เทคนิคในการดึงความสนใจ การสร้าง Blog
Seothai |
seo4u |
Head html |
จากการสังเกตุในช่วงที่ผ่านมา เห็นว่ามีหลายๆ Blog ที่น่าสนใจอยากเข้าไปอ่าน แต่เวลาคงไม่มีพอสำหรับทุกเรื่อง ทุก blog ในฐานะคนเสพ Blog ก็รอดูว่าจะมีเรื่องอะไรที่น่าสนใจ Pop up ขึ้นมาใน 10 เรื่องล่าสุดบ้าง (บางทีก็มองไม่ทัน เพราะเปลี่ยนเร็วมาก หรือไม่ก็เปิดหน้าจอแช่ไว้ไม่ได้ refresh บางเรื่องก็เลยไม่เห็นก็มี) เรื่องอะไรที่ทีมงานแนะนำบ้าง Blog ของคนที่ดังๆเขามีเรื่องอะไรใหม่ๆบ้าง ว่าแล้วก็ไปBlog เพื่อนๆที่คุยสนุกก่อน
การที่จะมานั่งหาเรื่อง(อ่าน) (ไม่ใช่หาเรื่องคนอ่านนะคะ ฮิฮิ) โดยการไปดูรายการยาวเหยียดใน more_blog นั่นก็มีบ้าง แต่ก็ยังน้อย เมื่อเทียบกับแบบข้างบน ดังนั้น การที่ Blogger แต่ละคนใช้ลูกเล่นต่างๆมาเรียกความสนใจจากเรานั้น ก็เป็นเรื่องน่าศึกษา คุณๆก็สามารถนำมาใช้ได้ตามโอกาส แต่เรื่องเทคนิคพิเศษ (35 บาทแถมลูกชิ้นจัมโบ้)ส่วนตัวนั้น เทคนิคใครก็ของใคร คงต้องเจาะลึกดูกันเอาเอง
ในที่นี้ จะบอกถึงเทคนิคทั่วๆไป ที่มีการนำมาใช้กัน จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ไม่เป็นไร เพราะมองที่ผลลัพธ์มากกว่า ถ้า feedback ออกมาในรูปคนเขาชม (แล้วชมจริงๆ จะชมแบบบอกกล่าวหรือชมในใจก็ตาม) ไม่ใช่คนด่า ก็ถือว่าเรื่องนั้นผ่าน แต่บางเรื่องก็ไม่ได้ต้องการคนชม แต่ต้องการคนมาแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ความคิดเห็นในเรื่องที่โพส ถ้าได้รับการตอบรับด้วยการเขียนความเห็นกันมากๆ ก็จะได้พบความหลากหลาย ลุ่มลึก เพิ่มดีกรีความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น บางบล็อกยังกลายเป็นห้องสนทนากลายๆไปแล้ว
ในฐานะคนอ่าน blog แนะนำว่าเวลาไปเยี่ยมชมเรื่องใน blog ใคร หากไม่ติดขัดเรื่องเวลา หรือ ปัญหาทางเทคนิคใดๆ (แปลง่ายๆว่า กรณีหาข้อแก้ตัวได้ อิอิ) อยากจะโปรโมทว่า ให้ทิ้งข้อความสั้นๆไว้ให้เจ้าของ blog ได้ทราบเป็น feedback หรืออย่างน้อยก็ทักทายกันให้รู้ว่า เราเองนะที่มาอ่าน ถ้าทำแบบนี้ได้ ก็จะช่วยให้เจ้าของ blog เห็น แล้วกลับเข้าไปเยี่ยมคารวะ ทักทาย อ่านเรื่องใน blog ของคุณบ้าง แล้วก็จะได้ประโยชน์มากมายมหาศาลกับ สังคมใน Oknation.net เอง
ต่อไปนี้เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่ใช้ได้ทั่วไป ในการทำ Blog นะคะ ท่านใดเข้ามาอ่านแล้วอยากจะเพิ่มเติมก็ได้นะคะ เพราะเขียนขึ้นจากประสบการณ์ที่ oknation นี่เอง ไม่ได้ไปดูที่อื่น (แต่ คงไปดูๆเขาบ้าง เมื่อมีเวลา คงจะได้อะไรๆมาฝากกันอีกค่ะ)
seo |
เทคนิคในการดึงความสนใจ
