Digg เหล่านี้มีไว้ทำไม รวม blog ฟรี


รวมเว็บ Digg สัญชาติไทย


Digg เหล่านี้มีไว้ทำไม

คำตอบคือมีไว้ให้เรานำเว็บที่เราทำขึ้นมาใหม่ๆ หรือเว็บเก่า ไปฝาก Link ไว้ที่เว็บเหล่านี้จะช่วยให้อันดับของเว็บเราดีขึ้นครับ
ที่เคยแจกไว้ใน http://www.seoweb.in.th/directory-website/list-directory-thai.htmlมีลิ้งค์ตาย ลิ้งเสียเยอะครับ แต่ก็แจกไว้เยอะเหมือนกัน ใครมีเวลาก็คัดเองได้ครับ
ส่วนด้านล่างนี้ ผมคัดและหาใหม่เพิ่มเองกับมือครับ เลยดูน้อยไปนิด ( ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2554)
และถ้าเว็บที่คุณทำ Keyword หรือคู่แข่งไม่ค่อยแข็ง เพียง Link ที่ผมคัดมาก็ทำให้คุณอยู่อันดับ 1  ได้สบายเลยครับ

WordPress Plugin SEO ทำให้ URL ภาษาไทย


WordPress Plugin SEO ทำให้ URL ภาษาไทยยาวๆและยาวๆ


ไปเจอ WordPress Plugin ที่ช่วยให้คนใช้ WordPress ภาษาไทย ปกติถ้าสังเกตุดูเวลาที่เราพิมพ์บทความใหม่ ถ้าชื่อบทความเป็นภาษาไทย ตรงช่อง URL จะขาดไปเยอะมากเหลือไม่กี่ตัว เราแก้ปัญหาได้โดยคนไทยครับ เขียน Plugin เอง คุณสมบัติของ WordPress Plugin ตัวนี้มีดังนี้
บทความด้านล่างเป็นของเว็บ “http://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,205374.0.html”

WordPress Plugin คืออะไร


WordPress Plugin คืออะไร

 คืออุปกรณ์เสริมความสามารถให้กับ WordPress ในแต่ละด้านซึ่งมีมากมายหลายพันตัว แล้วแต่จะเลือกใช้ และขอบอกว่าส่วนมากแล้วให้ใช้ฟรีๆ แต่ต้องศึกษาวิธีใช้กันเองหรือบางที่อาจมีแนะนำวิธีใช้ให้ ถ้าคุณยังนึกไม่ออกผมแนะนำให้อ่านต่อด้านล่างครับ ว่า Plugin แต่ละตัวเสริมความสามารถด้านไหนบ้าง ถ้าเราต้องการใช้งานด้านไหนเราก็เลือกเฉพาะด้านไป

รายชื่อ Plugin บางส่วน (ผมเลือกมาเฉพาะที่จำเป็นและเป็นที่นิยมนะครับ ส่วนคุณจะหาเพิ่มเองก็หาได้ในhttp://wordpress.org/extend/plugins/ คุณจะเห็นว่ามีมากมายจริงๆ)
1. All in One SEO Pack เป็นตัวจัดการด้านการโปรโมตเว็บไซต์ให้แรงแซงคู่แข่งทางธุรกิจง่ายๆ Optimizesyour WordPress blog for Search Engines (Search Engine Optimization).
2. Contact Form 7 ปัจจุบันรองรับภาษาไทย 100 % ช่วยจัดการหน้าติดต่อคุณได้ง่ายๆ โดยเมื่อติดตั้ง Plugin ตัวนี้แล้วคุณสามารถให้ลูกค้าหรือผู้ชมเว็บไซต์คุณ สามารถส่งข้อความถึงคุณทางอีเมล์ได้ทันที คุณจะไม่พลาดการติดต่อจากลูกค้าเลยครับ (ถ้าคุณเช็คเมล์ประจำ)
3. Google Analyticator ตัวช่วยติดตั้งโค้ด Google Analytic ที่ได้จากการสมัครใช้บริการของ Google เพื่อเก็บสถิติเข้าใช้งานเว็บไซต์
4. Google XML Sitemaps ไว้สร้างไฟล์ sitemap ในรูปแบบ XML โดยอัตโนมัติ เมื่อมีการโพสต์ข้อความใหม่ หรือหน้าใหม่
5. WP-Polls ตัวช่วยในการสร้างโพลล์ สำรวจความคิดเห็นของผู้ชมเว็บไซต์
6. WP-PageNavi ใช้ในกรณีที่ต้องการแบ่งหน้าการเข้าชมเว็บไซต์หลายๆ หน้าให้เป็นตัวเลขกำกับเลขหน้า
7. LightBox ไว้ซูมภาพให้ดูกันชัดๆ เหมือนเว็บผมที่ใช้อยู่
8. TinyMCE Advanced ตัวนี้ช่วยให้คุณเขียนเนื้อหาเป็นเรื่องง่ายๆ เหมือนใช้ Microsoft Word
9. WP-PostViews ใช้แสดงบทความที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเรีียงตามความฮิตของแต่ละบทความ
10. Easy Facebook Like Button เมื่อผู้ชมอ่านบทความแล้วรู้สึกชอบและผู้ชมคนนั้นเป็นสมาชิก Facebook ก็สามารถ กดปุ่มชอบ ได้ทันที และบทความที่กดชอบนี้ก็จะกระจายไปใน Facebook ของเพื่อนๆ ได้โดยง่ายเป็นการโปรโมทเว็บไซต์ที่ดีและไม่ต้องลงทุนมากครับ
11.Facebook Comments for WordPress ใช้ทำเป็นกล่องไว้ให้ผู้ชม comment ในเว็บเราครับ จะอยู่ด้านล่างของแต่ละหน้า ลองศึกษาดูจากเว็บที่อยู่ของ Plugin ตัวนี้เลยครับ
และยังมี WordPress Plugin เกี่ยวกับ Facebook อีกมากมาย ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ ในนั้นจะมีวิธีใช้งานอย่างละเอียดให้เราได้อ่านด้วยครับ



ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำเว็บไซต์ดัวย WordPress 
ผมอยากให้ลองศึกษาโครงสร้าง
ของบทความว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง
WordPress จะมีรูปแบบการเผยแพร่บทความอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบคือ

1. โพส Post (บทความทั่วไป) จะมีหมวดหมู่บทความ (Categrries) คลุมอยู่อีกชั้นหนึ่งเพื่อง่ายต่อการหาเนื้อหาที่คล้ายๆ กัน
2. Pages (บทความเหมือนบทความทั่วไป แต่นิยมเขียนแยกเป็นหน้าไม่ขึ้นกับหมวดหมู่ใดๆ)

จะเริ่มยังไง?
1. สร้างหมวดหมู่ก่อน Categories  ใน 1 เว็บไซต์คุณต้องคิดโครงสร้างคร่าวๆ ก่อน ว่ามีหมวดหมู่อะไรบ้าง โดยทั่วไป 1 เว็บจะมีประมาณ 3 หมวดหมู่ขึ้นไป เช่น ทำเรื่อง wordpress
หมวดหมู่ที่เตรียมไว้ก็น่าจะมี
1.1 พื้นฐานเวิร์ดเพรส
1.2 WordPress Theme
1.3 WordPress Plugin
** คุณอาจจะเริ่มโดยการเขียนบทความก่อน แล้วจึงสร้างหมวดหมู่ก็ได้ ซึ่งในขณะที่กำลังเขียนบทความนั้น สังเกตุด้านขวามือจะมีแถบเมนูที่ชื่อ Categries
และจะำมีหมวดหมู่ที่ระบบสร้างไว้ให้คือ Uncategories หมายถึงอื่นๆ ไม่เข้าพวก
เราก็สร้างใหม่จากตรงนี้ได้เลย โดยคลิกเลือก + Add New Category
จะมีช่องให้กรอกชื่อหมวดหมู่ที่ต้องการได้เลย และคลิก Add New Categories

2. เริ่มเขียนบทความ Post  โดยนำเนื้อหาที่เตรียมไว้มาเขียน โดยที่หน้า Dashboard ของ Admin ไปที่เมนู Post >>> Add New
และิริ่มต้นเขียนโพสได้เลย
การแทรกรูปภาพให้เราลองสังเกตุปุ่ม Upload/Insert   ที่อยู่ตรงกลางด้านบน ตอนที่เรากำลังเขียนบทความหรือโพส
คลิกที่รูปที่อยู่ข้างๆ ปุ่ม Upload/Insert   ได้เลย สามารถเลือกขนาดภาพได้ ลองเล่นดูนะครับ

