหลีกเลี่ยงในการทำ SEO เพราะมันอาจจะทำให้คุณเจ็บหนักได้

    1. ซื้อลิงค์


    การซื้อลิงค์เป็นสิ่งที่ยังใช้ได้นะครับ มันเหมือนกับเรานำร้านค้าหรือเว็บไซต์ของเราไปตั้งอยู่ท่ามกลางผู้คน แน่นอนมันก็เพิ่มโอกาสที่ทำให้คนเข้าถึงร้านเรามากขึ้น แต่การซื้อลิงค์ที่ดีเราก็ต้องนึกถึงหลักของความเป็นจริงด้วยนะครับ มีหลายบริการการฝากลิงค์ที่มีให้คุณเลือกมากมายในโลกออนไลน์ แต่แน่ใจเหรอครับว่าลิงค์ที่เค้าฝากให้เรานั้นได้คุณภาพ โดยส่วนตัวผมเคยลองใช้บริการพวกนี้ดูแล้ว ส่วนใหญ่เค้าจะเอาบทความไปปั่นหรือไม่ก็ฝากลิงค์ในหน้าเว็บที่แทบจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเนื้อหาเว็บไซต์คุณเลย คุณขายเนื้อให้คนที่เป็นมังสวิรัติไม่ได้หรอกครับ ดังนั้นการฝากลิงค์ใน niche เดียวกับเราหรือเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันย่อมเป็นการฝากลิงค์ที่มีประสิทธิภาพกว่า ในปัจจุบัน search engine มีทีมงานเฉพาะที่ทำการตรวจสอบที่มาของลิงค์ขาเข้าของเว็บไซต์เราได้แล้วนะครับ ว่าลิงค์ขาเข้าของเว็บไซต์เรานั้นเข้ามาอย่างผิดปกติ ก็อาจส่งผลเสียต่ออันดับเว็บไซต์ของเราด้วย

    2. ใช้ duplicate content


    Google ไม่ค่อยชอบ duplicate content หรือบทความที่ซ้ำกับชาวบ้านเค้า แต่จริงๆบทความที่เป็น unique content อาจจะยังไม่ตอบโจทย์บทความที่ตอบโจทย์จริง ๆ สำหรับผม บทความที่เป็น unique content ควรเป็น useful content ด้วยจะดีมากเพราะคนอ่านอ่านแล้วรู้สึกมีคุณค่าและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้จริง ที่เค้าบอกกันว่า unique content is king นั้นอาจไม่จริงเสมอไป จริงๆแล้ว useful unique content ต่างหากที่ตอบโจทย์ของ search engine ยิ่งถ้าคุณมีบทความคุณภาพมากขึ้นมันก็ส่งผลต่ออันดับของเว็บไซต์คุณด้วย

    3. ยัด keyword


    ผมว่าอันนี้ทุกคนน่าจะเข้าใจตรงกัน มันคือการยัดคีเวิร์ดที่เราต้องการเข้าไปในเนื้อหาของเว็บไซต์เราให้เยอะเพื่อให้search engine เห็นว่าเรามี keyword นี่เยอะและทำให้ keyword นั้น rank ขึ้นมาได้ ในสมัยก่อนมันเป็นสิ่งที่ใช้ได้ดี แต่เดี่ยวนี้มันไม่ใช่แล้วครับ algorithm ของ search engine นั้นมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและยังสามารถแยกแยะบทความได้ดีขึ้น ถ้ามันดูไม่เป็นธรรมชาติ มันก็ส่งผลต่ออันดับของคุณด้วย คำแนะนำคือคุณอาจจะลองใช้ keyword ที่ต้องการขึ้นอันดับนั้นแตกเป็น keyword ย่อยดู แล้วนำมาเขียนให้เจาะลึกและแตกย่อยเนื้อหาเพิ่มขึ้นก็สามารถช่วยให้อันดับของ keyword ที่คุณต้องการ rank นั้นมีอันดับที่ดีขึ้นได้

    4. มุ่งเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ


    ลิงค์ที่ได้มาจากบทความคุณภาพเพียงลิงค์เดียวย่อมดีกว่าลิงค์ที่ไม่มีคุณภาพจากหลายๆที่รวมกัน แล้วอะไรละคือลิงค์ที่มาจากคุณภาพบทความ? ลิงค์ที่ดีควรจะมาจากเนื้อหาที่ใกล้เคียงกัน มันก็เหมือนคุณได้เข้าไปร่วมการสนทนากับเรื่องที่ใกล้เคียงกันกับคุณคนฟังคนอื่นเค้าย่อมฟังและรับความคิดเห็นจากคุณด้วย ในทางกลับกันถ้าคุณเข้าไปมีส่วนร่วมกับคนที่เค้าไม่ได้คุยเรื่องเดียวกันกับคุณเค้าก็คงไม่สนใจคุณใช่ไหมครับ อย่างการฝากลิงค์กับพวก blog comment คุณจะเห็นตัวอย่างที่ชัดเจนขึ้น บล็อกส่วนใหญ่มีที่ให้เอาไว้ฝาก comment และลิงค์แต่จำเป็นต้องผ่านการอนุมัติของเจ้าของบล็อกก่อน ถ้าบล็อกคุณมี comment บทความที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยเอาแต่จะฝากลิงค์ ถ้าคุณเป็นเจ้าของบล็อกนั้นคุณจะปล่อยให้มี comment ที่จะเอาแต่ขายของนั้นให้ขึ้นไหม หลายคนนั้นพยายามฝากลิงค์ให้ได้เยอะๆ ผ่านบล็อกเหล่านี้โดยเน้นไปทางปริมาณมากกว่าคุณภาพ โดยไม่รู้ตัวเลยที่กำลังทำอยู่นั้นเสียเวลาเปล่าและไม่ได้อะไรกลับมาเลย หรืออย่างการฝากร้านผ่าน instagram ดารานั่นแหละครับ มันก็คล้ายๆกันครับ

    5. ฝากลิงค์อย่างเดียว


    การฝากแต่ลิงค์อย่างเดียวนั้นอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ใช่ของการทำ SEO ทางที่ดีนั้น คุณอาจจะใช้ social media อย่าง facebook หรือ content marketing อย่างพวก hubpage หรือ ezinearticles เพื่อเพิ่มความสมดุลในการทำ backlink ให้มากขึ้น แถมยังช่วยให้คุณได้ traffic จากที่อื่น นอกเหนือจาก search engine ด้วยนะครับ