- Blogger Name เปรียบเหมือนชื่อผู้ผลิต นะคะ ควรใช้นามปากกา หรือ Blogger Name นี้ให้โดดเด่น หากเป็นคนที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วก็สามารถใช้ชื่อตัวเองได้เลย ถึงแม้จะไม่ใช่ก็ใช้ชื่อตัวเองได้เป็นการสร้าง brand ในชื่อตัวเอง หรือจะหาชื่อที่มีความหมายเฉพาะ จะให้แทนตัวเรา หรือแทนสิ่งที่เราจะนำเสนอ หรือให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ blog ไม่ควรตั้งชื่อล้อเลียนใคร เว้นแต่ blog เราต้องการเน้นเรื่องการล้อเลียน เช่นล้อนักการเมือง ไม่ควรใช้คำไม่สุภาพ ไม่ควรใช้ชื่อยาวเกินไป
- ตั้งชื่อ Blog ให้โดนใจ ให้ตรงกับสิ่งที่เราจะนำเสนอเห็นหลัก เปรียบเสมือนกับเป็นชื่อสินค้า เพราะจะเป็นจุดที่คนเข้ามาชมมองเห็นในครั้งแรกและจะจดจำไว้ตลอดไป จะให้ดีคือ ควรให้ชื่อ blog กับ url name เหมือนกันเป็นดีที่สุด เพราะบางทีคนที่มาเยี่ยมชมครั้งหนึ่งแล้ว จะเข้ามาอีกก็จำได้แต่ชื่อ blogger จำ url ไม่ได้ เว้นแต่เขาจะ Addเราเป็น Favorite Friends
- คิดก่อนเขียน Blog Description ต้องมีคำที่สื่อความหมายดี ตรงกับความสนใจ ตรงกับเจตนารมณ์ของ Blogger เลือกคำที่เป็น Key Words ยอดนิยม เพื่อเวลาที่คนsearch หาจะได้พบ blog ของเรา แต่ก็ต้องให้ตรงกับเนื่อเรื่องที่เราจะนำเสนอ
- เขียนข้อความใน Title ให้ดูดี เพราะข้อความนี้จะแสดงที่หัวของ browser อย่าให้คนที่เปิด blog เราอ่านต้องอับอายที่จะให้คนรู้ว่าเขาเข้ามา เช่น อย่าไปเขียนประมาณว่าBlog นี้ไม่มีอะไร (ดี) เป็นต้น..แฮ่
- โพสเรื่องที่เป็นที่สนใจของคนโดยทั่วไป หากจะเล่าเรื่องของตนเองก็ควรเขียนให้น่าสนใจ น่าติดตาม
- โพสเรื่องที่เป็นที่สนใจของคนเฉพาะกลุ่ม ควรเลือกเรื่องที่เราสมารถเขียนได้เองด้วยความมั่นใจ จากสิ่งที่เรารู้ ศึกษา ปฏิบัติ มีประสบการณ์โดยตรง หรือโดยอ้อม โดยระบุที่มาที่ไปมาให้แจ้งชัด เพื่อผู้อ่านจะได้ทราบ
- โพสข่าวใหม่ล่าสุด จะเป็นข่าวที่ยังไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเจาะลึก ข่าวที่เพิ่งเกิด หรือข่าวตามกระแส
- ตั้งชื่อเรื่องให้ดูตื่นเต้น เร้าใจ กระตุ้นอารมณ์คนดู แต่เนื้อหาก็ต้องไม่แพ้ชื่อเรื่องนะคะ มิเช่นนั้นคราวหลังอาจจะไม่สามารถเรียกคนได้อีก
- การโพสขอความช่วยเหลือ ได้ผลมากๆ เพราะชุมชนนี้มีแต่คนใจดี พอเห็นใครขอความช่วยเหลือจะรีบคลิกเข้าไปหาคำถามทีเดียว ตอบได้ก็ตอบ ตอบไม่ได้ก็อาจจะเขียนคอมเม้นท์ไว้เพราะอยากบอกว่า ฉันมาแล้วนะ แต่คิดว่าถ้าไม่เดือดร้อนจริงๆ กรุณาอย่าใช้เทคนิคนี้เลย เพราะคนเราเวลาอดรีนาลีนหลั่งแล้วไปเจอเรื่องเซอร์ไพร๊ส์ อาจจะไม่ขำไปกับเจ้าของเรื่องก็ได้
- สร้างความน่าเชื่อถือด้วยข้อมูลที่ ถูกต้อง ตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ และกล้าเสนอในสิ่งที่คนอื่นอาจไม่กล้าทำ โดยที่ต้องให้อยู่ในกรอบขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดี สิ่งนี้จะเป็นการต่อยอดต่อไปในอนาคต เมื่อผู้อ่านเชื่อถือในตัวคุณ ก็มีแนวโน้มที่จะกลับมาหาคุณอีกเรื่อยๆ
ทั้งหมดเป็น 10 เทคนิคเบสิค ง่ายๆ ที่นำไปใช้ปฏิบัติได้ทันทีค่ะ
