วิธีการสมัคร Google Adsense แบบ Step by Step


วิธีการสมัคร Google Adsense แบบ Step by Step

Google Adsense

Google Adsense เป็นระบบที่สามารถทำเงินได้มหาศาลให้กับคนไทยหลายๆ คน
 วันนี้ผมจึงมาแนะนำวิธีการสมัคร Google Adsense 
ซึ่งก่อนที่จะทำการสมัครเราต้องทำความเข้าใจกฏอยู่ 4 ข้อแบบง่ายๆ คือ

เงื่อนไขวิธีการสมัคร Google Adsense

1. ผู้สมัครจะต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
2. เว็บไซต์ที่มาสมัครจะต้องเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ
3. เว็บไซต์ที่สมัครจะต้องเป็นเว็บไซต์ที่ไม่ผิดกฏหมาย เช่น เว็บไซต์ขายหนังโป๊
4. เว็บไซต์บริการให้โหลดเพลง ฯลฯ
เมื่อทำความเข้าใจเสร็จแล้วก็มาสมัครกันเลย

วิธีการสมัคร Google Adsense

1. เข้าเว็บไซต์เพื่อสมัครทที่ http://www.google.com/adsense
2. คลิก Sign up
3. กรอกข้อมูลในส่วนของ Website Information และ Contact Information
4. รอ E-mail ตอบรับจาก Google Adsense
ดูรายละเอียดการกรอกข้อมูล Google Adsense

ดูรายละเอียดการกรอกข้อมูลคลิกที่รูป
สำหรับวิธีการสมัครนั้นคงไม่ยากเกินไปนะครับ
Google AdSense 

         คือบริการจาก Google ที่ให้ผู้ที่มีเว็บไซต์ สามารถหารายได้โดยการนำ Code ที่ได้จากการสมัครเป็นสมาชิกของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ของตนเอง ซึ่ง Code นั้นจะเป็น โฆษณาที่ส่งมาจาก Google โดยโฆษณานั้น ๆ จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ ตัวอย่างเช่นถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โฆษณาที่ส่งมาจาก Google ก็อาจเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ โรงแรม,สายการบิน เป็นต้น 

รายได้จาก Google AdSense จะเกิดตอนไหน
         จะมีอยู่ 2 กรณีครับคือ
         • จ่ายเมื่อคลิก (Pay Per Click)
            เมื่อคนที่เข้าชมเว็บไซต์ของคุณ คลิกที่โฆษณาของ Google AdSense ซึ่งแต่ละคลิกจะได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับผู้ที่ทำ Google Adwords จ่ายให้ Google มากน้อยเท่าไร ถ้าจ่ายให้มากคุณก็จะได้มากด้วยเช่นกัน
         • จ่ายเมื่อแสดงโฆษณา (Pay Per Impression)
            อันนี้จะจ่ายให้คุณเมื่อมีการแสดงโฆษณา ครบ 1,000 ครั้ง โดยไม่นับว่าจะมีคนคลิกกี่ครั้งก็ตาม คุณจะไม่ได้รายได้จากการคลิก 

นอกจากโฆษณาต่าง ๆ แล้ว การแนะนำ บริการต่าง ๆ ของ Gogle เมื่อมีคนใช้บริการ คุณก็จะมีรายได้จากการแนะนำนั้นด้วยซึ่งมีอยู่ดังต่อไปนี้

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิธีเอา Code Google AdSense ไปติดที่เว็บคุณ ? 

         อันดับแรกให้คุณ Login เข้า Google AdSense ก่อนที่ https://www.google.com/adsense เมื่อ Login เข้า Google AdSense เป็นที่เรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ AdSense Setup จะมี Ads ให้เลือก 3 หัวข้อใหญ่ ๆ คือ 

         • AdSense for content
            การนำโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเว็บไซต์ของคุณไปติด (Contextual Advertising) 
            สำหรับ AdSense for content มีตัวเลือก 2 ตัวย่อย คือ 
            - Ad unit : โฆษณาที่มีทั้งข้อความ และ รูปภาพ โดยโฆษณานั้นจะมีเนื้อหาสอดคล้องกับเว็บไซต์ของคุณ
            - Link unit : โฆษณาที่มีลักษณะเหมือนลิงค์ โดยโฆษณานั้นจะมีเนื้อหาสอดคล้องกับเว็บไซต์ของคุณ เช่นกัน 
         • AdSense for search
            การนำช่องค้นหา (Search Box) ไปติดไว้ที่เว็บไซต์ของคุณ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาเว็บไซต์ได้ทั่วโลก หรือจะค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ของคุณเท่านั้นก็ได้ และเช่นกัน คุณยังสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของช่องค้นหาให้มีความเหมาะสมกับเว็บไซต์ของคุณได้อย่างไม่ยาก คุณจะได้รายได้จากการคลิกเว็บไซต์ที่ อยู่ในตำแหน่งสปอนเซอร์ ของผลการค้นหาที่แสดงออกมาจากการค้นหา

หมายเหตุ สำหรับ Site language ให้เลือกเป็นภาษา English , Your site encoding ให้เลือก Unicode (UTF-8) นะครับ

         • Referrals 
            การแนะนำ บริการต่าง ๆ ของ Gogle เมื่อมีคนใช้บริการ คุณก็จะมีรายได้จากการแนะนำ
สำหรับ Referrals มีตัวเลือก 5 ตัวย่อย คือ 

            - Google AdSense 
               • ค่าตอบแทน $5 หากมีผู้ที่สมัคร Google Adsense ผ่าน Referral ของคุณและได้ $5 ภายใน 180 วัน
               • ค่าตอบแทน $250 หากภายใน 180 วันถ้าผู้ที่สมัคร Google Adsense ผ่าน Referral ของคุณสามารถทำได้ $100 โดยผู้ที่สมัครต่อจากคุณต้องกรอก PIN ก่อนคุณถึงจะได้รับค่าตอบแทน
               • ค่าตอบแทน $2,000 หากคุณมี 25 คนที่สมัครต่อจากคุณภายในระยะเวลา 180 วัน ที่สามารถทำได้มากกว่า $100 คุณจะได้รับโบนัสเพิ่มทันที (โบนัสจะได้รับ 1 ครั้ง/ปี)