    สำหรับผมบางข้อข้างต้นนั้นมันอาจจะยังทำได้ผลอยู่ แต่ถ้าคุณต้องการสร้างแบรนด์เป็นของตัวเองและไม่ต้องกังวลว่าเว็บไซต์ของเรานั้นจะโดน search engine เก็บเมื่อไร คุณจะเห็นว่าสิ่งที่ผมบอกมาข้างต้นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอยู่ดี และสิ่งหนึ่งที่จะช่วยอันดับของคุณที่ขึ้นได้โดยแทบไม่ต้องฝากลิงค์เลยนั่นก็คือ บทความที่มีคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านนั้น เพราะผู้อ่านที่ชอบนั้นจะเกิดการแชร์และบอกต่อเองครับ

    ที่มา: http://www.passiveincomeoptimizer.com

    Index for Blog


    เมื่อกล่าวถึงการ Index ของบล็อกหรือเว็บไซต์แล้ว ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญของคนที่ทำ 
    Search Engine Optimization (SEO) กันเลยทีเดียวครับ เพราะหากว่าทำบล็อกหรือเว็บไซต์ขึ้นมาแล้วไม่ได้รับการ Index ข้อมูลของบล็อกหรือเว็บจากGoogleBingYahoo! แล้วละก็ ให้ลืมเรื่อง SEO ไปได้เลย สาเหตุก็เนื่องจากว่า หน้าเพจหรือหน้าโพสที่ได้รับ Index แล้วเท่านั้นจึงจะสามารถทำอันดับในหน้าผลการค้นหาได้ หรือมีโอกาสในการทำอันดับในหน้าผลการค้นหาได้ ด้วย Keywords ต่างๆ ที่ได้มีการนำเสนอในหน้าเพจ หรือหน้าโพสนั้นๆ



    ทั้งนี้หากแม้นว่าเราได้ทำการปรับแต่ง (On-Page Optimization) กระบวนการต่างๆ ตามหลักการของ SEO เป็นที่เรียบร้อยสมบูรณ์แล้วก็ตาม ถ้าหากว่าเราไม่สามารถที่จะทำให้หน้าเพจหรือหน้าเว็บนั้นๆ ได้รับการบันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูลของ Search Engine (การได้รับ Index หน้าเว็บหรือหน้าเพจนั่นเอง) แล้วละก็สิ่งที่เราได้ทำมานั้น ก็คงไม่มีประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น ฉนั้นเราก็ต้องหาวิธีหรือเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนการ Index ข้อมูลของเว็บเราให้ดีและเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถหาได้ ในที่นี้ผมขอแนะนำสุดยอดเครื่องมือที่สามารถทำให้เว็บได้รับ การ Index ข้อมูลดีที่สุดสัก 2-3 แห่งครับส่วนจะเป็นอะไรนั้นลองอ่านให้จบกันดูครับ
    กระบวนการปรับแต่งเว็บหรือบล็อกของเรานั้น แม้ว่าจะทำได้เลิศหรูอลังการขนาดไหนก็ตามที หากแม้นว่าไม่มี บอท (Search Engine Robot) เข้ามาทำการบันทึกข้อมูล ทุกอย่างเหล่านั้นก็คงไม่สามารถทำ Search Engine Optimization (SEO) ได้ เราเลยจำเป็นต้องอาศัยเว็บไซต์หรือ Social Media and Social Network มาเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้เกิดการ Index ข้อมูลของเว็บเรา ซึ่งในที่นี้ผมขอแนะนำ Facebook และ Twitter ซึ่งทั้งสองแห่งนี้ส่งผลต่อการ Index ข้อมูลอย่างรวดเร็วเป็นอย่างมาก และที่สำคัญก็คือ จากประสบการณ์ที่ผมได้ใช้งานมานั้น จะใช้เวลาเพียงแค่ 0.30 วินาทีเท่านั้นเอง



    ส่วนเครื่องมือต่อมานั้นก็คือเว็บไซต์ดังต่อไปนี้ (ลองนำไปใช้กันดูนะครับ

    http://delicious.com
    http://www.flickr.com
    http://www.linkedin.com
    http://www.livejournal.com
    http://www.myspace.com
    http://www.orkut.com



    ซึ่งทุกท่านสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้เว็บเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการ Index ข้อมูลที่ดีและรวดเร็วครับ ส่วนจะทำอันดับได้หรือไม่นั้นเห็นทีต้องพึ่งความสามารถในการปรับแต่งหน้าเพจ หรือหน้าโพสของแต่ละท่านละครับผม เอาหละวันนี้ผมคงขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อนเดี๋ยวมาพบกันกับเรื่องราวของ CPA ในบทความหน้าครับ สำหรับวันนี้ สุขสมหวัง ร่ำรวย จงมีแด่ทุกๆ ท่านครับสวัสดีครับ.


    ที่มา:http://aoyice.blogspot.com/2012/07/index.html



    คำว่า SEO Link Building

     อาจเป็นเรื่องที่เก่ามากมายสำหรับคนที่รู้จักกับเรื่อง Search Engine Optimization (SEO) เป็นอย่างดี แต่สำหรับมือใหม่หรือ ผู้ที่กำลังเริ่มต้นศึกษาเกี่ยวกับ SEO แล้วละก็นี่คือหัวใจสำคัญอย่างหนึ่ง ที่อาจส่งผลต่อความเข้าใจว่า SEO Link Building นั้นคืออะไรและมีความสำคัญได้อย่างไร บทความชุดนี้ผมเองอาจไม่ต้องอธิบายอะไรๆ แบบเจาะลึกมากนัก เพราะอาจทำให้หลายๆ คนเกิดความสงสัย หรือไม่เข้าใจได้ แต่ทว่าจริงๆ แล้วเรื่องลิงค์ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรหรอกครับ เพียงแต่ถ้าเราสามารถแยกออกได้ ตามหลักการเท่านั้นครับ
    สวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ และท่านผู้อ่านที่รักครับ วันนี้ผมได้มีเรื่องราวดีดี มาเล่าสู่กันฟัง (อ่าน) อีกแล้วอาจไม่ค่อยได้พบกันบ่อยมากนัก แต่ก็จะพยายามจัดการเรื่องเวลาให้มากขึ้น สำหรับในช่วงนี้นั้นท่านอาจได้อ่านเรื่องราว ต่างๆ มากขึ้นและอาจหนักหัวหน่อย สำหรับท่านที่ยังใหม่อยู่ แต่เชื่อเถอะครับว่า ท่านได้ศึกษาเอาไว้จะไม่เสียหลายเลยทีเดียวครับ จริงๆ แล้วสืบเนื่องจากที่ผมเองนั้น ได้มีความพยายามที่จะจัดเนื้อหาของบล็อกแห่งนี้ ให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้นในปีหน้า ก็เลยต้องปูพื้นในส่วนนี้เสียก่อน เพราะที่ผ่านมานั้นข้อมูลหลายๆ ส่วนของบล็อกแห่งนี้ได้หายไป และทำให้ผมเองต้องมานั่งไล่ๆ เขียนขึ้นใหม่บางเรื่อง แต่ก็อาจเป็นส่วนดีครับ เพราะเนื้อหาจะได้เหมาะกับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากยิ่งขึ้นนั่นเองครับ เอาหละเดี๋ยวจะเสียเวลาหลายๆ ท่านก็คงทักทายกันพอหอมปาก หอมคอ ก็แล้วกันครับไปอ่านเนื้อหาเรื่องนี้กันต่อเลยครับ *_^

