แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การตลาด แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การตลาด แสดงบทความทั้งหมด

SEO ให้ Blogspot เพื่ออันดับบล็อกการตลาดที่ดี Blog Marketing


Search engine ทุกแห่งต่างพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ การพัฒนานั้นย่อมเกิดกระบวนการใหม่ขึ้นมา ส่วนตัวนั้นผมจะให้ความสำคัญกับการทำ Onpage มากๆ บทความนี้จึงเป็นการนำความรู้เกี่ยวกับ Onpage ที่เกิดจากการติดตามผล สังเกตุ และวิเคราะห์ ความสำคัญของ Onpage ของ Google Bot สรุปออกมา เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการ์ณที่เหล่า SEO ได้เจอมาครับ
จากการสังเกตุนั้นพบว่า Google ได้มีการให้คะแนนในฝั่ง Onpage เช่นเดียวกับการให้คะแนนในฝั่งของ Offpage (ที่เรียกว่า PageRank) ส่วนตัวผมได้เรียกคะแนนนั้นว่า ค่า “Priority”
Priority คือ ค่าการประเมินผลของการปรับแต่ง Onpage ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีกี่ระดับ แต่จากการทดสอบนั้นพบว่ามันแบ่งออกเป็นสามระดับ ค่านี้ไม่แปรผันกับ PR (PageRank) อาจแบ่งได้ดังนี้
  1. Basic Priority คือการปรับ Onpage เพื่อรองรับการทำ SEO ทั่วไป โดย  Basic Priority นั้นจะเป็นค่าในระดับเริ่มต้น ซึ่งเกิดจากการปรับ  URL Title หรือ Meta (อธิบายเพิ่มเติม) ส่งผลให้ Bot สามารถเข้าใจว่า Content นั้นคือ Content อะไร ซึ่ง Bot ก็จะนำไปวิเคราะห์ Offpage เพื่อทำการจัดอันดับต่อไป
  2. Medium  Priority คือการปรับ Onpage เพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพการทำ SEO หลักการของการปรับ Onapge ใน Medium  Priority นั้นก็เพื่อทำให้ Bot ทำงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งการเพิ่มประสิทธิ์ภาพนั้นจะมีหลายวิธีการดังตัวอย่างต่อไปนี้
    • มี Sitemap เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์ (ในกรณีที่เว็บไซต์มีขนาดใหญ่) ทำให้ Bot ทำงานได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้นในการ Crawl แต่ละครั้ง อีกทั้งยังทำให้ Content ใหม่ในเว็บไซต์ที่ Post ไป Index อย่างรวดเร็ว
    • มี Breadcrumbs เพื่อเป็นการบอกตำแหน่งของ Content นั้นๆ ทำให้ Bot เข้าถึงตำแหน่งต่างๆ ของ Content ได้ถูกต้องตาม Site Structure ที่วางไว้
    • มีการทำ Web Site Optimization เพื่อเพิ่มความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ ทำให้การเข้ามา Crawl หนึ่งครั้งในเว็บไซต์เก็บข้อมูลได้มากขึ้นกว่าเดิม
    • ผ่านมาตรฐาน W3C Validation เพื่อเป็นตัววัดคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO
  3. High Priority คือการปรับ Onpage เพื่อผู้ใช้เป็นหลัก โดยพิจารณาการจัดอันดับจาก “คุณภาพผู้เข้ามาใช้งานเว็บไซต์” ซึ่ง Google เริ่มที่จะให้ความสำคัญมากขึ้น หลักการก็คือเว็บไซต์ใดก็ตามที่มีผู้ใช้เข้ามาใช้งานมากและนาน Google จะจัดอันดับให้เว็บไซต์นั้นสูงขึ้น
    หากตามไปเจอเว็บไซต์ที่ Backlinks น้อย Density มีปริมาณที่แปลกๆ อาจจะน้อยเกินไปหรือมากเกินไป แต่สามารถอยู่ในอันดับที่ดีๆ ได้ตั้งข้อสันนิฐานได้ว่าเว็บไซต์นั้นอาจจะเป็น High Priority เว็บนั้นเอง
    ขยายความคำว่า “คุณภาพผู้เข้ามาใช้งานเว็บไซต์” สักหน่อย คุณภาพผู้ใช้นั้นก็เสมือนกับเป็นกระจกส่งถึงคุณภาพของเว็บไซต์ เมื่อเว็บไซต์ดี มีเนื้อหาไม่ซ้ำใคร (Unique Content) เว็บไซต์สามารถ Present ตัวเองได้ดีกว่าเว็บไซต์คู่แข่ง เมื่อผู้ใช้เข้ามาเจอเว็บไซต์ของคุณก็อยากจะกลับมาอีก (Traffic Return) เว็บไซต์ของคุณถูกแนะนำและบอกต่อผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำลิงค์มาจาก Blog มาจาก Web Sites มาจาก Social network/Social media  สิ่งเหล่านี้มันสะท้อนไปถึงคุณภาพนั้นเอง ไม่ว่าเว็บไซต์ของคุณจะอยู่อันดับที่เท่าไร เขาจะคลิกเว็บไซต์คุณเข้ามาใช้งาน และใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์คุณนานกว่าเว็บไซต์คู่แข่ง และนั้นเองทำให้ Google Bot นำไปประเมินอันดับที่คุณควรจะได้
“Content is King” คำนี้เป็นคำที่เราคุ้นเคยกันดี อย่าลืมว่าผู้เสพ Content ไม่ใช่ Bot แต่คือคน จึงขอเสนอคำอีกคำ นั้นก็คือ “User is King” ซึ่งน่าจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ยังยืน และเมื่อถึงจุดอิ่มตัวของการทำ SEO คุณก็อาจจะไม่จำเป็นต้องสนใจ SEO อีกต่อไป
สุดท้ายนี้บทความนี้เขียนขึ้นมาจากการทดสอบ สังเกตุ สรุปผล โดยนำประสบการ์ณส่วนตัวมาวิเคราะห์ ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดใดๆ ก็ตาม จึงน้อมรับฟังความคิดเห็นของทุกท่านมา ณ ที่นี้ เพื่อให้ได้ซึ่งความรู้ที่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ต่อไป