3. เขียนหน้า  Page  หน้าเขียนเพื่ออะไร ทำไมต้องเขียนหน้า?
หน้า หรือ Page มีไว้เพื่อเขียนประวัติ, หน้าติดต่อเรา, หน้าที่ตั้้งของเจ้าของเว็บไซต์, อื่นๆ ที่เป็นข้อมูลที่ตายตัวไม่เข้ากับหมวดหมู่อื่น
ตัวอย่างเว็บ WPsmile.com จะมีหน้าดังนี้
หน้าติดต่อเรา
http://www.wpsmile.com/contact-1

หน้า ส่งหัวข้อที่อยากรู้เกี่ยวกับพื้นฐาน WordPress
http://www.wpsmile.com/wordpress-how-to-request

หน้า ใครคือ WPsmile
http://www.wpsmile.com/about-wpsmile

ที่เหลือจะเป็นโพสแยกตามหมวดหมู่ครับ

ติดตั้ง WordPress แล้วทำยังไงต่อ

หลังจากติดตั้ง WordPress แล้ว ก่อนที่เราจะเขียนบทความกัน เราต้องตั้งค่าเบื้องต้นให้กับเว็บไซต์ของเราก่อนครับ การตั้งค่าเบื้องต้นหลังจากติดตั้ง WordPress ที่จำเป็นก็มีไม่กี่อย่างครับ
เป็นการตั้งค่าพื้นฐานที่จำเป็นก่อนนะครับ ส่วนชั้นสูงขอยกไปโพสต่อไปละกันครับ

1. General Settings

เป็นการตั้งค่าพื้นฐานขั้นแรกๆ ครับ วิธีทำก็ไปที่  Settings(ที่หน้าควบคุมหรือ Dasboard)>>>General
จากนั้นกรอกรายละเอียดเว็บของเราลงไป
Site Title: สโลแกนของเว็บเราครับ แบบสั้น
Tagline: ส่วนนี้จะเป็นคำอธิบายเว็บครับ
WordPress address (URL):กำหนด url ของ wordPress ถ้าเปลี่ยนตรงนี้ก็จะเป็นต้องย้ายไฟล์ที่เกี่ยวข้องไปด้วยครับ แต่ถ้าเติมแค่ คำว่า www ไว้ข้างหน้าโดเมนเราก็ไม่มีปัญหาครับ
Site address (URL): ที่อยู่สำหรับผู้ชมเว็บไซต์ของเราครับสามารถเติม คำว่า www ไว้ข้างหน้าโดเมนเราก็ได้ครับ แล้วแต่ชอบ
E-mail address : E-Mail ของเว็บมาสเตอร์ครับ
Membership: ถ้าติกถูกตรงนี้ก็หมายถึงอนุญาตให้มีการสมัครสมาชิกของเว็บเราได้
New User Default Role: กำหนดว่าถ้ามีการสมัครแล้วจะกำหนดให้เข้าถึงได้ในระดับใด(ค่าตั้งต้น)
ส่วนมากเพื่อความปลอดภัยจะกำหนดให้เป็นแค่ Subscriber เป็นผู้รับข่าวสารจากเราเท่านั้น
Timezone: กำหนดเวลาเป็น +7 เวลาประเทศไทยครับ
และก็กด Save Changes

2. Writing Settings

ขยาย บรรทัดการพิมพ์โพส จาก 10 เป็นประมาณ 50 หรือ 60 แล้วแต่ชอบครับ ตรงนี้จะขยายช่องการโพสเนื้อหาครับให้ใหญ่ขึ้นเราจะได้มองภาพรวมง่ายๆ ครับ วิธีทำก็ไปที่ Settings>>>Writing>>>Size of the post box กำหนดตามชอบครับประมาณ 50 กำลังเหมาะ

3.  Settings

เปลี่ยน Link ของ บทความเพื่อเหตุผลด้าน SEO และความสวยงาม ซึ่งถ้าไม่เปลี่ยนตรงนี้ เวลาที่เราคลิกอ่านแต่ละโพสมันจะขึ้นแบบนี้   http://www.โดเมนเนม/?p=123
ถ้าเปลี่ยนแล้วจะเป็นประมาณนี้ครับ “http://www.wpsmile.com/ทำไมต้องใช้-wordpress.html”
วิธีทำก็ไปที่ settings>>>Common settings>>>ตรง Custom Structure ให้เป็นเป็น
/%postname%.html
การตั้งค่าพื้นฐานก็มีเพียงแค่นี้ครับ จริงๆ ทำแค่ข้อ 1 ก็น่าจะเพียงพอแล้วครับ (แล้วแต่ความชอบครับ)

ร่วมเป็นสมาชิก Blogseothai คุณคือตัวจริง !