    ทำไมเราถึงต้องรู้จักลิงค์ (Link) มีความสำคัญอย่างไร

    ก่อนอื่นเลยผมเองคงต้องขอเกริ่นนำเกี่ยวกับเรื่องนี้สักนิด เพื่อให้เนื้อหานี้ดูสมบูรณ์ขึ้น แม้ว่าจะไม่ดีที่สุดแต่คิดว่าน่าจะเป็นอะไรที่ทำให้หลายๆ ท่านที่ยังคงมือใหม่อยู่นั้นได้เห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น Link คือองค์ประกอบหลักของเว็บไซต์ หรือบล็อกโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญนี้เอง ทำให้เราไม่สามารถจะแยกลิงค์ออกจาก เว็บไซต์หรือบล็อกได้ ทั้งนี้ หากเราย้อนมองกลับไปยังเว็บไซต์หรือบล็อกที่ไม่มี Link ดูคงพอนึกภาพออกว่าแล้วจะเรียกว่าเว็บไซต์ หรือบล็อกได้อย่างไร มันคงดูแปลกตาดีไปอีกแบบก็เป็นได้ (อันนี้ผมคิดเองนะครับ) นั่นทำให้เราเห็นความสำคัญว่า ไม่ว่าอย่างไรลิงค์ก็ยังคงคือส่วนสำคัญอย่างมากในเว็บไซต์หรือบล็อก แม้ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม SEO Link Building จะถูกแยกออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ของเว็บไซต์หรือบล็อกดังนี้ครับคือ:
    • ลิงค์ (Link) ภายใน
    • ลิงค์ (Link) ภายนอก

    ลิงค์ภายใน


    ลิงค์ ภายในหมายถึง ลิงค์ที่อยู่ในบล็อกของเราต่างๆ เช่น ลิงค์ของเพจต่างๆ อย่างเช่น About Us, Contact Us, หรืออะไรอื่นๆ ที่เราเห็นตามเว็บไซต์ทั่วๆ ไป ลิงค์ภายในนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อเว็บไซต์ หรือบล็อกหนึ่งๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความน่าสนใจ และเป็นการส่งต่อข้อมูลภายในบล็อกหรือเว็บไซต์ ให้ง่ายต่อการจัดการเนื้อหา และง่ายต่อการอ่าน ลิงค์ภายในจึงถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับเว็บไซต์ หรือบล็อกที่ถูกสร้างมาเพื่อธุรกิจ หรือกิจการโดยตรง (บล็อกส่วนตัว หรือบล็อกทั่วๆ ไปก็ถือว่าลิงค์สำคัญนะครับ ผมเพียงแค่พูดถึงในส่วนของธุรกิจเท่านั้น) ทั้งนี้การสร้างลิงค์จึงต้องมีการออกแบบเป็นอย่างดี และส่งผลต่อหลักการด้าน SEO หรือการตลาดในแบบออนไลน์ ถ้าเราสังเกตุดูนะครับ เราอาจพบเห็นเว็บไซต์บางแห่งที่ไม่ได้มุ่งเน้นทำ SEO มากนักอาจด้วยเจ้าของเว็บไม่รู้ หรืออาจเป็นเพราะคนทำเว็บไม่ได้รับคำสั่งให้สร้างเพื่อหลักการทาง Search Engine Optimization (SEO) ฉนั้นเราจึงจำเป็นต้อง ให้ความสำคัญกับลิงค์ภายในเว็บของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตามเพราะนั่นจะทำให้คนที่เข้ามายังเว็บไซต์ของเรา หรือบล็อกของเรานั้น สามารถที่จะสืบต่อข้อมูล หรือติดตามส่วนสำคัญของข้อมูลต่อไปได้ ทั้งนี้จะหมายรวมไปถึง ลิงค์ที่เราทำออกไปนอกบล็อกหรือเว็บของเราด้วย ซึ่งเราเรียกว่า Outbound Links นั่นเอง



    ลิงค์ภายนอก

    ลิงค์ภายนอกนี้ คือลิงค์ที่ถูกสร้างจากภายนอกเว็บไซต์ หรือบล็อกของเรา เพื่อลิงค์เข้ามายังเว็บไซต์หรือบล็อกของเรา เราเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Inbound Links ซึ่งในส่วนนี้จะส่งผลต่อ SEO เป็นอย่างมากเนื่องจากสามารถช่วยส่งเสริมให้เว็บ หรือบล็อกของเรานั้นติดอันดับได้ดีขึ้น หรือสามารถทำอันดับใน GoogleYahoo!Bing ได้มากขึ้นนั่นเอง (อาจไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าแรกก็ได้นะครับ) ทั้งนี้ลิงค์จากภายนอกนี้ ยังทำให้เว็บของเรามีค่าของ Page Rank (PR) สูงขึ้นอีกด้วย ดังที่เราได้เห็นเขาพูดถึงกันว่า “เพจแรงค์ของเว็บ” นั่นเอง การสร้างลิงค์จากภายนอกนั้น มีด้วยกันหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการแลกลิงค์ การขอวางลิงค์เฉยๆ หรือการซื้อลิงค์ก็ตาม ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นการสร้างลิงค์จากภายนอก ซึ่งในส่วนนี้หลายท่านที่เป็นมือใหม่อาจสงสัยว่า อ้าวแล้วที่ว่ามานี้มันมีอะไรกันบ้างละ ไม่ค่อยเข้าใจ เอาหละผมจะอธิบายแบบสั้นๆ ก็แล้วกันนะครับ เพราะเรื่องของลิงค์นี้ มีให้เล่ากันยาวนานเลยทีเดียวครับ การสร้างลิงค์เข้ามาหรือลิงค์ภายนอกที่ว่านี้ ก็เช่นการไปขอฝากลิงค์กับพวกเว็บ Directory ต่างๆ การวางลิงค์ในลายเซ็นต์ ในบอร์ดต่างๆ รวมไปถึงการไปทำพวก Social Bookmarking ด้วยครับ


            การสร้างลิงค์จากภายนอกนี้ สามารถทำได้หลากหลายวิธีด้วยกัน ทั้งนี้ก็จะถูกแยกว่า ถูกต้องตามหลักการ หรือเป็นไปตามเงื่อนไขของ Search Engine หรือไม่และควรค่าแก่การให้คะแนน เพื่อนำไปคำนวนPage Rank (PR) หรือไม่ อันนี้ก็คงต้องศึกษากันต่อในบทความต่อๆ ไปก็แล้วกันครับ เพราะผมจะมาพูดถึงเรื่องเหล่านี้กันยาวเลยทีเดียวครับ แต่ข้อสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างมาก สำหรับการมีบล็อกหรือเว็บไซต์เป็นของตนเอง คือการสร้างลิงค์ภายในเว็บของเราให้ดี และควรคิดหรือออกแบบให้ดี ทั้งนี้มันก็เหมือนการตกแต่งบ้านครับ ถ้าแขกเข้ามาแล้วบ้านรก ก็คงไม่ค่อยน่าประทับใจอย่างที่คิด และเขาอาจไม่อยากแวะมาบ้านเราอีกเลยก็เป็นได้ครับ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ ขอให้ทุกท่านร่ำรวยๆ และมีสุขภาพที่ดี มีแต่ความสุขครับ สวัสดีครับ.