วันนี้ผมจะมาแนะนำให้ทุกท่านทราบถึงลักษณะโครงสร้างที่ดีของ SEO ซึ่งทุกๆเรื่องที่ผมพูดไปนั้น ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการจัดอันดับทั้งสิ้น ทั้งนี้หากลักษณะโครงสร้างของเว็บเราดีแล้ว มันจะทำให้การทำอันดับของเราง่ายขึ้นมาก ๆ ครับ บ้างครั้งไม่ทำอะไรเลย ปรับแค่โครงสร้างของสามารถขึ้นไปอยู่ในหน้า 1 ได้เลยครับ ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า ทั้งหมดที่ผมจะกล่าวไปนี้ปัจจุบัน Search Engines ไม่ได้นำไปจัดอันดับแล้วนะครับ แต่มันก็ยังมีความสำคัญต่อการทำ SEO อย่างมากเลยละครับ
มาดูกันดีกว่าครับว่าลักษณะโครงสร้างที่ดีของ SEO นั้นเป็นอย่างไร ดูที่รูปก่อนนะครับ
ลักษณะโครงสร้างที่ดีของ SEO
[ SEO ] ลักษณะโครงสร้างที่ดีของ SEO
  1. Title ต้องมี Keyword ที่ค้นหา ซึ่ง Title คือส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้าง อีกทั้งยังปรับโครงสร้างได้ง่ายที่สุด นี้เป็นตัวอย่าง Code ครับ
    <title>Sutenm.com » Blog Archive » วิธีเช็ค Index ใน Domain และ SubDomain ของโดเมนนั้นๆ</title>
  2. Meta Description ต้องมี Keyword ที่ค้นหา Meta Description ก็คือคำสั่งในภาษา HTML ที่ประกาศไว้ภายใน Hearder Tag หรือภายในคำสั่ง <head></head> นั้นเองครับ ความยาวของ Description ไม่ควรเกิน 200 อักษรครับ หากยาวไปมันก็จะไม่แสดงผลนั้นเองครับ นี้เป็นตัวอย่าง Code ครับ

    <meta name=”description” content=”วันนี้ผมมจะมาแนะนเรื่องวิธีเช็ค Index ใน Domain ของเราครับ เช่นโดเมนของผมคือ www.sutenm.com และมี SubDomain คือ” />

    ซึ่งการปรับแต่ง Description นั้นไม่มีผลกระทบกับตำแหน่งของคุณใน Search Engines ครับ แต่มันคือส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ที่ค้นหาทราบว่าในเว็บของเรามีอะไร(แน่นอนว่าในบทความของเราจะต้องมี Keyword คำที่ค้นหาอยู่ด้วยครับ) ซึ่งส่วนมากมักจะกำหนดให้มันเป็นแบบ Static คือกำหนดคำที่เราต้องการให้โชว์ใน Search Engines เข้าไปเลย ซึ่งมันก็แล้วแต่ลักษณะความต้องการของเราอีกทีครับ แต่หากเราไม่ใส่ Description ไปนั้นใน Google มันจะไป Random Description มาให้เราครับ ซึ่งในเว็บนี้ผมก็ไม่ได้ใส่ไว้ครับ
  3. URL ต้องมี Keyword ที่ค้นหา หรือบางท่านอาจจะเรียกว่า URL Structure ครับ สำหรับวิธีปรับแต่ง URL ให้เป็น URL Structure นั้นจะใช้วิธีการเขียน .htaccess ไฟล์ไปวางใน Root Directory ครับซึ่ง Hosting ที่เราใช้บริการอยู่จะต้อง Support htaccess ด้วยนะครับ
  4. Meta Keyword คือ Keyword ที่เราต้องการเน้นในหน้านั้น ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเนื้อหาในเว็บของเรา หากมีคนค้นหาใน Keyword นั้น ๆ แล้วต้องการให้เว็บของเราแสดงออกมา ซึ่งเราสามารถใส่ได้หลายๆ คำโดยใช้่เครื่องหมาย , คั่นครับ
    <meta name=”keywords” content=”Check Index, Domain, Site:, SubDomain, เช็ค Index” />
ทั้งหมดที่กล่าวมันนั้นคือลักษณะโครงสร้างที่ดีของ SEO นะครับ ซึ่งส่วนสำคัญคือ 3 ข้อแรกครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเว็บของเราโครงสร้างไม่ดี ก็ใช่ว่าจะขึ้นไปอยู่ในอันดับดี ๆ ไม่ได้นะครับ แต่หากเราปรับโครงสร้างเว็บของเราแล้วจะทำให้การทำ SEO ขึ้นตอนต่อไปมันง่ายขึ้นอีกเยอะครับ





