การทำ SEO เริ่มต้นทำ SEO


enjoyday นั้นตั้งใจอยู่แล้วที่จะเขียนแนะนำเรื่องการทำ SEO  เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญในการทำเว็บไซต์ แต่ว่ามันต้องใช้เวลาพอสมควรในการเรียบเรียง และเขียนออกมา คงต้องรอกันหน่อยนะคะ  
สำหรับผู้อ่านที่สนใจ ไม่อยากรอ อยากรู้ว่าการทำ SEO เบื้องต้นนั้นทำได้อย่างไรบ้าง สามารถอ่านจาก “คู่มือการทำ SEO สำหรับผู้เริ่มต้นฉบับภาษาไทยจาก Google” 



ดาวน์โหลดได้ที่นี่ค่ะ
http://www.google.co.th/intl/th/webmasters/docs/search-engine-optimization-starter-guide-th.pdf
.
คำแนะนำจาก Google ในการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาให้กับเว็บไซต์ enjoyday สรุปมาบางส่วนให้อ่านกันง่ายๆ ค่ะ  

1. ตั้งชื่อ Title ของหน้าเว็บว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร และไม่ซ้ำกันในแต่ละหน้า

การตั้งชื่อให้แต่ละหน้าเว็บนั้นทำโดยการใส่ข้อความใน tag <title> ที่อยู่ใน tag <head> เช่น
<html>
<head>
   <title>Brand’s Baseball Cards – BuyCards, Baseball News, Card Prices</title>
   …
</head>
ซึ่ง Google จะใช้ชื่อที่เราตั้งแสดงในผลการค้นหาด้วย
เราอาจจะต้องใช้วาทะศิลป์สักนิด ในกรณีที่เว็บของเรามีอันดับต่ำกว่า เช่น อยู่หน้าแรกเหมือนกันแต่อยู่ลำดับที่ 5    ถ้าเราเขียนชื่อเว็บได้ชวนให้คลิกเข้ามาชม ผู้ชมก็จะเลือกคลิกมาที่เว็บเราด้วย คำที่มีผลก็เช่น สอนตั้งแต่พื้นฐาน, แบบละเอียด, แบบ stept by step, ฟรี เป็นต้น
ข้อแนะนำจาก Google
  • ตั้งชื่อให้สื่อถึงเนื้อหาของหน้าเว็บ ไม่ควรปล่อยเป็นค่าเริ่มต้นที่ได้มาตอนเขียนเว็บเพจ เช่น Untitled, New Page1
  • ตั้งชื่อให้แตกต่างกันในแต่ละหน้า หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อเดียวกันในทุกหน้า
  • ตั้งชื่อที่สั้น แต่ได้ใจความ เพราะถ้ายาวเกินไป Google จะแสดงได้เพียงบางส่วน
.

2.ใช้ Meta tag description ข้อความอธิบายเกี่ยวกับเว็บไซต์

Meta tag description ใช้สำหรับใส่ข้อความบรรยายเว็บไซต์ด้วยประโยคสรุป  อยู่ในส่วนของ tag <head>
<html>
<head>
<title>Brand’s Baseball Cards – BuyCards, Baseball News, Card Prices</title>
<meta name=”description” content=”Brandon’s Baseball Cards provides a large selection of vintage and modern era baseball cards for sale. We also offer daily baseball news and events in …”>

</head>
โดยคำอธิบายที่เราใส่ให้หน้าเว็บจะถูกนำมาแสดงในผลการค้นหาด้วยใต้ชื่อเว็บ หรือ title   แต่ไม่แน่เสมอไป เพราะบางครั้ง Google ก็เลือกดึงข้อความจากในหน้าเว็บนั้นมาแสดงเอง โดยดูจากคำค้นหา    แต่อย่างไรเราก็ควรใส่ไว้ และไม่ต้องใส่ให้ยาวเกินไปเพราะมันแสดงไม่พอค่ะ
ข้อแนะนำจาก Google
  • เขียนคำอธิบายเว็บให้ละเอียดแต่ให้กระชับ และดึงดูดความสนใจ
  • ไม่เขียนคำอธิบายที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้านนั้น
  • ระบุคำหลักที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเราลงไปด้วย
  • เขียนคำอธิบายที่ไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละหน้าเว็บ
.