    SEO check lists การให้คะแนน SEO



    1 Keywords ใน <title> tag
     จุดสำคัญที่สุดจุดหนึ่งที่จะใส่ Keywords ของเราคือ Keywords ใน <title> tag เพราะ Keyword จะถูกโชว์ใน search results ในฐานะ page title ตัว title tag ควรจะสั้นๆ (6 or 7 คำสูงสุด) และ Keyword ควรจะอยู่ใกล้จุดเริ่มต้นประโยค +3
     
    2 Keywords ใน URL
     Keywords ใน URLs ช่วยได้ เช่น. - http://domainname.com/seo-services.html, จะเห็นว่า “SEO services” เป็น keyword phrase ที่เราพยายามจะเน้น แต่ถ้าในเอกสารของคุณไม่มี Keyword คำนี้อยู่ การใส่ Keywords ใน URL ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก
     +3
     
    3 ความหนาแน่นของ Keyword  ในเว็บ
     ความหนาแน่นของคีย์เวิร์ดที่ดีควรจะ check ให้อยู่ราวๆ 3-7 % สำหรับ Keyword หลัก, 1-2% สำหรับคีย์อวิร์ดรอง. แต่ถ้าความหนาแน่น ของ Keyword นั้นมากกว่า 10% จะดูเยอะเกินและเหมือนกับยัดคีย์เวิร์ดซึ่งจะส่งผลไม่ดี
     +3
     
    4 Keywords ใน anchor text
     นี่ก็เป็นสิ่งสำคัญมาก the anchor text of inbound links, เพราะว่าถ้าคุณมี keyword เป็นคำ anchor text ที่ลิงค์เข้ามาจากเว็บอื่นๆ ก็จะเปรียบเทียบได้กับการได้รับการ vote จาก site นั้นๆไม่ใช่แต่เฉพาะทั้งเว็บตามปกติ, แต่จะเกี่ยวกับ keyword ด้วย
     +3
     
    5 Keywords in headings (<H1>, <H2>, etc. tags)
     อีกจุดหนึ่งที่ให้น้ำหนัก Keyword ด้วยอย่างมาก. แต่ก็ให้แน่ใจด้วยว่าในหน้าเว็บนั้นๆของคุณก็มี text ที่เป็น Keyword นี้ด้วยเช่นกัน
     +3
     
    6 Keywords ในจุดเริ่มต้นของ เอกสาร
     ถึงแม้คะแนนจะไม่มากเท่า anchor text, title tag หรือ headings. อย่างไรก็ตามให้นึกไว้เสมอว่า จุดเริ่มต้นของเนื้อความใน document ไม่จำเป็นต้องหมายถึง ย่อหน้าแรกเสมอไปนะครับ – เช่นถ้าเราใช้ tables, ข้อความหลักน่าจะอยู่ที่ column ที่สอง row สองมากกว่า.
     +2
     
    7 Keywords ภายใน <alt> tags
     Spiders จะไม่รู้จักรูป images แต่มันสามารถอ่าน textual descriptions ใน <alt> tag ได้, เพราะฉนั้นถ้าคุณมีรูป, ให้ใส่ keyword บางตัวใน <alt> tag ด้วย
     +2
     
    8 Keywords ใน metatags
     ่ไม่น่าเชื่อว่าตอนนี้ความสำคัญในส่วนของ meta ได้ลดลงมาบ้าง (แต่ก็ยังต้องใส่อยู่), เพราะว่า Google. Yahoo! และ MSN ก็ยังพิจารณาส่วนนี้อยู่, โดยเฉพาะ Yahoo! กับ MSN, การใส่ keyword ใน meta ก็ยังดีกว่าไม่ใส่เลยนะครับ
     +1
     
    9 Keyword proximity
     Keyword proximity เป็นตัววัดความใกล้กันของตัว text ใน keywords  ซึ่งจะให้ผลดีที่สุดถ้า keyword  ตัวนึงอยู่ต่อกับอีกตัวนึงพอดี (เช่น “dog food”), ที่ไม่มีคำอื่นใดไปแทรกกลางระหว่างมัน. ตัวอย่างเช่นถ้าเรามีคำว่า “dog” ในย่อหน้าแรกและ “food” ในย่อหน้าที่สาม , Google ก็จะนับ keyword ให้เหมือนกันแต่ก็จะไม่ได้ให้น้ำหนักมากเท่า“dog food” ที่ไม่มีอะไรแทรกกลางเลย. Keyword proximityจะเหมาะกับ keyword ที่มีคำมากกว่าสองคำอยู่ด้วยกันครับ
     +1
     
    10 Keyword phrases
     ในบาง Keyword เราสามารถที่จะ optimize ตัว keywordที่ประกอบด้วยคำหลายคำได้ เช่น “SEO services” จะเป็น keyword phrases ที่น่าจะเป็นที่นิยมในการค้นหา เพราะผู้เซิร์ทหลายคนน่าจะพิมพ์ทั้งสองคำนี้ลงไปตรงๆ แต่ในบางโอกาส การแยก keyword เป็น 2หรือ 3 คำ เช่น “SEO” และ “services” ก็อาจจะทำให้เจอได้ในบางครั้งเช่นกัน เพียงแต่จะมีน้ำหนักที่น้อยกว่าบ้าง +1
     
    11 Secondary keywords
      การ Optimizing สำหรับ keywords ที่รองลงไป (บางทีเป็น sub categories ของ keyword หลัก) ก็เป็นความคิดที่ดี เพราะแน่นอนว่าทุกๆคนพยายามที่จะ optimizing  keywords ที่ดังๆ และค่อนข้าง General ทำให้ keyword ที่รองลงมาอาจไม่ค่อยได้ถูกโฟกัส นั่นหมายความว่าถ้ามีคน search ก็กลับจะดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น “boutique hotel pattaya” นั้นมีคนเซิร์ทน้อยกว่า “boutique hotel” เป็น พันๆเท่าแน่นอน แต่ถ้าคุณทำธุรกิจนี้ในพัทยา ถึงแม้คุณจะมีคนเซิร์ทเจอน้อยกว่าแต่คนที่เจอก็เป็น targeted traffic แน่นอน
     +1
     
