มือใหม่กับคู่มือ SEO

SEO คืออะไร ?



หลายคนคงจะได้ยินกับคำว่า SEO กันมาบ้างแล้วนะครับ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย แต่หลายคนก็ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหน จะทำอย่างไร ถึงจะเรียกว่าการทำ SEO วันนี้ผมมีคำตอบให้ครับ ใครที่สนใจในเรื่อง SEO ก็จะได้มีแนวทางในการต่อยอดหาความรู้ หาเทคนิคใหม่ๆ ต่อ ๆ ไป บทความนี้เป็นเพียงบทความ แนะนำพื้นฐานส่วนหนึ่งในการทำ SEO เท่าที่ผมรู้นะครับ เพราะว่าการทำ SEO มันมีการพัฒนา มีเทคนิคใหม่ อยู่เสมอ แต่รับรองได้เลยครับว่า บทความที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้ จะมีค่าสำหรับมือใหม่อย่างแน่นอนครับ



เริ่มกันที่ความหมายของ SEO กันเลยนะครับ SEO คืออะไร หลายคนก็คงจะสงสัยกันอยู่ (มือใหม่) ตามความเข้าใจของผมนะครับ SEO (Search Engine Optimization) คือ “การปรับแต่งเว็บไซต์ รวมไปถึงการโปรโมท เว็บไซต์ เพื่อให้ Search Engine ต่างๆ สามารถค้นหาและรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ของเราได้สะดวก และรวดเร็ว ซึ่งผลจากการทำ SEO ก็จะทำให้ เว็บไซต์ ของเราอยู่ในอับดับต้นๆ ของ Search Engine ต่างๆได้ และ ทำให้เว็บไซต์ของเราสามารถทำเงิน หรือ ค้าขาย ให้บริการต่างๆ ได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น”
ท่านสามารถค้นหาในเว็บ Google คำว่า “SEO คืออะไร” เพื่อดูความหมายอื่น ๆ

Search Engine คืออะไร

เอาสั้นๆเลยครับ Search Engine ก็คือ เว็บไซต์ หรือ เครื่องมือค้นหาข้อมูลในโลกอินเตอร์เน็ต อย่างเช่น Google Yahoo ฯลฯ
ท่านสามารถค้นหาในเว็บ Google คำว่า “Search Engine คืออะไร” เพื่อดูความหมายอื่น ๆ

SEO ทำได้อย่างไรบ้าง

เข้าเรื่องกันเลยครับ ผมเคยได้ยินบ่อยครับคำนี้ ผมก็เลยจะบอกว่า SEO ทำได้ 2 ทาง หลักๆ ครับ คือ
1. On-site คือ การทำในเว็บไซต์ของเรา การทำก็เป็นการปรับแต่งโคร่งสร้างต่างๆ ภายในเว็บไซต์ของเราครับ ซึ่งผมจะแนะนำในหัวข้อต่อไป
2. Off site คือ การทำภายนอกเว็บไซต์ครับ เช่น ฝากลิงค์ ตามเว็บ บอร์ด เว็บ social ฯลฯ ซึ่งผมจะแนะนำในหัวข้อต่อไป เช่นกัน

สิ่งที่ผู้อ่านจะต้องค้นหา ความรู้ กันต่อไป

ก่อนอื่น ผมต้องบอกก่อนเลยว่า บทความนี้เป็นบทความที่ผมเขียนขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการทำ SEO เท่านั้นนะครับ อาจะอธิบายได้ ไม่ครอบคลุมเนื้อหาหลายๆ อย่าง (ผมจะอธิบาย เน้นการทำ SEO กับ Google เป็นหลัก) ซึ่งเป็นหน้าที่ของท่านที่จะต้องศึกษากันต่อไปครับ สิ่งที่ผมจะแนะนำให้หาความรู้เพิ่มเติมก็คือ (ค้นหาข้อมูลจาก Google ได้เลยครับ)

สื่งที่ท่านอาจจะยังไม่รู้

- หลักการทำงานของ Search Engine ?
- Googlebot คืออะไร มีกี่ประเภท ?
-Google Sandbox คืออะไร ?
-เครื่องมือวิเคราะห์คีย์เวิร์ด มีอะไรบ้าง ?
- นิช (Niche) คีย์เวิร์ด คืออะไร ?
- โดเมน คืออะไร มีกี่ประเภท ?
-โฮสติ้ง คืออะไร ?
-เว็บเพจ คืออะไร เว็บไซต์ คืออะไร
- PR คืออะไร ?
-Sitemap คืออะไร ทำไมต้องใช้ Sitemap ?
-Robots.txt คืออะไร มีเอาไว้ทำอะไร ?
-ลิงค์วีล (Link Wheel) คืออะไร ?
-Feed คืออะไร Submit Feed ยังไง ?