            - Google AdWords 
               • ค่าตอบแทน $5 หากมีผู้ที่สนในลงโฆษณากับ Google Adwords ผ่าน Referred ของคุณและชำระค่าบริการ $5
               • ค่าตอบแทน $40 หากผู้ที่ลงโฆษณากับ Google Adwords ใช้บริการโฆษณาและชำระค่าบริการ $100 ภายใน 90 วัน
               • ค่าตอบแทน $600 หากมีผู้สมัครผ่านคุณ 25 คนที่ลงโฆษณากับ Google Adwords โดยผู้ที่โฆษณาใครก็ตามที่ชำระค่าบริการมากกว่า $100 ภายใน 90 วัน คุณจะได้รับโบนัสเพิ่มทันที (โบนัสจะได้รับ 1 ครั้ง/ปี

            - Firefox : คุณจะได้ 1$ เมื่อมีคนดาวน์โหลด Firefox จากเว็บของคุณ แต่ผู้ดาวน์โหลดนั้น ๆ ต้องไม่เคยติดตั้ง Firefox มาก่อน 

            - Google Apps 
               Google Apps คือระบบที่เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ซึ่งในระบบจะมีบริการต่างๆที่สมาชิกในกลุ่มใช้ได้ เช่น อีเมลล์ ระบบการการสนทนาผ่าน Instant Massaging ระบบปฎิทิน ที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช่ร่วมกันได้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างภายในสมาชิก ระบบทั้งหมด Google เป็นผู้ให้บริการ โดยที่คุณไม่ต้องลงทุนอุปกรณ์และค่าซอฟท์แวร์แต่อย่างใด รวมถึงไม่ต้องเสียค่าบำรุงรักษา 

            คุณจะได้รับ $5 จากที่มีผู้สนใจคลิกโฆษณา Google Apps ผ่านเว็บไซด์ของคุณและได้ทำการลงทะเบียนอย่างเสร็จสมบูณณ์ อย่างไรก็ตามหากผู้ที่สนใจไม่ได้สมัคร Google Apps ทันทีก็ตามระบบจะเก็บขอมูลการคลิกโฆษณา Google Apps จากเว็บไซด์ของคุณต่ออีกเป็นเวลา 4 สัปดาห์ นั่นหมายถึงเขาอาจจะสมัครหลังจากนั้นก็ได้ แล้วคุณก็ยังได้รับรายได้อยู่ 

            - Google Checkout 
               Google Checkout คือระบบการจับจ่ายซื้อสินค้าที่สะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว ด้วยระบบการรับชำระของ Google Checkout คุณสามารถทำรายการสั่งซื้อและจ่ายค่าสินค้าตลอดจนตรวจสอบรายการ การสั่งซื้อหรือการจ่ายค่าสินค้าได้ด้วยตัวเองผ่านหน้าเว็บไซด์

            คุณจะได้รับ $1 ถ้ามีผู้ที่สมัครบัญชี Google Checkout ผ่านการแนะนำจากเว็บไซด์ของคุณ และได้ทำรายการสั่งซื้อสินค้าภายใน 90 วันและรายการทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์จนการชำระค่าสินค้าเสร็จสิ้น โดยมูลค่าของสินค้าต้องมีมูลค่า $10 ขึ้นไป ก่อนที่รวมภาษีและค่าขนส่ง ภายใน 7 วัน

            เมื่อคุณต้องการ Ads ตัวไหนไปติดที่เว็บของคุณก็ให้คลิกไปที่ Ads นั้น ๆ แล้วทำตามขั้นตอนที่ Google แนะนำ เมื่อได้ code ก็นำไปติดไว้ที่เว็บของคุณ แต่มีข้อแม้ว่าห้ามแก้ไข Code นั้น ๆ โดยด็ดขาด


คัดลอกมาจาก : http://www.makemoney.bcoms.net/content/guide.asp


สวัสดีครับ 

 จากบทความแรก เขียนเกี่ยวกับ ตำแหน่งการวางโฆษณา Adsense และบทความที่ 2 กลยุทธ์แนวทางการทำเว็บไทย ผมกลับมาดูอีกครั้ง รู้สึกดีใจมากครับ ที่เขียนมาแล้ว บทความตนเองมีประโยชน์ เพื่อนๆหลายท่าน บอกว่า ได้แรงบันดาลใจเพิ่มขึ้น ไอเดียเพิ่มขึ้น เห็นคอมเม้นแบบนี้ ผมถึงกับยิ้มแก้มปริ ความรู้สึกแบบนี้ มันคือกำไรชีวิตที่มีเงินก็หาซื้อไม่ได้ครับ สำหรับการทำเว็บสไตล์ผม ผมไม่ได้เน้นเรื่องการทำเงินเป็นหลัก บางครั้งผมคิดว่า ผมเขียนบทความมา 1 บทความ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง หากมีคนเปิดดูหน้าเพจดังกล่าวสัก 1000 คน ผมก็ถือว่า คุ้มแล้วหละ คนได้รับประโยชน์ไปตั้ง 1000 คนแหนะ อย่างน้อยๆ น่าจะมีสักคนสองคน ที่นำความคิดของเราไปต่อยอดได้ หรือผมก็อาจช่วยทำให้คนไทย รักการอ่านมากยิ่งขึ้น ทำงานต้องทำด้วยใจก่อนเป็นที่ตั้งก่อนเสมอ อีกหน่อย เรื่องเงินมันก็มาเองครับ ใจเย็นๆ...