    12 Keyword stemming
      สำหรับภาษาอังกฤษ การใส่คำที่มีความหมายในทางเดียวกัน เช่น dog, dogs, doggy,และอื่นๆ จะถูกคิดว่ามีความสำพันธ์กันถ้าคุณมีคำว่า “dog”อยู่ใน pageของคูณ, เว็บอาจจะถูเซิร์ทเจอเพราะคำว่า “dogs” หรือ “doggy”ได้เหมือนกัน อย่างไรก็ตามสำหรับภาษาไทยนั้นการใส่ keyword ที่คล้ายๆกันไปด้วยก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นเพราะ search engine ยังไม่รู้จักรากของคำดีพอ (ถึงแม้ช่วงสองเดือนที่ผ่านมา google สามารถที่จะตัดแยกคำไทยที่เขียนติดกันได้แล้วก็ตาม)
     +1
     
    13 Synonyms
      สำหรับภาษาอังกฤษ การ Optimizing คำที่มีความหมายเดียวกัน (synonyms)ของ target keywords, ก็จะให้ผลดีด้วยเพราะ search engine นั้นมีความฉลาดพอที่จะรู้เรื่องนี้แล้ว แต่สำหรับภาษาไทยนั้น search engine ยังไม่รู้จักคำเหมือนนะครับ
     +1
     
    14 Keyword Mistypes
     การสะกดผิดเป็นเรื่องที่เป็นกันบ่อย หรือแม้แต่การตั้งใจเขียนให้มีความหมายคล้ายกันแต่เขียนให้ส้นลง เช่น Christmas กับ Xmas ซึ่งเราก็อยากจะ optimize ทั้งคู่ซึ่งแน่นอนว่าเราก็จะได้ Traffic ที่เพิ่มขึ้น แต่การแกล้งพิมพ์ผิดหรือพิมพ์เพี้ยนในเว็บไซต์นั้นอาจจะทำให้เว็บไม่ค่อยน่าประทับใจ ทางที่ดีใส่แค่ใน meta ดีกว่า
     0
     
    15 Keyword dilution
     ถ้าคุณพยายามที่จะ optimizing  keywords หลายคำเกินไป, โดยเฉพาะอย่างยิ่งคีย์เวิร์ดที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย จะทำให้ performance ของ keywords รวมทั้งตัวหลักๆนั้นเจอจางลงไปเช่นเดียวกับการมี text อยู่เท่านั้น
     -2
     
    16 Keyword stuffing
     การตั้งใจใส่ keywords ที่เยอะเกินไปจนผิดธรรมชาติ (มากกว่า 10% ของคำทั้งหมดใน page)เรียกว่า stuffing และจะทำให้เว็บของคุณเสี่ยงต่อการถูกแบนโดย search engine
     -3
     
     
    Links – internal, inbound, outbound 
    17 Anchor text of inbound links
     การถูกลิงก์จากเว็บไซต์อื่นเข้ามา โดยมี text ของลิงก์ตรงกับkeyword เป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดของประสิทธิภาพ keywords(  แต่ถึงจะไม่มี anchor text ตรงๆกับ keyword ก็ยัง OK นะครับ)
     +3
     
    18 Origin of inbound links
     เช่นเดียวกับanchor text, คุณภาพ (reputable)ของเว็บที่ลิงก์เข้ามานั้นก็สำคัญมากเช่นกัน โดยปกติเว็บที่มี Google PR ที่ดีก็มักจะมี reputable ดีด้วยเช่นกัน 
    +3
     
    19 Links from similar sites
     ลิงก์จากเว็บที่คล้ายๆกันก็มีประโยชน์อย่างมากเช่นกัน เพราะมันแสดงถึงว่าคู่แข่งของคุณกำลังโหวตให้คุณ และคุณกำลัง popular ใน community นั้นๆ
     +3
     
    20 Links from .edu and .gov sites
     ลิงก์เหล่านี้มีมูลค่ามากทีเดียว เพราะว่าเว็บประเภท .edu และ .gov นั้นจะมี reputable สูงกว่า .com .biz .info หรืออื่นๆ และอีกอย่างก็คือ ลิงก์ออกจากเว็บเหล่านี้ก็มีไม่เยอะซะด้วย
     +3
     
    21 Number of backlinks
     แน่นอนว่ายิ่งมีคนลิงก์เข้ามาเยอะก็ยิ่งดี ถึงแม้ว่า คุณภาพของเว็บที่ลิงก์จะมีความสำคัญมากกว่าจำนวนก็ตาม
     +3
     
    22 Anchor text of internal links
     การใส่ anchor text  สำหรับลิงก์ภายในเว็บของเราเองก็ให้ผลดีและเป็นสิ่งสำคัญที่ทำได้ไม่ยาก
     +2
     
    23 Around-the-anchor text
     text ที่อยู่ก่อนและหลังของ anchor text ก็มีความสำคัญเช่นกัน เรามันจะเป็นตัวบอกความตั้งใจในการใส่ลิงก์ของคุณ  ว่าใส่อย่างผิดธรรมชาติหรือ flow อยู่ข้างในกลุ่ม text หรือไม่
     +2
     
    24 Age of inbound links
     อายุของ ลิงก์ เข้ามาจากเว็บอื่นยิ่งมากยิ่งดี เพราะว่าการได้ลิงก์จำนวนมากเข้ามาในระยะเวลาไม่นานนั้นแสดงให้เห็นว่าคุณน่าจะซื้อมันมากกว่า 
     +2
     
    25 Links from directories
     การใด้ลิงก์จากเว็บ Directory ก็สำคัญเช่นกันและขึ้นอยู่กับคุณภาพของ Directory นั้นๆด้วย เช่นการให้ลิงก์จาก DMOZ ,Yahoo นั้นจะให้ผลที่ดีมากๆ แต่การมีลิงค์จำนวนมหาศาลจาก Directory ที่มี PR-0  นั้นกลับไร้ประโยชน์ และยังอาจเสี่ยงต่อการถูกคิดว่าเป็น spam links อีกด้วยถ้าคุณมีเป็นร้อยเป็นพันลิงก์
     +2
     
    26 Number of outgoing links on the page that links to you
     เว็บที่ลิงก์เข้ามาให้คุณนั้น  ถ้ามีลิงก์ออกไปที่อื่นยิ่งน้อยยิ่งดีเพราะว่ามันแสดงถึงความสำคัญของเว็บคุณต่อเค้านั่นเอง อันนี้เป็นหลักการของการให้ pagerank โดยปกติ
     +1
     