3. การปรับปรุงโครงสร้าง URL ของเว็บ

URL ก็คือลิงค์ข้อความที่บอกตำแหน่งของข้อมูลใน Internet ไม่ว่าจะเป็น Web page, File ประเภทต่างๆ เช่น รูปภาพ เสียง
ข้อแนะนำจาก Google
  • ใช้คำที่ได้ใจความใน URL ที่ประกอบด้วยคำที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
    ไม่ควรเป็นค่าพารามิเตอร์และรหัส session ที่ไม่จำเป็น เช่น http://www.enjoyday.net/list.php?catid=34&no=37
    ไม่ใช้คำที่ไม่สื่อความหมาย เช่น page1.html
  • สร้างโครงสร้าง directory ที่เรียบง่าย การใช้ directory ที่จัดเนื้อหาอย่างเป็นระเบียบจะช่วยให้ผู้ชมรู้ตำแหน่งของตนที่อยู่บนเว็บไซต์ได้ เช่น
    http://www.enjoyday.net/webtutorial/html/index.html (บทเรียนออนไลน์สอน HTML)
    http://www.enjoyday.net/webtutorial/css/index.html (บทเรียนออนไลน์สอน CSS)
    http://www.enjoyday.net/webtutorial/xhtml/index.html (บทเรียนออนไลน์สอน XHTML)
  • หลีกเลี่ยงการใช้ directory ที่เป็น sub ซอยย่อยจนเกินไป เช่น “…/dir1/dir2/dir3/dir4/dir5/dir6/page.html”
  • หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อ directory ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
.

4. ทำระบบนำทางในเว็บไซต์ให้ใช้งานง่าย

ระบบนำทางที่ดีจะช่วยให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว รู้ว่ากำลังอยู่ตรงไหนของเว็บไซต์ และยังทำให้ Google รู้ว่า Webmaster ให้ความสำคัญกับเนื้อหาใด
องค์ประกอบของระบบนำทาง ได้แก่ เมนู, กล่องค้นหา, หน้า sitemap เป็นต้น
ข้อแนะนำจาก Google
  • สร้างลำดับขั้นที่ต่อเนื่องกันอย่างเหมาะสม ไม่แบ่งย่อยจนเกินไป เช่นต้องคลิกถึง 20 ครั้งกว่าเข้าถึงหน้าเนื้อหาย่อยได้
  • ใช้ข้อความสำหรับนำทาง เช่น ใช้ลิงค์ข้อความ หลีกเลี่ยงการใช้งานแบบเมนูเลื่อนลง รูปภาพ flash
  • ใช้การนำทางแบบแสดงเส้นทาง และทำเป็นลิงค์ให้คลิกกลับไปอีกหน้าได้ เช่น Brandon’s Baseball Cards > Articles > Top Ten Rarest Baseball Cards
  • ทำหน้า sitemap แบบ HTML  ที่มีลิงค์ของหน้าทั้งหมดในเว็บ และจัดระเบียบหัวข้อด้วย  หรือถ้ามีจำนวนหน้ามาก ก็ให้แสดงเฉพาะหน้าเว็บหลัก  และไม่ควรปล่อยให้มีลิงค์เสียในหน้า sitemap
  • สร้างไฟล์ sitemap แบบ XML สำหรับให้ Bot ของ Search Engine เข้ามาเก็บข้อมูลเว็บไซต์ได้ง่ายๆ ไม่ต้องไต่ลิงค์ตามหน้าเว็บเพจต่างๆ เอง
  • ใช้หน้า 404 ให้เกิดประโยชน์  ในกรณีที่ผู้ใช้อาจเข้าถึงหน้าที่เว็บที่ถูกลบไปแล้ว หรือพิมพ์ URL ผิด  การสร้างหน้าเว็บ 404 ที่กำหนดเอง โดยนำทางกลับไปยังหน้าแรก  จะดีกว่าปล่อยให้แสดงข้อความ Not Found