คุณรู้จักคีย์เวิร์ดหรือยัง ?

คีย์เวิร์ดในความเข้าใจของผม ก็คือ คำ ที่ใช้ในการ ค้นหา ใน Search Engine เพื่อให้เจอกับเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคำนั้น ๆ
ท่านสามารถค้นหาในเว็บ Google คำว่า “คีย์เวิร์ด คืออะไร” เพื่อดูความหมายอื่น ๆ

จดโดเมนเนม และ โฮสติ้ง ยังไงให้ถูกหลัก SEO

ถ้าเราที่จะมีเว็บไซต์ เป็นของเราสักเว็บหนึ่ง ขั้นตอนแรก ผมแนะนำให้ หาคีย์เวิร์ดให้ได้ก่อน คิดให้ดีก่อนว่าเว็บไซต์ของเราจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอะไร จากนั้นก็ไปจดโดเมนเนม กันเลยครับ เบื้องต้นถ้ายังไม่รู้ว่าจะจด .com หรือ . อะไรดี ผมแนะนำให้จด .com ไปเลยครับ
หลักการจด มีอยู่ว่า ในการจดโดเมนเนม ควรใช้ชื่อที่อ่านง่าย ออกเสียงง่าย สื่อถึงเนื้อหาภายในเว็บไซต์ ยิ่งเป็นคำสั้นๆ ได้เท่าไหร่ ยิ่งดี และที่สำคัญ ควรมีคีย์เวิร์ดแทรกอยู่ในชื่อโดเมนเนมนั้นด้วย และแนะนำให้เอาคีย์เวิร์ดไว้เป็นอันดับแรกของคำ ทำได้จะดีมากเลยครับ แล้วในการจดโดเมนเนม หากหลีกเลี่ยงการใช้ เครื่องหมาย ขีดกลาง (-) ในการตั้งชื่อโดเมนเนมได้ ก็ยิ่งดีครับ ไม่ควรใช้เลยครับ ตัวอย่างเช่น เอาของผมเลยครับ web9ball.com คีย์เวิร์ด ก็คือ web ผมจะนำมาไว้หน้าเลยครับ เพราะว่าเว็บไซต์ของผมมีเนื้อหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ ฯลฯ
ส่วนการเลือกโฮสติ้ง ก็แนะนำได้คำเดียวว่า เลือกโฮสติ้งที่เร็วๆ เลยครับ เอาแบบไม่ล้มบ่อย ถ้าโฮสล้มบ่อย โฮสติ้งช้า อาจทำให้เว็บไซต์ของเราทำอันดับได้ไม่ดีเท่าที่ควร

มาเริ่ม SEO On-site (ทำภายในเว็บไซต์) กันเลยครับ


เนื้อหาในหน้าเว็บเพจ ควรพูดถึงเรื่องๆ เดียวกัน เช่น คุณขาย เครื่องสำอาง เนื้อหาก็ควรจะมีแต่เรื่องเครื่องสำอางเป็นหลัก อย่าไปพูดถึงเรื่อง เรือรบ เด็ดขาดเลยครับ มันเกินไป อิอิ

จำนวนหน้าเว็บเพจ มีมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีเท่านั้น จำไว้ได้เลยครับ Google ชอบเว็บไซต์ที่มีจำนวนหน้าเว็บเพจเยอะๆ และหน้าเว็บเพจเหล่านั้นต้องมีเนื้อหาสาระนะครับ ข้อมูลก็ต้องมีอย่างน้อย 500 ตัวอักษรต่อหน้า

เลือกใช้ Static Link แทน Dynamic Link เพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาภายในเพจนั้นๆ
Static Link เช่น yourweb.com/index.php?id=12035235&cat=22
Dynamic Link เช่น yourweb.com/website.html

ตั้งชื่อไฟล์ ต่างๆ ด้วยคีย์เวิร์ด เช่น website.zip website.jpg joomla.gif ฯลฯ

เคล็ดลับการเขียน Title และ Description

Title และ Description คือ หัวข้อ (หรือ หัวเรื่อง) และ คำอธิบาย ของเว็บไซต์ และที่สำคัญมันจะไปแสดงอยู่ในหน้า Google ครับ ในบรรทัด ที่ 1 และ 2-3 ตามลำดับ ดังนนั้น เราจะเขียนยังไง ให้เว็บติดอันดับต้นๆ จะเขียนยังไงให้คนอยากจะคลิก มาดูกันครับ