    27 Named anchors
     Named anchors บริเวณเป้าหมาย ลิงก์ภายในไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับ navigation ภายใน แต่ยังสำคัญกับ SEO ด้วยเพราะเป็นการเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของ ย่อหน้าหรือ text นั้นๆ สำหรับ code, named anchors เช่น: <A href= “#dogs”>Read about dogs</A> และ “#dogs”ก็คือ named anchor.
     +1
     
    28 IP address of inbound link
     Google denies Google นั้นจะไม่ให้ความสำคัญและไม่ให้น้ำหนักจากลิงก์ที่มาจาก IP address เดียวกัน แต่ MSN และ  Yahoo นั้นอาจจะไม่รับ ลิงก์ที่มาจาก IP address เดียวกัน ด้วยซ้ำ ดังนั้นเป็นการดีที่จะได้ลิงก์เข้ามาจาก  IPs ที่ต่างกัน
     +1
     
    29 Inbound links from link farms and other suspicious sites
     การได้รับลิงก์มากจากเว็บรวมลิงก์ (links farm) นั้นจะไม่ส่งผลอะไรต่อเว็บของคุณเลย และก็ไม่ถูกทำโทษด้วยเพราะว่ามันไม่ใช่ความผิดของคุณ แต่ยังไงก็ตาม อยุ่ห่างๆจากเว็บพวกนี้ก็ดีครับ
     0
     
    30 Many outgoing links
     Google จะไม่ชอบเว็บ page ที่มีลิงก์ออกเป็นจำนวนมาก  เพราะฉนั้นคุณต้องพยายามไม่ให้ลิงก์ออกจากเว็บเกิน 100  ต่อหนึ่งหน้า มิเช่นนั้นจะส่งผลเสียต่อเว็บของคุณ
     -1
     
    31 Excessive linking, link spamming
     ถ้าเว็บคุณมีลิงก์หลายอันไปที่เว็บๆเดียว  หรือได้ลิงก์เข้ามาหลายๆอันจากเว็บๆเดียว (แม้ว่าเว�32 Outbound links to link farms and other suspicious sites
     ถ้าคุณมีลิงก์ออก (outbound) ไปที่เว็บที่ถูกทำโทษไปแล้วหรือไปที่ link farm จะทำให้ถูกตัดแต้มอย่างมาก ดังนั้นต้องหมั่นเช็คลิงก์ขาออก จากเว็บของคุณเสมอเพราะบางทีเว็บที่ดีก็มีการเปลี่ยนไปเป็นเว็บที่แย่ได้เหมือนกัน (bad neighbors )
     -3
     
    33 Cross-linking
     ตัวอย่างของ Cross linking เช่นเว็บ A ลิงก์ออกไปที่เว็บ B และเว็บ B ลิงก์ออกไปที่เว็บ C และ เว็บ C ลิงก์กลับมาที่เว็บ A การกระทำอย่างนี้ก็เหมือนเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนลิงก์จำนวนมากเช่นกัน แม้และจะโดนตัดแต้มอย่างมาก (กรณีที่ซับซ้อนกว่านี้ google ก็ยังสามารถเช็คได้ดังนั้นทำอะไรให้เป็นธรรมชาติด้วยจำนวนลิงก์ที่เหมาะสมเช่นเพื่อนแนะนำเพื่อนในกลุ่มเดียวกันก็ไม่เป็นไร)
     -3
     
    34 Single pixel links
     ถ้าพยายามทำลิงก์ที่มีขนาดแค่ pixel เดียวหรือมีขนาดที่คนทั่วไปไม่สามารถมองเห็นเพื่อหวังผลว่าจะหลอก search engine ก็จะถูกตัดแต้มด้วยเช่นกัน
     -3
     
     
    Metatags 
    35 <Description> metatag
     Metatags เริ่มมีความสำคัญน้อยลงไปเรื่อยๆแต่ก็ยังมีผลอยู่เช่นกัน ซึ่งจะมีทั้ง <description> และ <keywords>  ถ้าเราต้องการอธิบายเว็บของเราให้ใส่ <description> ( yahoo และ msn ยังคงให้ความสำคัญมากอยู่) และบางครั้ง description ก็จะขึ้นใน search results เช่นกัน
     +1
     
    36 <Keywords> metatag
     <keyword> metatag นั้นยังมีผลต่อ google เวลาใส่ metatag ให้ใส่ด้วยความยาวที่เหมาะสมคือประมาณ 10-20  keywords และอย่ายัด keyword ที่ไม่มีในหน้า page ของคุณลงไปเพราะจะส่งผลเสียแทน
     +1
     
    37 <Language> metatag
     ถ้าเว็บไซต์ของเราต้องการ specific ภาษา ก็อย่าให้ tag ภาษาว่างเปล่า  ถึงแม้ว่า search engine จะมีกรรมวิธีที่ซับซ้อนกว่าในการวิเคราะห์ภาษาแต่ก็ยังต้องคำนึงถึง <language>metatag
     +1
     
    38 <Refresh> metatag
     <refresh>metatag เป็นทางเดียวที่จะ redirect จากเว็บของคุณไปที่อื่น   ให้ทำในกรณีที่คุณเพิ่งย้ายเว็บไซต์ไปยังชื่อ domain ใหม่เท่านั้นและควรทำเป็นการชั่วคราว เพราะถ้า redirect เป็นเวลานานจะทำให้แต้มตก ในกรณีนี้การ redirect ไปที่ 301 นั้นจะดีกว่า
     -1
     
     
    Content
     
    39 Unique content
     ยิ่งเว็บเรามีเนื่อหามากเท่าไหร่ และเนื้อหามีความแตกต่างจากเว็บอื่นๆทั้ในแง่ของ wording และ Topics จะยิ่งทำให้ ranking ดีขึ้นเท่านั้น
     +3
     
    40 Frequency of content change
     การปรับเปลี่ยนเนื้อหาอยุ่เป็นประจำนั้นยอดเยี่ยมเช่นกัน และดีที่สุดถ้าเว็บมีเนื้อหาใหม่ๆตลอดเวลา (ดีกว่าการปรับเปลี่ยนเนื้อหาที่มีอยู่แล้วนิดหน่อยๆ)
     +3
     
    41 Keywords font size
     เมื่อเนื้อความที่เป็น keywords ในเว็บของคุณมีขนาดตัวอักษรที่ใหญ่เมื่อเทียบกับตัวอักษรตัวอื่นๆในเว็บ ซึ่งจะทำให้เป็นที่สังเกตได้ง่ายขึ้นและแสดงถึงความสำคัญก็จะช่วยให้ keyword นั้นๆได้แต้มด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับการใส่ <h1>,<h2> ที่ heading
     +2
     