Meta Tag ของ Blogger ให้มีประสิทธิผลสูงสุด


บทความนี้ พยายามที่จะทำให้ง่าย ทั้งการนำไปใช้ปฏิบัติจริง 
และการทำความเข้าใจกับแท็ก header ของ bloggerสำหรับ
การทำ Search engine optimization (SEO) ในส่วนของ Onpage Optimize
ทบทวนกันก่อน สำหรับ Meta Tag หลักๆสำหรับการทำ SEO


รูปจากคู่มือแนะนำการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหาของ google จะสังเกตได้ว่า Meta Tag ที่ header มีเพียง Title Tag และ Meta Description เท่านั้น ถึงแม้จะขาด Meta Keyword เนื่องจาก google ไม่ได้ให้ความสำคัญ แต่ถึงอย่างไร ก็ยังมี Search Engine ตัวอื่นที่ยังใช้อยู่ เพราะฉะนั้นก็ใส่ๆไปเถอะ และเพิ่ม Tag canonical (แท็กที่บอก bot ว่า URL นี้ที่เราให้ความสำคัญ)
สรุป ก็คือเราต้องการจะให้ มี 4 แท็ก ดังนี้
  1. Title Tag
    <title></title>
  2. Meta Description
    <meta content="description" name="description" />
  3. Meta Keyword
    <meta content="keywords" name="keywords" />
  4. Canonical
    <link href="URL" rel="canonical" />
ตามค่าพื้นฐาน Templates ของ Blogger นั้น จะมี Meta Tag เพียง Title Tag เท่านั้น และก็เป็น title ที่ซ้ำๆ กันทุกหน้า ทีนี้เราจะมาปรับตรงส่วนของ Title Tag ไม่ให้ซ้ำกันมาก และเพิ่มแท็ก Description , Keyword และ Canonical ให้ส่วนของเมต้าของแต่ละหน้ามีความแตกต่างกัน
วิธีการ
  1. ล็อกเข้าไปที่หน้า Layout (1.) –> Edit HTML(2.)
  2. มองหาแท็ก
    <title><data:blog.pageTitle/></title>
  3. แล้วก๊อปปี้โค้ดด้านล่างนี้ไปใส่แทน 
     
    <b:if cond='data:blog.pageType == &quot;index&quot;'>
    <title><data:blog.pageTitle/></title> 
    <meta expr:content='data:blog.pageTitle' name='description'/>
    <meta expr:content='data:blog.pageTitle' name='keywords'/>
    <link expr:href='data:blog.url' rel='canonical'/>
    </b:if>
     
    <b:if cond='data:blog.pageType == &quot;item&quot;'>
    <title><data:blog.pageName/></title>
    <meta expr:content='data:blog.pageName' name='description'/>
    <meta expr:content='data:blog.pageName' name='keywords'/>
    <link expr:href='data:blog.url' rel='canonical'/>
    </b:if>
     
    <b:if cond='data:blog.pageType == &quot;archive&quot;'>
    <title><data:blog.pageName/></title>
    <meta expr:content='data:blog.pageName' name='description'/>
    <meta expr:content='data:blog.pageName' name='keywords'/>
    <link expr:href='data:blog.url' rel='canonical'/>
    </b:if>
ความหมายของแต่ละวรรค





  • - วรรคแรก ถ้าเป็นหน้า index จะแสดงในส่วนของหน้าแรก (หน้า hame page)







  • - วรรคสอง ถ้าเป็นหน้า item จะแสดงในส่วนของหน้าเดี่ยว หรือหน้าของโพสต์







  • - วรรคสาม ถ้าเป็นหน้า archive จะแสดงในส่วนของหน้ารวมบทความ หรือหน้าคลังบทความ







  • - ในส่วนของแท็กหน้าที่เป็น URL หน้า Label นั้น จะอิงตามหน้า index คือจะเหมือนหน้า index แต่งจะเพิ่มตัว Label เข้ามาด้วย



  • ตามวิธีการนี้จะเป็นการเรียก title ของแต่หน้า ขึ้นมาแสดงในส่วนของ meta ทั้งหมด คือเป็นทั้ง title , description และ keywords ซึ่งผมคิดว่าเป็นวิธีการที่ง่ายดี ท่านใดมีวิธีที่ดีกว่าก็ชี้แนะได้ครับ.