 เอาหละครับ มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า บ่อยครั้งที่ผมเห็นการโพสถามเรื่องสมัคร Adsense หลายๆ รอบแล้วไม่ผ่านกันสักที ก่อนอื่น ผมต้องขอขอบคุณผู้มีพระคุณเป็นอย่างยิ่ง ผมเรียกเขาว่า พี่เก็ท Get Alert หลายๆท่านคงจะรู้จัก ขอบคุณที่ชี้นำผมมาหารายได้พิเศษกับ Adsense อันที่จริง ก็รุ่นราวคราวเดียวกัน แต่ผมนับถือเป็นพี่ไปแล้วละ ตอนสมัยเรียน ทำโปรเจคจบ Google Maps API ก็ได้พี่เก็ทเป็นที่ปรึกษาจนเรียนจบ แถมเข้ารอบชิง NSC ด้วยนะ (แอบโม้) สังคมออนไลน์ ยังมีคนดีๆ อีกเยอะครับ ผมไม่ได้รู้จักพี่เก็ทมาก่อน ก็มารู้จักกันในเว็บ ThaiSEOBoard นี่หละครับ อีกคนหนึ่ง พี่เต้ รู้จักกันมาก่อนใน MSN เพิ่งมารู้ทีหลังว่าทำ IM ด้วย ก็ได้ปรึกษาไปพอสมควร เพิ่งเจอตัวจริงกันเมื่อไม่กี่วันมานี้เอง ด้วยความบังเอิญ

 เอาหละครับ เข้าเรื่องจริงๆละ การสมัคร Adsense ส่วนตัวแล้ว มองว่าไม่ยากนัก หากเราตั้งใจจะทำจริงๆ ตอนผมสมัครปีก่อน ผมใช้ Flixya.com ในการสมัคร ตอนนั้นผมก็ไม่ทราบ ว่าเนื้อหาเว็บไทยก็สมัครได้ด้วย นั่งแปลภาษาอังกฤษอยู่นานมาก ผมเขียนไปประมาณ 10 บทความภาษาอังกฤษ ทำเองหมดทุกอย่าง บทความและภาพ ถ่ายเองหมดครับ ยกเว้น คลิปวิดีโอ ใช้จาก Youtube โดยเลือกใช้คลิปวิดีโอที่อนุญาติให้เผยแพร่ต่อได้ ซึ่งจะมีสัญลักษณ์ ลิขสิทธิ์ (©) หมายถึง "สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย" ทั้งนี้ คุณต้องมั่นใจว่า ผู้อัพโหลดเป็นต้นฉบับจริงๆด้วยนะครับ หลังจากนั้นก็สมัคร Adsense และอัพต่อทุกวันจนกว่าสมัครผ่าน ใช้เวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ ก็ผ่านเรียบร้อยครับ รวมแล้วไม่ถึง 20 Post นะ แต่นี่ คือปีก่อน ปีนี้อาจเปลี่ยนไป

 สำหรับในช่วงนี้ ผมคิดเอาเองว่า Google Adsense เริ่มจับทางเว็บมาสเตอร์ไทยได้ นั่นคือ สร้าง Blog มาเพื่อสมัคร Adsense โดยเฉพาะ เมื่อสมัครผ่าน ก็ไปทำเว็บอื่นต่างหาก ซึ่งแน่นอนว่า คุณสามารถนำโค้ดไปติดได้เลยทันที ไม่ต้องรอให้ Google มาตรวจใหม่อีกครั้ง และเว็บดังกล่าว อาจไม่ตรงกับนโยบายของ Google Adsense ก็เป็นไปได้ สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังนั่นก็คือ การถูกแบนโฆษณา แบนโดเมน หรือเลวร้ายไปกว่านั้นก็คือ แบน ID ซึ่งผมเองก็ถูกแบนเว็บไซต์มาก่อนถึง 2 เว็บด้วยกัน โชคดีที่ยังมี ID ให้ได้ใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ ในส่วนนี้ เป็นเพียงการเล่าประสบการณ์ในการสมัครของผมเอง ซึ่งเป็นแบบเก่า ไม่แนะนำให้ทำกันแล้ว สำหรับแบบที่จะแนะนำนี้ จากประสบการณ์จริงเช่นกัน เพราะผมได้แนะนำวิธีดังกล่าวนี้ ให้เพื่อนๆ น้องๆ ที่อยากหารายได้พิเศษ และก็สมัครผ่านเรียบร้อย อาจเหมาะกับมือใหม่ ที่ต้องการทำเว็บไม่เยอะ อาจแค่เว็บสองเว็บนะครับ

1. หาแนวทางของเนื้อหา - สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ ที่คุณต้องมีก่อน ต้องคิดให้ได้ว่าต้องการทำเว็บอะไร ควรอ่านนโยบาย Adsense อย่างรอบคอบ ว่าเนื้อหาของเรานั้น อาจมีส่วนผิดกฏระเบียบหรือไม่ ถ้ามีแนวโน้มหรือจุดเสี่ยงที่จะผิด ก็อย่าไปยุ่งดีกว่าครับ เอาแบบที่ทำแล้วสบายใจ หากให้ดี ผมก็ยังคงยึดแนวทางเดิม นั่นคือ ให้ทำในสิ่งที่ตนเองชอบก่อน หากเราทำในสิ่งที่ชอบ ข้อดีที่หาไม่ได้นั่นคือ เราจะไม่เบื่อกับสิ่งๆ นี้ และแน่นอนว่า เราอาจมีข้อมูลเดิมอยู่แล้วมากมาย เพียงแค่ใช้นิ้วระบายความในใจลงแป้นพิมพ์ ก็อาจจะเป็นบทความดีๆ ถูกใจใครหลายๆคนก็เป็นไปได้ครับ ส่วนจะเป็นไทยหรืออังกฤษ อันนี้ก็แล้วแต่ความสามารถเลยครับ เนื้อหาไทย ก็สมัคร Adsense ได้ครับ ทั้งนี้ ความชอบมิได้หมายถึงว่า ชอบดูหนังแล้วไปอัพคลิปวิดีโอนะครับ ผิดกฏแน่นอนสำหรับเว็บแนว ดูคลิป ดูทีวี