    42 Keywords formatting

     เช่นเดียวกันกับด้านบน ถ้าเราเน้นตัวอักษรที่เป็น keyword ด้วยวิธีอื่นๆเช่นตัวเอียง ตัวหนา ก็จะได้แต้มด้วยเช่นกัน แต่ก็อย่าใช้มากเกินไป
     +2
     
    43 Age of document
     เอกสารที่ออกใหม่ๆ หรือเอกสารที่อัพเดทบ่อย ก็จะได้รับความสำคัญมากกว่าเช่นกัน
     +2
     
    44 File size
     ปกติ page ที่มีข้อความยาวมากๆเกินไปนั้นก็ไม่ได้ให้ผลที่ดีมากนัก เพราะถ้าเรามี หน้าสั้นๆ 3 หน้าก็ยังดีกว่า หนึ่งหน้ายาวๆใน Topic เดียวกัน เพราะฉนั้นให้แยกบทความยาวๆเป็น บทความสั้นๆหลายๆหน้าจะดีกว่า
     +1
     
    45 Content separation
     ถ้าเป็นมุมมองทางการตลาก การแยกประเภทของเนื้อหาตามกลุ่มต่างๆภายใต้ IP หรือ ชนิดของ Browser หรืออื่นๆ นั้นน่าจะดีเพราะตรงกลุ่มเป้าหมาย แต่กลับส่งผลเสียต่อ SEO แทนเนื่องจากเมื่อคุณมีแค่ URL เดียวแต่กลับมี เนื้อหาที่ต่างกันจะทำให้ search engine งงว่าอันไหนเป็นเนื้อหาที่แท้จริง
     -2
     
    46 Poor coding and design
     Search engine เป็นคนบอกเองว่า พวกมันไม่ต้องการเว็บไซต์ที่มีการดีไซน์ที่แย่และมีการเขียน code ที่ไม่ดี ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยมี เว็บที่ถูกแบนเนื่องจากกรณีดังกล่าว  (messy code และ รูปที่น่าเกลียด) แต่เว็บที่ดีไซน์ไม่ดีและ code ไม่ดีก็จะไม่ถูก index เลยทำให้ส่งผลเสียแน่นอน
     -2
     
    47 Illegal Content
     การใส่เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตนอกจากจะผิดกฎหมายแล้วคุณก็ยังจะถูก search engine เขี่ยออกไปอีกด้วย
     -3
     
    48 Invisible text
     นี่เป็นกรณีของ black hat SEO (สายดำ) ถ้า spiders ตรวจจับได้ว่าคุณใส่ text ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตาก็อย่าแปลกใจที่จะโดยทำโทษ
     -3
     
    49 Cloaking
     Cloaking เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่สามารถโดนตัดแต้มได้ เพราะเป็นการแยกส่วน content หลอกให้ spider เห็น page ที่ทำ optimize หวังผล ในขณะที่ผู้เข้าชมปกติกลับเห็นอีกเวอร์ชั่นของ page นั้นๆ
     -3
     
    50 Doorway pages
     การสร้าง page โดยตั้งใจที่จะหลอก spiders ว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นเป็นเว็บที่สำคัญดี (highly-relevant)  ทั้งๆที่ไม่ใช่ ก็เป็นอีกทางที่ search engine จะเขี่ยคุณออก
     -3
     
    51 Duplicate content
     เมื่อคุณมีเนื้อหาที่เหมือนกันในหลายๆหน้าบนเว็บ แทนที่จะทำให้เว็บดูใหญ่ก็กลับทำให้ถูกลงโทษในฐานะ duplicate content แทน  การวิเคราะห์การทำซ้ำนั้นก็มีหลายดีกรี แต่ก็ไม่ใช่ทุกอันที่จะถูกแบน เช่น บทความจาก mirror sites นั้นไม่เป็นไร
     -3
     
     
    Visual Extras and SEO 
    52 JavaScript
     ให้ใช้ java อย่างฉลาดเพียงเพื่อดึงดูดความน่าสนใจเท่าที่จำเป็น แต่ถ้าเนื้อหาหลักของเว็บถุกแสดงผ่าน Javascript ทั้งหมด จะทำให้ spiders ติดตามได้ยาก และอาจติดตามไม่ได้เลยถ้า code Javascript นั้นเขียนมาแย่ แน่นอนว่า rating จะตกได้
     0
     
    53 Images in text
     เว็บที่มีแต่ตัวอักษรก็ดูน่าเบื่อแต่ถ้ามีรูปเยอะไปก็ไม่ดีกับ SEO เช่นกัน อย่างไรก็ตามให้ใส่ <alt>tag ด้วยคำที่เป็นความหมายที่เหมาะสมกับรูป แต่ก็อย่ายัด keyword จำนวนมากใส่รูปโดยไม่เกี่ยวข้องกันเช่นกัน
     0
     
    54 Podcasts and videos
     Podcast และวีดีโอกำลังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆทุกวัน แต่ก็ทำให้ ไม่ค่อยมี text ในเว็บและ search engine  ก็เจอยาก เพราะฉนั้นถ้าเป็นไปได้ จะถอดเทปและเขียนเป็น text กำกับไว้ในหน้านั้นๆก็ได้ครับ
     0
     
    55 Images instead of text links
     การใช้รูปเป็นตัวลิงก์แทนตัวอักษรนั้นไม่ค่อยดีเท่าไหร่  จะยิ่งแย่เมื่อไม่ได้ใส่อะไรใน <alt>tag เลย แต่แม้ว่าคุณจะใส่ <alt>tag แล้วก็ยังให้ผลได้ไม่ดีเท่ากับการลิงก์ด้วยตัวอักษรที่เป็นตัวหนา ,ขีดเส้นใต้ หรือมีขนาด ใหญ่ เพราะฉนั้นคุณควรจะใช้ รูปในการทำ navigation ที่ขึ้นกับ graphic lay-out ของเว็บคุณเท่านั้น
     -1
     
    56 Frames
     Frames เป็นสิ่งที่ส่งผลเสียต่อ SEO มาก ให้หลีกเลี่ยงยกเว้นจำเป็นจริงๆ
     -2
     
    57 Flash
     Spiders จะไม่ index เนื้อหาที่เป็น Flash (ภาพเคลื่อนไหว) ถ้าจำเป็นต้องมีก็ควรใส่  alternate textual description ด้วย
     -2
     
    58 A Flash home page
     การทำ flash homepage โดยไม่มี html เลยส่งผลไม่ดีต่อ SEO อย่างมากแน่นอน
     -3
     
     
    Domains, URLs, Web Mastery
     
    59 Keyword-rich URLs and filenames
     การที่มี keywords หรือชื่อของไฟล์ อยู่ใน URLs ก็เป็นสิ่งสำคัญมาสำหรับ SEO โดยเฉพาะอย่างยิ่งกบ Yahoo! และ MSN
     +3
     