    5 อันตรายใครทำบ้างใน SEO

             


    ต้องยอมรับนะครับว่าในปัจจุบันการทำ SEO (Search Engine Optimization) เริ่มทำยากมากขึ้นและใช้เวลาในการทำอันดับที่นานขึ้น แต่การทำ SEO มันสามารถช่วยให้คุณมี traffic เข้าเว็บไซต์ที่เพิ่มขึ้นแถมยังเป็น traffic ที่มีคุณภาพอีกด้วย เมื่อ traffic เพิ่มขึ้นก็สามารถหาเงินออนไลน์ได้มากขึ้น “More traffic = More money” เนื่องจาก traffic ที่ได้จาก search engine นั้นเป็นสิ่งที่คน search หาข้อมูลที่ต้องการอ่านจริงๆ ยิ่งถ้าคุณอยากติดอันดับดีๆ บน search engine การทำ SEO เป็นสิ่งที่ควรจะทำและเพื่อให้มั่นใจว่า SEO ที่เรากำลังทำอยู่นั้นมีคุณภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์ของเราในอนาคต นี่คือ 5 สิ่งที่คุณควรจะหลีกเลี่ยงในการทำ SEO เพราะมันอาจจะทำให้คุณเจ็บหนักได้

    1. ซื้อลิงค์


    การซื้อลิงค์เป็นสิ่งที่ยังใช้ได้นะครับ มันเหมือนกับเรานำร้านค้าหรือเว็บไซต์ของเราไปตั้งอยู่ท่ามกลางผู้คน แน่นอนมันก็เพิ่มโอกาสที่ทำให้คนเข้าถึงร้านเรามากขึ้น แต่การซื้อลิงค์ที่ดีเราก็ต้องนึกถึงหลักของความเป็นจริงด้วยนะครับ มีหลายบริการการฝากลิงค์ที่มีให้คุณเลือกมากมายในโลกออนไลน์ แต่แน่ใจเหรอครับว่าลิงค์ที่เค้าฝากให้เรานั้นได้คุณภาพ โดยส่วนตัวผมเคยลองใช้บริการพวกนี้ดูแล้ว ส่วนใหญ่เค้าจะเอาบทความไปปั่นหรือไม่ก็ฝากลิงค์ในหน้าเว็บที่แทบจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเนื้อหาเว็บไซต์คุณเลย คุณขายเนื้อให้คนที่เป็นมังสวิรัติไม่ได้หรอกครับ ดังนั้นการฝากลิงค์ใน niche เดียวกับเราหรือเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันย่อมเป็นการฝากลิงค์ที่มีประสิทธิภาพกว่า ในปัจจุบัน search engine มีทีมงานเฉพาะที่ทำการตรวจสอบที่มาของลิงค์ขาเข้าของเว็บไซต์เราได้แล้วนะครับ ว่าลิงค์ขาเข้าของเว็บไซต์เรานั้นเข้ามาอย่างผิดปกติ ก็อาจส่งผลเสียต่ออันดับเว็บไซต์ของเราด้วย

    2. ใช้ duplicate content


    Google ไม่ค่อยชอบ duplicate content หรือบทความที่ซ้ำกับชาวบ้านเค้า แต่จริงๆบทความที่เป็น unique content อาจจะยังไม่ตอบโจทย์บทความที่ตอบโจทย์จริง ๆ สำหรับผม บทความที่เป็น unique content ควรเป็น useful content ด้วยจะดีมากเพราะคนอ่านอ่านแล้วรู้สึกมีคุณค่าและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้จริง ที่เค้าบอกกันว่า unique content is king นั้นอาจไม่จริงเสมอไป จริงๆแล้ว useful unique content ต่างหากที่ตอบโจทย์ของ search engine ยิ่งถ้าคุณมีบทความคุณภาพมากขึ้นมันก็ส่งผลต่ออันดับของเว็บไซต์คุณด้วย