2. ตั้งชื่อเว็บไซต์ - ใช่แล้วครับ ต้องเว็บไซต์ อย่างที่ผมเกริ่นนำมา ผมคิดเอาเองนะ ว่า Google Adsense อาจมองถึงความมั่นคงของเราด้วย การทำบล๊อกปัจจุบันมันดูง่ายเกินไป จะทำเมื่อไหร่ก็ได้ จะเลิกทำก็ไม่เสียดาย แต่ทั้งนี้ ก็เป็นเพียงแค่สมมุติฐาน ผมเดาเอาเองเท่านั้น หากมองลึกลงไปกว่านั้นแล้ว เมื่อคุณมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง มีการลงทุนเกิดขึ้น โดเมน+โฮส โดยรวมแล้วก็ประมาณ 1000 บาท เชื่อไหม สิ่งนี้มันมีผลทางด้านจิตวิทยาเล็กน้อย เพราะการลงทุนจะทำให้เราเสียดาย และพร้อมที่จะตั้งหน้า ตั้งตาลุยมันให้ถึงที่สุด แต่หากเป็น blog อาจจะละทิ้งไปเฉยๆ เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่เพียงแค่นี้ การจดทะเบียนเป็นเว็บไซต์ มันยังจัดการกับสคริปต์ได้ง่ายกว่าเยอะเลยครับ ยิ่งมีอายุก็ยิ่งมีราคา แน่นอนว่า หากคุณทำไปนานๆเข้า เบื่อเมื่อไหร่ มันขายได้ มันมีมูคค่าทางทรัพย์สินไปแล้วหละครับ กลับกัน หากเป็น blog คุณอาจถูกเตะทิ้งเมื่อไหร่ ก็ไม่อาจคาดเดาได้ และ มันขายยากมากครับ ลงทุนแค่พันเดียว ผมว่า หายากนะ อาชีพที่ลงทุนน้อยๆ แต่ได้เงินคืนนับไม่ถ้วนแบบนี้ แค่พันเดียว เดือนแรกก็ได้คืนหมดแล้วครับ

3. หาสคริปต์+โฮส - ตรงส่วนนี้ ผมไม่มีอะไรจะแนะนำมาก เพราะโดยส่วนตัวก็ไม่เก่งเรื่องสคริปต์เลยครับ ก็เลือกเอาตามที่ชอบแล้วกันครับ ให้ดูสะอาดตาเข้าไว้ Google Adsense ไม่เหมาะนักกับเว็บรกๆ อาจผิดนโยบายอีกด้วย ในบอร์ดไทยเสียวก็มีสคริปต์สวยๆ ขายกันเยอะแยะเลย ช่วยๆกันอุดหนุนครับ โฮสติ้งก็เช่นกัน แรกๆ ไม่ต้องคิดถึง VPS หรือเซิฟเวอร์ส่วนตัวหรอกครับ ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป หลายๆท่าน มีเป้าหมายที่จะทำเว็บแนววาไรตี้ ก็จัดการเช่า VPS หรือซื้อเซิฟเวอร์เผื่อทราฟฟิกไว้เลย จริงๆ ก็ไม่ผิดนะครับ แต่หากให้ผมแนะนำ เอาโฮสธรรมดาก่อนจะดีกว่าครับ เพราะหากคนเข้าเยอะเมื่อไหร่ ก็ไม่ต้องกลุ้มใจไป พี่ๆในไทยเสียว ก็พร้อมจะบริการ VPS กันเยอะเลยครับ (มีทั้งดีและไม่ดี เลือกกันเองนะ) ส่วนตัวแล้วเลือกใช้บริการของคนไทยหมดเลยครับ ไม่ว่าจะโดเมน หรือ โฮส และ VPS จ่ายแพงกว่านิดหน่อย ก็เอาเหอะครับ ช่วยๆกัน ก็มีข้อดีหลายอย่างนะ ติดต่อง่าย สำหรับมือใหม่แล้วหละก็ สำคัญเลยทีเดียว แต่หากเทพแล้ว อันนี้ผมไม่ขอกล่าวถึงนะ ^^

4. ภาษา - "พูดได้ ใช่ว่าจะพูดเป็น อ่านได้ ใช่ว่าจะอ่านเป็น เขียนได้ ใช่ว่า จะเขียนเป็น" ขอฝากประโยคนี้ไว้นิดนึง สำหรับคนที่ทำเว็บไทย การเรียนสมัยนี้ มองข้ามภาษาไทยเป็นอย่างมาก บางสาขาวิชา ถึงกับตัดวิชาภาษาไทยออกจากหลักสูตร อันที่จริงแล้ว ภาษาไทยสำคัญมากกับชีวิตของคนไทยเรา การเขียนเว็บ มันก็คล้ายๆกับเขียนหนังสือหละครับ เขียนอย่างไรจึงน่าสนใจ บทความเรื่องเดียวกัน แต่อ่านแล้วอาจให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป อ่านแล้วเบื่อ หรือ อ่านแล้วสนุก ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากๆ ว่าเว็บของคุณจะเกิดหรือไม่ การที่จะทำให้ผู้อ่าน รู้สึกพึงพอใจ และอยากติดตามผลงานของเราอยู่เสมอ การเขียนที่ดี เกิดจากการอ่านมากๆ หากคุณไม่เคยอ่านผลงานเขียนของผู้อื่นเลย ความรู้ที่มีในเรื่องดังกล่าวอาจไม่แน่นนัก และ เขียนไม่ออก อาจรวมถึงการอ่านหนังสือแนวอื่นๆด้วย เพราะจะได้แนวทางการเขียนที่เยอะขึ้น ส่วนนี้ผมไม่ขอนับรวมสำหรับมืออาชีพที่มีเงินทุนจ้างเขียนบทความแล้วนะครับ ส่วนนั้น พี่ๆ เค้าไปไกลแล้วครับ อาจไม่จำเป็นต้องมาเสียเวลาตรงจุดนี้ นั่งนับเงินสบายใจละ สำหรับตัวผมเอง ทุกวันนี้ ผมก็ยังคงนั่งเขียนบทความเองอยู่ทุกวัน ผมมองว่าการเขียนมันก็คือศิลปะอย่างหนึ่ง เราอยากจะถ่ายทอดอะไรลงไป อยากให้ผู้อ่าน อ่านแล้วรู้สึกอย่างไร เราควบคุมได้ ผมเขียนบทความบางครั้ง ผมไม่ได้สนองความต้องการของผู้อ่านด้วยซ้ำ แต่สนองความต้องการของตนเองนี่หละ ว่าเราอยากผลักดันเรื่องใด ที่จะทำให้สังคมดีขึ้นได้บ้าง อันนี้คือโจทย์ที่ผมจะต้องตั้งไว้อยู่เสมอ ฝึกบ่อยๆ มันก็จะไหลไปได้เองครับ เผลอๆไป อนาคตคุณอาจได้เป็นนักเขียนมืออาชีพ ขายทั้งหนังสือ ขายทั้งโฆษณาเว็บก็เป็นไปได้เนอะ