    60 Site Accessibility
     การเข้าเว็บไซต์ได้ทั้งเว็บตลอดเวลาก็เป็นสิ่งสำคัญ ปกติเว็บจะถือว่า unaccessible เมื่อ ลิงก์ตาย,404 errors, บริเวณในเว็บที่ต้องใส่ password และจะทำให้เว็บไม่ถูก index
     +3
     
    61 Sitemap
     การมี  sitemap,เป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว คุณควรมี site map ที่สมบูรณ์และ update เสมอ(ไม่ว่าจะเป็นแบบ HTML ธรรมดาหรือ Google site map formatt  เพราะว่า spiders จะชอบ
     +2
     
    62 Site size
     โดยปกติเว็บยิ่งใหญ่ก็จะยิ่งดี เพราะSpiders นั้นชอบเว็บไซต์ใหญ่ๆ  อย่างไรก็ตามเว็บที่ใหญ่ก็จะมีปัญหาใช้งานยากขึ้นและมี navigation ที่แย่ลงทำให้บางทีต้องแยกเป็นเว็บที่เล็กลง  แต่ในทางปฎิบัติ ยังไม่ค่อยมีเว็บไหนที่ถูกลงโทษเพราะมีหน้าเกินหมื่นหน้า เพราะฉนั้นอย่าแยกเว็บไซต์เพียงเพราะว่ามันใหญ่ขึ้นทุกวัน
     +2
     
    63 Site age
     older sites are respected more.เว็บไซต์ยิ่งมีอายุมากแล้วยิ่งได้รับความเชื่อถือมากขึ้น เพราะแสดงว่าไม่ใช่เว็บ pop-up ใหม่ๆแล้วหายไป
     +2
     
    64 Site theme
     site theme ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน และสำคัญมากต่อ ranking ถ้าเราทำ site ให้เข้ากับ theme หนึ่งๆแล้ว ถ้ามี page อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ theme นี้จะช่วย boost เว็บไซต์ทั้งหมด
     +2
     
    65 File Location on Site
     ตำแหน่งของ file ในเว็บไซต์ ( ชื่อไฟล์ด้านหลังเช่น www.ipattt.com  / xxx) ถ้าอยู่ใกล้กับ root directory จะมีแนวโน้มที่มี rank ดีกว่าไฟล์ที่อยู่ลึกเข้าไปห้าระดับ (เช่น www.ipattt.com/nnn/nnn/nnn/nnn/xxx )
     +1
     
    66 Domains versus subdomains, separate domains
     การมี domain ต่างหากน้นดีกว่า เช่นแทนที่จะมี ipattt.blogspot.com ก็ควร register เป็น ipattt.com
     +1
     
    67 Top-level domains (TLDs)
     TLDs ( .xxx) นั้นมีความแตกต่างกันอยู่ โดย .com นั้นดีกว่า .ws, .biz, .info อยู่มากแต่ก็ไม่มีอะไรสู้ .edu กับ .org ที่จดทะเบียนมานานแล้วได้
     +1
     
    68 Hyphens in URLs
     เครื่องหมาย ( – ) ระหว่าง URLs นั้นช่วยให้อ่านง่ายขึ้นและมีผลต่ ranking สามารถใช้ได้กับทั้ง domain name และ ที่เหลือ ใน URLs
     +1
     
    69 URL length
     ปกติ URLs ที่ยาวมากๆจะเริ่มดูเหมือน spam เพราะฉนั้นควรหลักเลี่ยงการมี URLs ยาวเกิน 10 คำ ( 3 ถึง 4 คำสำหรับ domain name และ 6 คำสำหรับที่เหลือนั้นยังพอรับได้)
     0
     
    70 IP address
     IP address จะมีผลไม่ค่อยดีต่อเมื่อมีการ shared hosting หรือเมื่อเว็บไซต์นั้น host กับ free hosting provider  อีกกรณีคือ  IP หรือ C-class ของ IP address ทั้งหมดติดแบล็คลิสต์เนื่องมาจากการถูกลงโทษด้าน spamming หรือ ด้าน กฏหมาย
     0
     
    71 Adsense will boost your ranking
     Adsense นั้นอาจจะช่วยให้คุณมีรายได้แต่ไม่ได้มีผลอะไรกับ SEO ranking  Google ไม่ได้ให้ ranking bonus เพราะว่า hosting adsense ads
     0
     
    72 Adwords will boost your ranking
     เหมือน Adsense , ตัว Adwords นั้นช่วยให้คนเข้ามาดูเว็บของคุณได้ง่ายขึ้นแต่ก็ไม่ได้มีผลอะไรกับ SEO ranking เช่นกัน
     0
     
    73 Hosting downtime
     Hosting downtime มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ accessibility  เพราะว่าถ้าเว็บ down บ่อยๆจะไม่สามารถทำ indexed ได้ factor นี้จะเห็นผลเสียก็ต่อเมื่อ hosting provider ไม่ค่อยน่าเชื่อถือและมี uptime ต่ำกว่า 97-98%
     -1
     
    74 Dynamic URLs
     Spiders นั้นชอบ static URLs  แม้ว่าคุณจะเคยเห็น dynamics pagesจำนวนมาก    การมี URLs ยาวๆ(เช่นเกิน 100ตัวอักษร)จะส่งผลเสียต่อทั้งคนท่องเว็บและ SEO และเราควรจะใช้เครื่องมือบางตัวช่วยเช่น rewrite dynamic URLs
     -1
     
    75 Session IDs
     ยิ่งแย่กว่า Dynamics URLs  การใช้ session IDs นั้นจะไม่ทำให้ spiders ทำ indexed
     -2
     
    76 Bans in robots.txt
     ถ้าเว็บไซต์ของเรามีบางส่วนที่ถูกแบน  มันก็มักจะส่งผลถึงส่วนอื่นๆที่ไม่โดนแบนทั้งหมดด้วยเนื่องจาก spiders จะวิ่งเข้ามาน้อยถ้าเป็น “noindex” site
     -2
     
    77 Redirects (301 and 302)
     redirects จะส่งผลเสียมากถ้าใช้อย่างไม่ถูกต้อง บางทีหน้าที่ต้องการนั้นก็ไม่สามารถเปิดได้ หรือแย่ยิ่งกว่านั้นคือ บางครั้ง redirect อาจถือว่าเป็นการทำ SEO แบบ black hat คือเมื่อผู้เยี่ยมชมเข้ามากลับถูกโยนไปที่อื่นแทน
     -3
     
    ขอบคุณhttp://www.ipattt.com

    ร่วมเป็นสมาชิก Blogseothai คุณคือตัวจริง !