    3. ยัด keyword


    ผมว่าอันนี้ทุกคนน่าจะเข้าใจตรงกัน มันคือการยัดคีเวิร์ดที่เราต้องการเข้าไปในเนื้อหาของเว็บไซต์เราให้เยอะเพื่อให้search engine เห็นว่าเรามี keyword นี่เยอะและทำให้ keyword นั้น rank ขึ้นมาได้ ในสมัยก่อนมันเป็นสิ่งที่ใช้ได้ดี แต่เดี่ยวนี้มันไม่ใช่แล้วครับ algorithm ของ search engine นั้นมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและยังสามารถแยกแยะบทความได้ดีขึ้น ถ้ามันดูไม่เป็นธรรมชาติ มันก็ส่งผลต่ออันดับของคุณด้วย คำแนะนำคือคุณอาจจะลองใช้ keyword ที่ต้องการขึ้นอันดับนั้นแตกเป็น keyword ย่อยดู แล้วนำมาเขียนให้เจาะลึกและแตกย่อยเนื้อหาเพิ่มขึ้นก็สามารถช่วยให้อันดับของ keyword ที่คุณต้องการ rank นั้นมีอันดับที่ดีขึ้นได้

    4. มุ่งเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ


    ลิงค์ที่ได้มาจากบทความคุณภาพเพียงลิงค์เดียวย่อมดีกว่าลิงค์ที่ไม่มีคุณภาพจากหลายๆที่รวมกัน แล้วอะไรละคือลิงค์ที่มาจากคุณภาพบทความ? ลิงค์ที่ดีควรจะมาจากเนื้อหาที่ใกล้เคียงกัน มันก็เหมือนคุณได้เข้าไปร่วมการสนทนากับเรื่องที่ใกล้เคียงกันกับคุณคนฟังคนอื่นเค้าย่อมฟังและรับความคิดเห็นจากคุณด้วย ในทางกลับกันถ้าคุณเข้าไปมีส่วนร่วมกับคนที่เค้าไม่ได้คุยเรื่องเดียวกันกับคุณเค้าก็คงไม่สนใจคุณใช่ไหมครับ อย่างการฝากลิงค์กับพวก blog comment คุณจะเห็นตัวอย่างที่ชัดเจนขึ้น บล็อกส่วนใหญ่มีที่ให้เอาไว้ฝาก comment และลิงค์แต่จำเป็นต้องผ่านการอนุมัติของเจ้าของบล็อกก่อน ถ้าบล็อกคุณมี comment บทความที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยเอาแต่จะฝากลิงค์ ถ้าคุณเป็นเจ้าของบล็อกนั้นคุณจะปล่อยให้มี comment ที่จะเอาแต่ขายของนั้นให้ขึ้นไหม หลายคนนั้นพยายามฝากลิงค์ให้ได้เยอะๆ ผ่านบล็อกเหล่านี้โดยเน้นไปทางปริมาณมากกว่าคุณภาพ โดยไม่รู้ตัวเลยที่กำลังทำอยู่นั้นเสียเวลาเปล่าและไม่ได้อะไรกลับมาเลย หรืออย่างการฝากร้านผ่าน instagram ดารานั่นแหละครับ มันก็คล้ายๆกันครับ

    5. ฝากลิงค์อย่างเดียว


    การฝากแต่ลิงค์อย่างเดียวนั้นอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ใช่ของการทำ SEO ทางที่ดีนั้น คุณอาจจะใช้ social media อย่าง facebook หรือ content marketing อย่างพวก hubpage หรือ ezinearticles เพื่อเพิ่มความสมดุลในการทำ backlink ให้มากขึ้น แถมยังช่วยให้คุณได้ traffic จากที่อื่น นอกเหนือจาก search engine ด้วยนะครับ

    สำหรับผมบางข้อข้างต้นนั้นมันอาจจะยังทำได้ผลอยู่ แต่ถ้าคุณต้องการสร้างแบรนด์เป็นของตัวเองและไม่ต้องกังวลว่าเว็บไซต์ของเรานั้นจะโดน search engine เก็บเมื่อไร คุณจะเห็นว่าสิ่งที่ผมบอกมาข้างต้นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอยู่ดี และสิ่งหนึ่งที่จะช่วยอันดับของคุณที่ขึ้นได้โดยแทบไม่ต้องฝากลิงค์เลยนั่นก็คือ บทความที่มีคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านนั้น เพราะผู้อ่านที่ชอบนั้นจะเกิดการแชร์และบอกต่อเองครับ

    ที่มา: http://www.passiveincomeoptimizer.com

    ร่วมเป็นสมาชิก Blogseothai คุณคือตัวจริง !