"อย่าลืมว่า อาชีพนี้ เป็นอาชีพที่ขายเนื้อหา เป็นหลัก ไม่ว่าจะอยู่ในสื่อชนิดใด เนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเว็บมาสเตอร์ครับ และสำคัญกับผู้ลงโฆษณา Google Adwords หากเว็บมาสเตอร์ไทย ทำเนื้อหาดีๆ ผู้ลงโฆษณาก็พึงพอใจ และส่งผลให้ มีการแข่งขันที่สูงขึ้น อนาคต ค่าคลิกเว็บไทยก็จะแพงขึ้นตามมาแน่นอนครับ"

5. อัพเดท - ในระยะช่วงแรก จำเป็นต้องอัพเดทบทความอยู่เสมอ ผมแนะนำให้ทำวันละ 2 บทความ หรืออาจมากกว่านี้ก็เป็นการดีครับ อัพเดทไปเรื่อยๆ ประมาณ 2 สัปดาห์ อย่าเพิ่งรีบร้อนครับ คิดซะว่า ช่วงนี้เป็นช่วงซ้อมมือแล้วกัน ต้องดูปัจจัยโครงสร้างเว็บเป็นหลักด้วย หากซื้อสคริปต์ที่แบ่งหมวดเยอะๆ ก็อาจต้องตัดโค้ดบางส่วนออกไปก่อน มิเช่นนั้นเว็บไซต์คุณจะดูโล่งในช่วงแรกๆ รอให้เนื้อหาเยอะๆ ค่อยเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนขยายใหม่ไปเรื่อยๆได้ครับ ผมคิดเอาเองว่า Google น่าจะมองความสมบูรณ์ของเว็บไซต์ด้วย หากเว็บดูโล่งๆ ผู้ลงโฆษณาก็อาจไม่ชอบใจเอาได้ ก็ต้องอิงประโยชน์ซึ่งกันและกัน หากวันไหนไม่ว่างจริงๆ ก็สามารถหยุดอัพได้ครับ แต่อย่าหยุดยาวหลายวันเกิน ทำให้เป็นธรรมชาติของชีวิตประจำวันเรา เป็นการดีที่สุดครับ แต่ต้องมีวินัยด้วย หากคุณทำตรงจุดนี้ยังไม่ได้ ต่อไปคุณก็บริหารเว็บไซต์ได้ยากครับ

6. พร้อมแล้วลุย - เมื่อครบประมาณ 2 สัปดาห์อาจมากกว่านี้ก็แล้วแต่บุคคลไปนะครับ บางท่านอาจต้องปรับปรุงสคริปต์บ้าง หรืออื่นๆ ก็ดูตามความเหมาะสม คิดง่ายๆเลยว่า หากคุณเป็นผู้เข้าชมเว็บไซต์ แล้วมาเจอเว็บดังกล่าว คุณจะพึงพอใจมากน้อยแค่ไหน เข้ามาแล้วกดปิดเลย หรือดูผ่านๆ หรือเข้ามาแล้ว นั่งอ่านไปเรื่อยๆ เพลินดี เป็นผู้ตรวจสอบเองก่อนได้ก็จะดีมากครับ หากคำตอบสะท้อนจากในใจว่า ก็งั้นๆ ยังไม่น่าสนใจ ให้หยุดรอก่อน ปรับปรุงใหม่ให้ได้ดั่งใจก่อน แต่หากคิดว่า ประทับใจแล้ว ทำการสมัครได้เลยครับ (ในส่วนขั้นตอนการสมัคร ผมไม่ขอกล่าวถึงนะครับ)

7. อัพเดทต่อ - หลายๆท่านเข้าใจผิด ว่าต้องรอ สำหรับผม ผมไม่เรียกว่ารอนะ แต่เป็นการพร้อมทำงานต่อ ก่อนสมัครอัพเดทอย่างไร ก็อัพเดทอย่างนั้น อย่างสม่ำเสมอ หรืออาจจะมากกว่าเดิมก็เป็นการดีครับ ระหว่างนี้ เว็บไซต์คุณก็ทยอย index ไปด้วยแล้วหละ แต่ไม่ต้องดีใจไป มันไม่ได้อยู่หน้า 1 หน้า 2 แน่นอนครับ ^^ ยกเว้นคีย์แปลกๆ น้องใหม่ต้องใจเย็น อัพเดทไปเล่นๆ ก่อน ค่อยว่ากัน โดยทั่วไป Google จะตอบกลับมา ไม่เกิน 2 สัปดาห์ครับ บางท่านอาจแค่ 1-2 วันก็มีครับ อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างนะ ส่วนนี้ผมก็ไม่สามารถคาดเดาเองได้ แน่นอนว่า หากผลงานคุณดี ถูกต้องตามนโยบาย ก็พร้อมที่จะรับข่าวดี เป็นเพื่อนร่วมงานกับ Google ได้เลยครับ เมื่อผ่านแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับลวดลายฝีมือแต่ละบุคคลแล้วหละครับ

สำหรับ 7 ขั้นตอนนี้ เหมาะสมกับมือใหม่นะครับ และเป็นแนวทางที่ไว้สำหรับทำเงินกับเว็บไซต์นั้นๆเลย นั่นคือ อยากทำเว็บอะไร ก็ใช้เว็บไซต์ดังกล่าวสมัครเลย หากผ่านก็ทำต่อยาว หากไม่ผ่าน ก็ได้รู้กันตั้งแต่แรก จะได้ไม่มาเจ็บปวดกันตอนหลัง แน่นอนว่า เว็บไซต์ของคุณก่อนจะผ่าน ทางทีมงาน Google ได้ตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว หลังจากผ่านแล้ว หากเนื้อหาของคุณยังคงแนวทางเดิม และคุณไม่โกงคลิก หรือทำผิดกฏข้ออื่นๆ ผมมั่นใจว่า Google ไม่มีทางแบนเว็บไซต์ หรือ ID คุณแน่นอนครับ ถึงแม้ผมจะเคยโดนแบนมาแล้ว 2 เว็บไซต์ แต่ผมก็ยังเชื่อมั่นใน Google ครับ เพราะสองเว็บที่ผมทำมานั้น มันก็มีแนวโน้มที่อาจส่งผลต่อการละเมิดนโยบาย Google Adsense ได้เช่นกัน ก็ยอมรับกันไป ยังดีที่ยังให้โอกาสในก้าวต่อไป