เครดิต http://www.oknation.net/blog/print.php?id=12838
seothai |
กฎ 20 ข้อในการทำเว็บไซต์เพื่อ SEO
1. ให้ความนับถือผู้ชมเว็บของคุณ อย่าพยายามบังคับให้พวกเขาอ่านเนื้อหาในเว็บของคุณทั้งหมด ปล่อยให้พวกเขาเลือกและตัดสินใจเองว่าจะอ่านอะไร ให้ลองนึกว่าถ้าคุณเป็นผู้ชมเว็บ คุณจะทำอย่างไรกับหน้าต่างที่ป๊อบอัพขึ้นมาและกล่องโฆษณาที่เกลื่อนกลาดอยู่เต็มไปหมด
2. โฆษณาที่แย่ กล่องโฆษณาที่น่ารำคาญอาจช่วยเพิ่มรายได้ให้คุณเพียงชั่วขณะหนึ่ง แต่ในระยะยาวแล้ว มันไม่ทำให้เว็บไซต์ของคุณประสบความสำเร็จได้ อย่างไรก็ตาม การผนวกโฆษณาเข้ากับเนื้อหาของเว็บไซต์ และจัดโครงสร้างของเว็บให้ดีก็จะช่วยให้โฆษณานั้นไม่รบกวนผู้ชม มันจะช่วยให้เว็บของคุณเป็นที่รู้จักมากขึ้นและยังช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่คุณได้ด้วย
3. ให้ข้อมูลและสอนผู้ชมเว็บของคุณ แบ่งปันความคิด ไอเดีย ประสบการณ์ และความรู้ของคุณให้กับคนที่ต้องการหรืออาจจะต้องการคำแนะนำจากคุณ เมื่อคุณมีข้อมูลเหล่านี้ คุณก็มีเครื่องมือที่ทรงพลังที่จะดึงดูดความสนใจของมวลชนมาที่งาน ความสนใจ และบริการของคุณได้ นอกจากนี้แล้ว ถ้าคุณแบ่งปันความรู้ที่มีคุณค่ากับผู้ใช้คนอื่น คุณก็จะได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นบุคคลที่รู้ว่าเขาหรือเธอกำลังพูดถึงอะไร
4. สร้างสรรค์สไตล์ของคุณ สร้างสรรค์จากไอเดียของคุณ ทำให้ตัวคุณเกิดแรงบันดาลใจ แต่อย่าลอกเลียนแบบ มันน่าสนใจกว่ามากที่จะได้รู้ว่าคุณมีความสามารถอะไรแทนที่จะไปสนใจว่าคนอื่นมีความสามารถอะไร ค้นหาจินตนาการและความอยากรู้อยากเห็นของคุณเอง ไอเดียใหม่ๆ หรือไอเดียเก่าที่ถูกพัฒนาขึ้น ย่อมดึงดูดผู้ใช้เว็บมากกว่าของลอกเลียนแบบ
5. ใส่ใจกับมาตรฐาน คิดถึงคนให้มาก การใช้มาตรฐานเว็บที่ดีจะช่วยลดงานของคุณในอนาคตลงได้มาก เมื่อคุณจะสร้างเว็บสำหรับคนทั่วไป มันจึงมีเหตุผลที่คุณจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่จะตรวจสอบโค้ดต่างๆ และทำให้มันเป็นมาตรฐาน เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามมาตรฐานดีแล้ว คุณก็ไม่ต้องกังวลว่าในอนาคตจะมีเว็บบราวเซอร์เวอร์ชั่นใหม่เกิดขึ้นมาซึ่งจะทำให้เว็บของคุณมีปัญหา นอกจากนี้เว็บของคุณจะต้องสามารถอ่านได้ง่าย (readability) เข้าถึงได้ง่าย (accessibility) และใช้งานง่าย (usability) จำไว้ว่าคุณต้องนับถือผู้ชมเว็บของคุณ
6. ใช้ข้อความที่ชัดเจน อย่ากลัวที่จะบอกว่าคุณต้องการสื่ออะไร ความคลุมเครือทำให้เกิดระยะห่างระหว่างคุณกับผู้ชมเว็บของคุณอย่างไม่จำเป็น ให้ใช้ข้อความที่เด่นชัดต่อผู้ชมเว็บถ้าคุณต้องการนำเสนออะไรให้แก่พวกเขา ถ้าคุณระบุให้ชัดเจนว่าคุณกำลังพูดถึงอะไรอยู่ คุณก็จะได้รับผลตอบรับที่ดีหรือได้คำตอบของคำถามที่คุณสงสัย