การเขียน Title ควรมีจำนวนตัวอักษร 65 ตัวอักษร (ใช้ให้ขาด ให้เกิน น้อยที่สุดยิ่งดีครับ ถ้าสงสัยลองนับดูหน้า Google ครับ) ถ้ามากกว่านั้น Google ก็แสดงไม่หมดครับ ส่วนการเขียน Title ที่ดีนั้น ควรจะเขียน ให้เป็นประโยคที่อ่านแล้วน่า คลิก สื่อถึงเนื้อหาภายในเว็บไซต์ได้ดี และที่สำคัญ ควรสอดแทรกด้วยคีย์เวิร์ดเข้าไปให้มากที่สุด แต่อย่างมากจนหน้าเกลียด และที่สำคัญอ่านแล้วต้องมีความหมาย และเป็นประโยค ด้วยครับ

การเขียน Description มีจำนวนตัวอักษร 155 ตัวอักษร (ใช้ให้ขาด ให้เกิน น้อยที่สุดยิ่งดีครับ ถ้าสงสัยลองนับดูหน้า Google ครับ) ในการเขียนก็ใช้หลักการเดียวกับ การเขียน Title ครับ

เนื้อหาภายในเว็บไซต์ ควรสอดคล้อง กับคีย์เวิร์ด และ สอดแทรกด้วยคีย์เวิร์ด
ในการเขียนบทความ หรือ เนื้อหา ให้กับเว็บไซต์ ควรพูดถึงเรื่องๆเดียวกันกับคีย์เวิร์ด และที่สำคัญควรสอดแทรกด้วยคีย์เวิร์ดให้มากที่สุด แต่ไม่มากจนน่าเกลียด และต้องอ่านแล้วได้ใจความด้วยครับ

ตัวอย่างบทความที่ไม่สมควร

“เว็บนายบอล รับออกแบบเว็บไซต์ เรารับออกแบบเว็บไซต์ในราคาประหยัด เรารับออกแบบเว็บไซต์ด้วยความจริงใจ และ รับออกแบบเว็บไซต์ ด้วยระบบ CMS JOOMLA เรายินดีให้บริการ รับออกแบบเว็บไซต์” เยอะไปแบบนี้ก็ไม่ดีครับ เอาแต่พองาม

ใส่คำอธิบายให้กับรูปภาพ

นอกจากการตั้งชื่อไฟล์ด้วยคีย์เวิร์ดแล้ว เราก็ควรจะใส่คำอธิบายให้กับรูปภาพทุกรูปด้วยครับ Google จะได้ Index รูปภาพของเราด้วย เช่น <img src=”รูปภาพ” alt=”คำอธิบายรูปภาพ”></img>

เพิ่มบทความหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้กับเว็บไซต์ สม่ำเสมอ

อย่างที่รู้กันนะครับว่า Google จะชอบเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาใหม่ๆ ไม่ซ้ำกับเว็บไซต์อื่นๆ ยิ่งเว็บไซต์ไหนมีการอัพเดทเนื้อหาอยู่บ่อยๆ Bot ของ Google ก็จะเข้ามาเก็บข้อมูลบ่อยๆ เช่นกัน ส่วนในการเพิ่มบทความใหม่ๆ เข้าไปในเว็บไซต์นั้น อาจะเพิ่มวัน 3-4 บทความ (ถ้ามีเวลา) หรือ อย่างน้อย 2-3 วัน สัก 1 บทความก็ยังดีครับ

ใช้ TAG เหล่านี้ซะบ้าง
<H1>ข้อความ</H1> ใช้กับประโยคที่เป็นหัวข้อหลัก บ่งบอกถึงเนื้อหาภายในเว็บเพจ และที่สำคัญควรมีแค่ หัวข้อเดียว แล้วก็ ควรสอดแทรกคีย์เวิร์ดเข้าไปด้วย
<H2>ข้อความ</H2> ใช้กับประโยคที่เป็นหัวข้อที่มีความสำคัญรองลงมา มีได้มากกว่าหนึ่งหัวข้อ
<B>ข้อความ</B> ใช้เน้นคำที่มีความสำคัญ หรือ คีย์เวิร์ด