 หากท่านใดทำจนร่ำรวยกันไปแล้ว อย่าลืม กลับคืนสู่สามัญ เราเกิดมาก็ตัวเปล่า กลับไปก็ตัวเปล่า นำเงินที่ได้ส่วนหนึ่ง ช่วยเหลือสังคมบ้าง ทำบุญกันบ้าง มีน้อยก็ให้น้อยได้ครับ ชาติหน้ามีจริงมั้ย หรือจะเป็นเช่นไรก็มิอาจทราบได้ แต่หากเราสร้างบุญสร้างกุศล เตรียมความพร้อมไว้ก่อน ผมคิดว่า ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่เสียหายอะไร ดีกว่าจากโลกนี้ไปแบบเสี่ยงๆ ผมเชื่อว่า คนเราเกิดมาไม่ได้มาเพื่อชดใช้กรรมนะ แต่เชื่อว่า เกิดมาเพื่อมีโอกาสได้สร้างบุญ สร้างกุศลกันครับ ขอจบบทความ การสมัคร Google Adsense ไว้เพียงเท่านี้ หวังว่า คงมีประโยชน์บ้างเนอะ

ปล.หากพิมพ์ส่วนใดผิดไป หรืออ่านงงๆ ก็ให้เข้าใจไว้ว่า ผมพิมพ์ตอน 6 โมงเช้าและเริ่มง่วงมากละครับ อาจมีเบลอๆนะ อิอิ

iMacros มาแนะนำให้รู้จัก


iMacros เป็น Addon ของ Firefox ตัวนึงครับที่เราๆท่านๆ สามารถนำมาใช้กันได้อย่างฟรี

แนะนำวิธีการนำโดเมนฟรี .co.cc มาใช้กับ Blogger


แนะนำวิธีการนำโดเมนฟรี .co.cc มาใช้กับ Blogger


เขียนไว้ที่บล็อกนะคะ เลยเอามาแชร์ เผื่อจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆค่ะ
เอาของ .co.cc มาลงอันเดียวนะคะ เพราะลงหมดมันยาวมากอะค่ะ รูปเยอะด้วย

ของ Godaddy ไปดูได้ที่นี่นะคะ
โค๊ด:
http://www.youaremysmile.com/2011/03/godaddy-blogger-blogspot.html

ส่วนอันนี้ของ Netfirms ค่ะ
โค๊ด:
http://www.youaremysmile.com/2011/02/netfirms-blogger-blogspot.html

วันนี้จะมาแนะนำวิธีการนำโดเมนฟรี .co.cc มาใช้กับ Blogger ค่ะ
ค่าโฮสก็ไม่ต้องเสียเพราะใช้ Blogger ค่าโดเมนก็ไม่ต้องเสียอีก หุหุ
แต่อย่าทำเป็นเล่นไปนะคะ ของฟรีๆอย่างนี้ละหลายคนใช้ทำเงินกันได้มากมายเลยทีเดียว

การใช้โดเมนของเราเองกับบล็อกที่เราสร้างไว้ที่ Blogger แบบนี้
เวลาเราทำ seo เราก็ทำให้กับโดเมนของเรา ไม่ต้องไปทำ seo ให้กับ url ของ blogspot
หากเกิดอยากจะย้ายโดเมนไปใช้โฮสของตัวเอง ก็สามารถย้ายไปได้
โดยสิ่งที่เราทำ seo เอาไว้กับโดเมนของเราก็จะไม่สูญเปล่าไปค่ะ
จะโดน Blogger Mark ว่าเป็น Spam ก็อย่าได้แคร์ อิอิ

มาเริ่มขั้นตอนการตั้งค่าโดเมน .co.cc เพื่อนำไปใช้กับ Blogger กันได้เลยจ้า…

ก่อน อื่นเราก็ต้องมีโดเมน .co.cc เอาไว้อยู่ก่อนแล้วนะคะ
เมื่อมีโดเมน .co.cc ในชื่อที่เราต้องการแล้ว
ให้ sign in เข้าไปที่ account ที่เว็บ co.cc นะคะ
พอ sign in เข้ามาแล้วจะเจอหน้า Domain Settings ตามแบบในรูปนะคะ ให้คลิกที่ Set up ค่ะ

 

จากนั้นจะเข้ามาสู่หน้า Manage Domain ให้คลิกที่ปุ่ม Set up ที่อยู่ด้านหลังชื่อโดเมนของเราค่ะ

Submit blog to blog directories and increase the traffic


                 

Submit blog to blog directories and increase the traffic

        This post explains how to increase your blog traffic by submitting your blog to different kinds of blog directories which rates,provide statistics about your blog and provide free traffic and maximum exposure to your blog.
Submitting your blog to these directories is a very good thing to do particularly if your blog is very new one with low traffic.
These blog directories have high pageranks than your blog(since your blog is a new one with pagerank Zero).So, if someone searches for a particular keyword,there is more possibility for the blog directory to appear in the results than yours.So,by adding your blog to these directories,the visitors enters these directories containing your articles(when they click the article,they enter your site) and also your blog posts will be indexed little faster.So,submitting your blog to these directories will gain you more traffic.
(If your blog is a new one,then put a visitors tracker button in your blog,sothat you will see how many visitors are coming from these directories,from search engines,visitors geolocation,etc).

SEO คืออะไร ? คำถามเดิมๆที่คุณอาจไม่รู้ ?