7. เกลียด Internet Explorer ได้ถ้าคุณอยาก แต่อย่าปฏิเสธผู้ใช้มัน อย่าออกแบบเว็บที่เหมาะสำหรับบางเว็บบราวเซอร์เป็นพิเศษ คุณควรออกแบบเว็บให้เหมาะสำหรับ Internet Explorer เหมือนกับที่ออกแบบให้กับบราวเซอร์อื่นๆ Internet Explorer อาจจะไม่ใช่บราวเซอร์ที่ดีที่สุด แต่ก็มีผู้ใช้เว็บถึง 85% ที่ใช้มันอยู่ ให้กลับไปดูกฎข้อที่ 1
8. เอาใจใส่เนื้อหาของเว็บ สำหรับเว็บที่กำลังพัฒนา คุณจะต้องทำให้มันมีข้อมูลที่น่าสนใจและมีรูปลักษณ์ที่ดูดี อย่าลืมว่าผู้ชมเว็บของคุณจะจดจำทุกสิ่ง เมื่อคุณแสดงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมแก่พวกเขาโดยที่ไม่มีข้อความอธิบายว่ามีอะไรซ่อนอยู่ภายใต้ลิงค์นั้น คุณก็จะไม่ได้เห็นผู้ชมเว็บเหล่านี้อีกเลย ถ้าโค้ดของเว็บไซต์เป็นร้อยกรอง เนื้อหาของเว็บไซต์ก็เป็นร้อยแก้ว
9. อย่ากังวลมากกับ SEO อย่าไปมองในระดับคีย์เวิร์ด เพราะมีสิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือเว็บไซต์ของคุณต้องการนำเสนออะไร การพยายามเพิ่มตำแหน่งใน search engine นั้นเสียเวลามากกว่าการเขียนบทความที่มีประโยชน์ลงในบล็อกของคุณ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญ SEO คุณจะทราบว่าคุณต้องปรับแต่งเว็บไซต์ตลอดเวลาเพื่อให้มีอันดับที่ดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณเขียนบทความที่ดี มันจะอยู่กับเว็บไซต์ของคุณไปตลอด
10.หลีกเลี่ยงการทำ SEO และ PageRank แบบผิดๆ การทำ Search Engine Optimization ที่ไม่ถูกต้อง (การแลกเปลี่ยนลิงค์กับทุกเว็บไซต์บนเน็ตเท่าที่เป็นไปได้ การโพสต์ลิงค์ของคุณในเว็บรวมลิงค์ ฯลฯ) จะทำให้เว็บของคุณถูกแบนจาก search engine สำคัญๆ ในที่สุด อัลกอริธึมของ search engine ถูกปรับปรุงตลอดเวลา ท้ายที่สุดแล้วความพยายามของคุณก็จะไม่เกิดประโยชน์ และยังเสี่ยงที่ PageRank จะกลายเป็น 0
11. ติดต่อ แต่อย่าสแปม ให้คนที่สนใจเนื้อหาของคุณได้รู้ว่าคุณมีเนื้อหานั้นๆ ต้องรู้ก่อนว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพ จากนั้นให้เอาใจใส่กับคนที่อาจจะสนใจในบริการของเว็บคุณ นึกถึงเว็บไซต์ที่พวกเขาชอบเข้าไปชม แล้วติดต่อเจ้าของเว็บไซต์เหล่านี้เพื่ออธิบายถึงประโยชน์ของบริการของคุณ แต่จำไว้ว่าคุณไม่ได้เขียนถึงโปรแกรม แต่คุณกำลังเขียนถึงมนุษย์ ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะแบ่งปันบริการของคุณให้กับผู้ชมเว็บของเขาหรือไม่ จำไว้ว่าจะส่งลิงค์ แต่ให้ส่งคำเชิญชวนที่มีข้อความที่สุภาพที่อธิบายว่าเว็บของคุณมีอะไรที่แตกต่างจากเว็บอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน ต้องมั่นใจว่าคนที่คุณเขียนถึงตระหนักได้ว่ามันสำคัญต่อผู้ชมเว็บของพวกเขาอย่างไร จงจำไว้ว่าคุณไม่ได้ทำเพื่อเงิน แต่ทำเพื่อผู้ใช้ อย่าสแปม อย่าโฆษณา แต่ให้เผยแพร่สิ่งที่มีประโยชน์