Tag ที่ขาดไม่ได้


Title เป็นสิ่งที่สำคัญเลยครับ เป็นหัวข้อหลัก บ่งบอกเนื้อหาภายในเว็บไซต์ จะแสดงในบรรทัดที่ 1 ของ Google ครับ ตัวอย่าง <title>รับออกแบบเว็บไซต์ ทำเว็บไซต์ ด้วยระบบ CMS JOOMLA โดย เว็บนายบอล</title>

Description เป็นคำอธบายของเว็บไซต์ ทำให้บอทรู้ได้ว่าเว็บไซต์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ตัวอย่าง <meta name="description" content="รับออกแบบเว็บไซต์ ทำเว็บไซต์ (รับออกแบบเว็บไซต์ด้วย joomla) รับออกแบบเว็บไซต์ โดยเน้นให้ลูกค้าได้ประโยชน์มากที่สุด " />

Keywords ควรใส่ไม่เกิน 10 คำ ครับ แล้วก็ค่นด้วยเครื่องหมาย "," ตัวอย่าง <meta name="keywords" content="รับออกแบบเว็บไซต์, ออกแบบเว็บไซต์, website, เว็บไซต์, จัดทำเว็บไซต์, ทำเว็บไซต์, บริการรับออกแบบเว็บไซต์, joomla" />

Tag เหล่านี้ อยู่ในส่วนของ โค้ด ครับ



ควรมีลิงค์ไปยังเว็บเพจหน้าอื่นบ้าง

ในการเขียนบทความในแต่ละครั้ง ถ้าเราเจอคีย์เวิร์ดต่างๆ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ บทความที่เราเขียนมาก่อนหน้านี้แล้ว เราก็ควรที่จะทำลิงค์ หรือใส่ลิงค์ไปหา บทความนั้นๆ ด้วย เพราะ Google จะได้อยู่ในเว็บไซต์ของเรานานๆ และสามารถเก็บข้อมูลภายในเว็บไซต์ได้ครบทุกหน้า
ตัวอย่างเช่น ผมได้เขียนบทความเรื่อง SEO เสร็จแล้ว ผมก็ไปเขียนบทความอื่นต่อไป พอดีว่าไปเจอ คำว่า SEO ในบทความนั้น ผมก็เลยใส่สิงค์ให้กับคำว่า SEO ให้ลิงค์ไปยังบทความ เรื่อง SEO ที่ผมได้เขียนเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ฯลฯ ถ้าเป็นเว็บไซต์ ระบบ CMS ก็จะมีเครื่องมือในการใส่ลิงค์ให้อยู่แล้วครับ

ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรมีลิงค์ออกนอกเว็บไซต์
ก็คือไม่ควรใส่ลิงค์ ให้เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ภายนอก โดยไม่จำเป็น เพราะจะทำให้ค่า PR ของเรารั่วไหลไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ได้

ถ้ามีความจำเป็นต้องทำลิงค์ออกนอกเว็บไซต์
ในกรณีที่เราจะเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ ภายนอก ให้เราใส่ nofollow link เข้าไปด้วย
ตัวอย่าง <a href=”เว็บไซต์ภายนอก” rel=”nofollow”>ข้อความ</a>

ในการสร้างลิงค์ ควร ลิงค์ด้วย Text หรือ ข้อความ และควรลิงค์ ด้วยคีย์เวิร์ด

มาเริ่ม SEO Off site (ทำภายนอกเว็บไซต์) กันเลยครับ

การทำ SEO ภายนอกเว็บไซต์ ก็จะเป็นการฝากลิงค์ หรือ หา แบ็คลิงค์ (Back Link )
แบ็คลิงค์ คืออะไร แบ็คลิงค์ ก็คือ ลิงค์ที่เชื่อมโยงจากเว็บไซต์ ภายนอก หรือ เว็บไซต์ อื่นๆ มาหาเว็บไซต์ ของเรา ยิ่งมีมากเท่าไหร่ ก็ทำให้เว็บไซต์ของเรายิ่งมีค่าในสายตาของ Google มากเท่านั้น

ข้อคิดการฝากลิงค์
-ควรฝากลิงค์กับเว็บที่มีค่า PR สูง กว่าเว็บไซต์ของเรา หรือ เว็บไซต์ที่มีผู้คนเข้าชมวันละหลายๆคน