SEO คืออะไร
     

SEO คืออะไร

เริ่มกันที่ความหมายของ SEO กันเลยนะครับ SEO คืออะไร หลายคนก็คงจะสงสัยกันอยู่ (มือใหม่) ตามความเข้าใจของผมนะครับ SEO (Search Engine Optimization) คือ “การปรับแต่งเว็บไซต์ รวมไปถึงการโปรโมท เว็บไซต์ เพื่อให้ Search Engine ต่างๆ สามารถค้นหาและรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ของเราได้สะดวก และรวดเร็ว ซึ่งผลจากการทำ SEO ก็จะทำให้ เว็บไซต์ ของเราอยู่ในอับดับต้นๆ ของ Search Engine ต่างๆได้ และ ทำให้เว็บไซต์ของเราสามารถทำเงิน หรือ ค้าขาย ให้บริการต่างๆ ได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น”
ท่านสามารถค้นหาในเว็บ Google คำว่า “SEO คืออะไร” เพื่อดูความหมายอื่น ๆ
   คำว่า SEO กันมาบ้างแล้วนะครับ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย แต่หลายคนก็ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหน จะทำอย่างไร ถึงจะเรียกว่าการทำ SEO วันนี้ผมมีคำตอบให้ครับ ใครที่สนใจในเรื่อง SEO ก็จะได้มีแนวทางในการต่อยอดหาความรู้ หาเทคนิคใหม่ๆ ต่อ ๆ ไป บทความนี้เป็นเพียงบทความ แนะนำพื้นฐานส่วนหนึ่งในการทำ SEO เท่าที่ผมรู้นะครับ เพราะว่าการทำ SEO มันมีการพัฒนา มีเทคนิคใหม่ อยู่เสมอ แต่รับรองได้เลยครับว่า บทความที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้ จะมีค่าสำหรับมือใหม่อย่างแน่นอน

What is Numbered Page Navigation ?


What is Numbered Page Navigation ?


In blogger, by default, you see Older posts, Newer Posts links near the bottom of the page which is useful to your blog visitors to navigate to other posts of your blog. But, the problem is.. people hardly notice those newer and older posts links.. which means.. less pageviews to your blog.

So, to increase your blog pageviews you can use this cool looking, advanced numbered page navigation to your blog.



So, how to add this to your Blogger blog ?
(first backup your blog template before editing anything)

1. Sign into your Blogger account » Settings » Formatting
Choose the number of posts you want to display on homepage

set the amount of posts to be displayed on the homepage

SEO Onpage สำคัญอย่างไร


SEO Doctor
หลายต่อหลายครั้งที่เราได้ทำ SEO Onpage ให้กับเว็บไซต์ของเราแต่อยากทราบว่าสิ่งที่เราทำมันถูกต้องและดีพอหรือยัง? จะหาเว็บไซต์ที่ตรวจสอบ SEO Onpage ก็ยุ่งยากบางทีเว็บล่มบางทีก็ประมวลผลช้าเสียเวลาและไม่แม่นยำเท่าที่ควร! นึกฝันอยากจะได้เครื่องมือตรวจสอบ On Page ที่บอกรายละเอียดสำคัญๆต่างๆให้เราได้ทราบบ้าง อะไรที่มันรวดเร็วทันใจ! ต่อจากนี้ไปปัญหาเหล่านี้จะหมดไปด้วย Add on for Firefox นั้นก็คือ SEO Doctor (คลิ๊กโหลดได้เลยครับ) หลังจากทำการติดตั้ง SEO Doctor เสร็จสมบูรณ์แล้ว เราก็ไปดูขั้นตอนและวิธีใช้งานของ Add On ตัวนี้ว่ามีทีเด็ดและลูกเล่นอะไรให้เราได้ใช้กันบ้างไปดูกันเลยครับ

4 วิธีเด็ดๆ ที่จะเพิ่มเนื้อหาให้กับเว็บไซต์และบล็อกของคุณ


ประเด็นของเรื่องนี้ก็คือ ยิ่งเรามีหน้าเว็บเพจมากก็ยิ่งได้เปรียบครับ (เหมือนที่เว็บปั่นมันทำกันไงครับ ปั่นจนเครื่องพัง อิอิ) แต่…อย่าพึ่งดีใจว่า (เด๋วจะปั่นออกมาเยอะๆเลย หุหุ) เพราะอะไรครับ…เพราะเว็บเพจที่ไม่มีเนื้อหาคุณภาพ ก็เปรียบเสมือนเว็บเพจว่างเปล่าครับ แถมจะเป็นผลร้ายอีกด้วย(น้าน บอกแล้วว่าอย่ากระยิ่มดีใจไป ฮ่าๆ)
งั้นเรามาเข้าเรื่องกันเลยแล้วกันนะครับ “4 วิธีเด็ดๆ ที่จะเพิ่มเนื้อหาให้กับเว็บไซต์และบล็อกของคุณ ฉบับ นาย ทรงชัย”
Content for Your SEO
Content ! ใช่แล้วครับ คอนเทนท์ หรือเนื้อหา นั่นแหละครับอันเดียวกัน ด้วยวงการของการสร้างเว็บไซต์ หรือการสร้างบล็อก เนื้อหา หรือ Content จะเป็นเหตุผลของการจูงใจ (มัดใจว่างั้นเถอะ) ให้คนที่เคยเข้าชมเว็บไซต์หรือบล็อกของเราย้อนกลับเข้ามาอีก อาจจะติดใจในเนื้อหาที่มีประโยชน์(และไม่มีประโยชน์ เอ๊ะชักงงๆ หุหุ) หรืออาจจะชอบบริการของเว็บไซต์เราก็ได้ จริงๆหลายๆคน คงจะได้ยินประโยคนี้กันมาบ้างนะครับ “Content is King and Links is Queen” ผมแปลแบบ บ้านๆเลยนะครับ ว่า คอนเทนท์คือตัวพ่อ ซึ่งเป็นผู้นำและมีความสำคัญมาก ส่วน Link ลิงค์ของตัวแม่ที่มีความสำคัญเช่นกัน เป็นผู้ชักใย (หุหุ ผู้นำพาความยิ่งใหญ่มาอีกที) โดยจะขาดตัวพ่อหรือตัวแม่ มิได้ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงตัวพ่อกันก่อนครับ ไปลุยกันเลย เย้ๆๆๆ