11. ไม่ต้องเกรงใจที่จะถาม มีนักพัฒนาเว็บจำนวนมากที่เคย กำลัง หรือจะถามคำถามเดียวกับที่คุณมีอยู่ตอนนี้ อย่าลังเลที่จะถาม อย่าลังเลที่จะหาคำตอบ ยิ่งคำถามของคุณฉลาดมากเท่าไร คำถามนั้นก็มีโอกาสจะได้รับคำตอบมากขึ้นเท่านั้น และยังทำให้คนพบเว็บของคุณจาก search engine อีกด้วย
12. ตอบอีเมลทันที ติดต่อกับลูกค้าที่มีศักยภาพของคุณให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ อย่าปล่อยให้อีเมลกองอยู่ใน inbox นานเกิน 12 ชั่วโมง อย่าส่งข้อความตอบกลับอัตโนมัติ คนที่เขียนข้อความถึงคุณรู้ว่าเขากำลังเขียนถึงคุณ อย่าทำให้คนอื่นเสียเวลาเช่นเดียวกับที่คุณไม่ทำให้ตัวเองเสียเวลา พยายามสร้างความประทับใจให้กับคนที่คุณติดต่อด้วย ตอบกลับอย่างมั่นใจ มืออาชีพ เป็นกันเอง และเป็นตัวของตัวเอง
13. ใช้ประโยชน์ของ social bookmark อย่ากลัวที่จะเผยแพร่เว็บไซต์ของคุณผ่าน Digg, Reddit, Furl, del.icio.us, Ma.gnolia, Blinklist และเว็บไซต์ social bookmark อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ให้เลือก tag ที่จะใช้ในเว็บเหล่านี้อย่างระมัดระวังซึ่งจะทำให้ผู้ชมเว็บเข้ามาที่เว็บของคุณ และถ้า tag ถูกเลือกใช้อย่างมีเหตุมีผล ไม่เพียงแต่จะมีผู้ชมเว็บเข้ามาเท่านั้น แต่คุณยังสามารถโน้มน้าวให้พวกเขาช่วย tag บทความของคุณใน social bookmark ต่อด้วย
14. สร้างความสัมพันธ์ นักพัฒนาเว็บที่สร้างสรรค์มักจะได้รับการสนับสนุนจากบล็อกของนักพัฒนาเว็บด้วยกัน
15. คิดในระดับโลก ข้อมูลในเว็บของคุณอาจจะไม่ดึงดูดคนในประเทศของคุณ แต่โลกของเว็บนั้นไร้ขอบเขต แล้วทำไมคุณไม่สื่อสารกับคนทั้งโลกล่ะ? ไม่จำเป็นต้องหาตลาดเฉพาะ (niche) ที่ใกล้ตัวคุณ ในเมื่อคุณมีโอกาสที่ไม่จำกัดอยู่ทั่วโลก
16. อย่าแหกหลักการ ควรพูดคุยกับลูกค้าถึงแนวทางที่เว็บไซต์ควรถูกนำเสนอหรือพัฒนาขึ้น ให้ความเคารพกับมุมมองของลูกค้า แต่จงจำไว้เสมอว่าคนที่พัฒนาเว็บคือคุณ อย่าทำเพียงเพราะว่าคุณถูกสั่งให้ทำ ให้แก้ไขข้อผิดพลาดถ้าคุณพบว่าลูกค้าผิด จงเป็นมืออาชีพ เพราะในท้ายที่สุดแล้วคุณสร้างเว็บเพื่อผู้ใช้ ไม่ใช่เพื่อลูกค้าของคุณ
17. ติดตามข่าวสารสม่ำเสมอ ตื่นตัวตลอดเวลาว่ามีอะไรเกิดขึ้นในโลกอินเทอร์เน็ต เว็บถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีไอเดียใหม่ๆ ออกมาเสมอ อย่างไรก็ตาม นิตยสารด้านการออกแบบและพัฒนาเว็บก็คุ้มค่าที่จะอ่าน
18. เรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์ ค้นหาไอเดียใหม่ๆ ตลอดเวลา พยายามเข้าไปอ่านตามกระดานข่าวของนักพัฒนาเว็บ มุ่งความสนใจของคุณไปยังสิ่งที่ผู้คนกำลังค้นหาและพูดถึงกันอยู่
19. ทำเว็บให้สวยขึ้น CSS ดีไซน์ที่โปร่งตา อ่านง่าย และดูชาญฉลาด คือความสวยงาม
20. ตระหนักถึงพลังอำนาจของเว็บอยู่เสมอ ให้การสนับสนุนแก่โครงการที่สำคัญต่อคุณในอนาคต
แปลอย่างย่อจาก Web Design and Development: Top 20 Best Practices
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น