- การ หาแบ็คลิงค์ โปรโมท หรือ โพสต์ตามเว็บบอร์ดต่างๆ ควรอ่านกฎข้อปฏิบัติของที่นั้นๆ ให้ดีก่อนโพสต์ และในการโพสต์ จะต้องโพสต์ให้ตรงหมวดหมู่ด้วยนะครับ จะทำให้แบ็คลิงค์ที่เราได้มามีค่ามากยิ่งขึ้น และ กระทู้ หรือ บทความ ของเราก็จะไม่โดนลบด้วยครับ


- เว็บไซต์ที่เพิ่งทำเสร็จใหม่ควรฝากลิงค์ 3-4 ลิงค์ก่อน หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือน แล้วค่อยฝากลิงค์วันละ 10-20 ต่อวันครับ (ขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละคนครับ ว่าจะฝากวันละกี่เว็บ ถ้ามากไปอาจจะไม่ปลอดภัยครับ เดี่ยวโดน พี่ Google เก็บลงหลุมทรายครับ) ทำไมต้องรอ 3 เดือนใช่มั้ยละครับ หลายคนสงสัยละสี ก็เพราะว่า Google จะใช้เวลาในการพิสูจน์เว็บไซต์ที่เพิ่งเกิดใหม่ครับ เพราะว่าหลายๆเว็บไซต์ทำแล้วทิ้งบ้าง ไร้สาระบ้าง Google เลยต้องทดสอบกันหน่อยครับ

ฝากลิงค์ที่ไหนได้บ้าง


- เว็บบอร์ดต่าง ๆ (ถ้าเน้นโพสต์ตรงกับหวดสินค้าของเรา) ถ้าเป็นเว็บไซต์ที่สามารถเลื่อนตำแหน่ง และต่อวันหมดอายุได้ยิ่งดีครับ


- เว็บบอร์ด Profile คือ ในการสมัครเข้าใช้งานเว็บบอร์ด จะมีหน้า Profile ให้เรากรอกประวัติต่างๆ และหลายๆ เว็บบอร์ดก็จะมี ลายเซ็น ให้เรา กรอกด้วย เราก็สามารถใสลิงค์ของเราลงไปได้เลยครับ (สอบถามจากพี่ในไทยเสียวได้เลยครับ สำหรับใครที่ใส่ลายเซนไม่เป็น)


- เว็บ Social เช่น facebook twitter ฯลฯ สามารถหา list จากใน ไทยเสียวได้เลยครับ http://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,49665.0.html 


- เว็บ Directory เช่น directory.truehits.net ซึ่งก็สามารถหา list ได้จากใน ไทยเสียวเช่นกันhttp://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,31788.0.html 


- Submit feed (อันนี้ต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมกันนะครับ เพราะว่าผมก็แค่รู้ แต่สอนต่อไม่ถูกครับ) อิอิ


- แลกลิงค์ กับเพื่อนบ้าน ตัวอย่าง http://www.web9ball.com/index....icle&id=133&Itemid=127


- ลิงค์ วีล(Link Wheel) (ค้นหาความรู้เพิ่มเติมได้เลยครับ ว่าทำกันยังไง ผมเองก็ทำไม่ค่อยเป็น)

ลืมบอกไป ว่า ลิงค์ ที่มีค่า มาจากเว็บไหนบ้าง
ที่ผมจำได้ก็ ลิงค์ที่มีค่า นอกจากจะมาจากเว็บที่มีค่า PR สูงๆ และ การโพสต์ตรงหมวดหมู่แล้ว ผมยังแนะนำอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ลิงค์จากเว็บ การศึกษา หน่วยงานราชการ เว็บการกุศล ฯลฯ ครับ เช่น .org .edu .gov หายากสักหน่อยครับ ฝากที่ไหน ฝากยังไง ถึงจะไม่โดนลบ ต้องมีเทคนิคการฝากลิงค์ นะครับ ซึ่งต้องค้นคว้า ถามจากคนที่เก่งๆ แล้วก็ศึกษากันต่อไปครับ

ในที่สุดนี้ อยากจะบอกอีกครั้งว่า บทความที่ผมเขียนมานี้ เป็นบทความที่มาจากความเข้าใจของผมนะครับ ซึ่งผมได้อ่านมาจากหนังสือ และศึกษา เพิ่มเติมในเว็บไซต์ ต่างๆ อาจจะไม่ครอบคลุม เนื้อหาทั้งหมดครับ แต่ผมเชื่อว่า มันสามารถที่จะนำทางให้หลายๆ คน

เครดิต:http://www.thaiseoboard.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ร่วมเป็นสมาชิก Blogseothai คุณคือตัวจริง !