Submit คืออะไร

การ Submit คืออะไร 


ตอบแบบฟันธง กำปั้นทุบดินการ Submit คือการทำ Off-page ด้วยการสร้าง Backlink ตอบ แบบวิชาการที่ไม่เข้ากะหน้าตาเลยว่า การ Submit เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเพิ่ม Backlinks ให้แก่เว็บไซต์ของเรา คือการ Submit เว็บไซต์ของเราเข้า Web Directories นั่นเอง ปกติแล้ว Web Directories จะมีส่วนรองรับการ submit โดยตรงอยู่แล้ว แต่บาง web directories เป็นแบบที่เราต้องเสียเงิน (Paid Directories) บาง web directories เป็นแบบให้แลกลิ้งค์ (Reciprocal Directories) อย่างไรก็ตาม ยังมี web directories ไม่น้อยที่ให้เราสามารถ submit เว็บไซต์ของเราเข้าไปฟรี ๆ ซึ่ง Free Directories นี่แหละครับที่ SiamSubmit แนะนำ เพราะเราจะได้ One-Way Link เข้ามาหาเว็บคุณ ใน keywords หรือ keyphrases ที่คุณต้องการ ในจำนวนที่มาก และประหยัดที่สุด อีกทั้งการมีลิ้งค์เข้ามาหาเว็บคุณจะมาจากหลายโดเมน หลายประเทศ ซึ่งกระจายหลาย Class C IP ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า การมีลิ้งค์มาจากหลาย Class C IP จะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้เว็บของคุณอย่างไม่ต้องสงสัย โดยที่เราไม่ต้องทำ Link กลับไปให้เขาเลยแต่ณ. ขณะนี้การSubmit ไม่ใช่ การ Submit Web Directories อย่างเดียวอีกต่อไปแล้วนะครับ ยังมีการ Submit อีกหลากหลายแบบ ซึี่งผมจะสรุป ความหมายและ ประโยชน์ของการซัพมิตแต่ละแบบให้ในกระทู้นี้นะครับ


Submit Directory เว็บไดเร็คทอรี่เปรียบได้กับสมุดหน้าเหลือง หรือสมุดโทรศัพท์ จะเป็นเว็บที่เก็บรายชื่อเว็บต่าง ๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งสมัยก่อนนั้น Search Engine ยังไม่รุ่งเรืองเหมือนสมัยนี้เวลาเราอยากจะใช้งานเว็บไซต์เพื่อหาข้อมูลเรา ต้องไปที่เว็บไดเร็คทอรี่ต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อสืบค้นข้อมูลตามหมวดหมู่ที่จัดไว้ให้ยกตัวอย่างเช่น
- http://www.dmoz.org/
- http://dir.yahoo.com/

สำหรับการซัพมิตประเภทนี้เป็นการซัพมิตที่ต้องรอทาง เจ้าของ Web Directory ตรวจสอบ Website เราก่อน และให้เค้า Approve ให้เราครับดังนั้นกว่าจะได้ Backlink กลับจากการ Submit ประเภทนี้นั้นต้องใช้ิเวลาพอสมควรครับ เนื่องจากว่าเมื่อ Admin Web Directory Approve ให้เราแล้วก็ต้องรอให้บอทของSearchEngineมาเก็บข้อมูลอีกก็รอกันไปการ Submit Web Directory มีประโยชน์ที่ลิงค์ที่ได้นั้นค่อนข้างมีคุณภาพ (ยิ่งถ้าเป็นเจ้าดัง ๆ อย่างตัวอย่างด้านบนนั้น เว็บมาสเตอร์ทั่วโลกถวิลหาเชียวล่ะ) ลิงค์ที่ได้จะอยู่ทนอยู่นาน ไม่ห่างหายจากเว็บเราง่ายๆ


2. Submit Social Bookmark การซัพมิตแบบนี้เป็นการประยุกต์ใช้ของบรรดา เหล่า Webmaster เองครับ โดยปกติเว็บ Social Bookmark นั้นไม่ได้ไว้ใช้สำหรับสร้าง Backlink โดยปกติหน้าที่ของมันคือ เว็บไซต์ที่เปิดให้ user ทั่วไปที่เป็นนักท่องเว็บไซต์ เข้าใช้งานและเก็บหน้าที่ชอบไว้เหมือนกับ การใช้งาน Favorites ของ IE และ Bookmark ของ Filefox เมื่อเวลาที่ User เหล่านั้นไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่ของตัวเอง แล้วต้องการเข้าใช้งาน เว็บที่ bookmark ไว้ก็จะเรียกเอาจากเว็บไซต์ที่ให้บริการ Social Bookmark
แต่เมื่อเว็บ มาสเตอร์หัวใสได้ลองใช้งาน และเห็นว่าเว็บไซต์ประเภทนี้ส่งลิงค์แบบ Dofollow ให้ จึงเกิดการซัพมิตเพื่อเอา backlink Dofollow ขึ้น เว็บไซต์ประเภทนี้ยกตัวอย่างได้แก่

http://digg.com
http://delicious.com
http://dekdigg.com

(สำหรับเว็บไซต์ประเภทนี้เขียนด้วยสคริปต์ Pligg ดังนั้นควรเรียกเว็บ pligg มากกว่า แต่ไม่รู้ทำไมคนไทยเรียกเว็บดิ๊ก) เนื่อง จากว่าเว็บไซต์ประเภทนี้จะมีคนมาซัพมิตอยู่ตลอดเวลาส่งผลให้ หน้า Index นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ทำให้ Bot ของ Search Engine ชอบเว็บไซต์ประเภทนี้มากแวะเวียนมาบ่อย ๆ (ผมเคยทำเว็บ Pligg นี่เหมือนกัน บอทมาเยี่ยมเว็บผมทุก 30 วินาที) Backlink ที่ได้จากการ Submit Digg Pligg นี้ จะเป็นประเภท มาเร็ว ดันอันดับเร็ว แรง แต่ Backlink ที่ได้ก็จากไปเร็วเช่นกัน ดังนั้น การซัพมิต และ Backlink ประเภทนี้ผมจึงจัดให้เป็นแบบไม่ยั่งยืนมาไวไปไวเหมาะสำหรับเรียกบอทและทราฟฟิคเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น



http://www.question.in.th/answer_view.php?id_ques=32

ร่วมเป็นสมาชิก Blogseothai คุณคือตัวจริง !