กลับมาว่ากันด้วยเรื่องของการทำ SEO ให้กับ Blogspot ของเรากันบ้าง จากครั้งก่อนที่ว่าด้วยเรื่อง บล็อกการตลาด เริ่มอย่างไร ทำอย่างไร ให้เป็นบล็อกการตลาด ไป และกล่าวถึงความสำคัญของการทำ SEO ให้ Blogspot ของเรา สำหรับวิธีการทำ SEO หรือ Search Engine Optimization ให้กับบล็อกการตลาดของเราในที่นี้นั้น ผมเขียนจากวิธีการทำในแบบของผมเองนะครับ

หากท่านใดอ่านแล้วมีวิธีเด็ดกว่า หรือ มีเทคนิคเคล็ดลับที่บอกเล่าเก้าสิบได้ ก็สามารถบอกเล่ากันได้ถึงวิธีของท่าน เพื่อให้เพื่อนๆ ที่สนใจการทำ SEO บล็อกการตลาดได้เข้ามาศึกษากัน เป็นวิทยาทานครับ สำหรับผมเองมีการทำไม่กี่ขั้นตอนง่ายๆ ครับ

เอาล่ะ... หากพร้อมแล้วเรามาเริ่ม การทำ SEO ให้ Blogspotเพื่ออันดับบล็อกการตลาดที่ดี ในแบบฉบับของผมกันเลยดีกว่า...

กลยุทธ์การทำการตลาดInternet


สำหรับวันนี้นะครบก็มี Tip เด็ด ๆ มาฝากกัน เป็น กลยุทธ์การทำการตลาดบนเวปไซท์
1. หาเว็บไซต์อื่นที่จะฝากลิงค์ของเรา
2. ใส่ไตเติ้ลโดยใช้คีย์เวิร์ดที่สำคัญในทุกๆหน้า
3. ใช้ Meta Tags ในการเขียนโค้ด HTMLของคุณ
4. ลงชื่อเว็บไว้ในเสิร์ซเอ็นจิ้น
5. ใช้การลงทะเบียนสมัครแบบแยกส่วนเว็บไซต์

6. ให้ทำร่างแผนการทางการตลาด
7. ทำโครงการ “10 สุดยอดเว็บ” ในเว็บไซต์ของเรา
8. จัดทำแผนปฏิบัตรงานและปรับปรุงเว็บของคุณทุกวัน
9. ให้บริการใหม่ๆ เช่น อีเมล์ฟรี
10. สร้างโลโก้ที่โดดเด่นให้เว็บไซต์ของคุณ
11. สร้างสโลแกนที่น่าประทับใจ
12. กำหนดกลยุทธ์ในการสร้าง฿าพลักษณ์
13. นำตราสินค้าไปใช้ทุกๆหน้าบนเว็บไซต์
14. วางแผนสำหรับการสร้างรายชื่อเว็บไซต์ สำหรับการทำโครงการแลกเปลี่ยนแบนเนอร์ (Banner Exchange)
15. พยายามเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนความคิดในกลุ่มสนทนา
16. เปลี่ยนคำว่า “File Not Found” เป็นคำที่ใช้ในการตลาดของคุณ
17. ใส่รายละเอียดเรื่องนโยบายสิทธิส่วนบุคคลและยึดมั่นอยู่เสมอ
18. สร้างเว็บไซต์อีกแห่งหนึ่ง เพื่อช่วยทำการตลาดให้แห่งปัจจุบัน
19. สร้างเครือข่ายให้เว็บไซต์ของคุณ
20. สร้างพันธมิตรทางกลยุทธ์ต่างๆ
21. ตอบอีเมล์ที่เข้ามาหาคุณอย่างสม่ำเสมอ
22. จัดให้มีการประกวดหรือแข่งขันต่างๆ
23. จัดทำจดหมายข่าวทางอีเมล์(E-Newsletter)
24. จัดทำบริการข่าวสารประจำวันทางอีเมล์
25. จัดทำรายการสมานาคุณแก่ผู้เข้าร่วม
26. วิเคราะห์เลือกไฟล์(Log Files)
27. จัดทำวารสารข่าว(Press Release)
28. จัดทำ”ชุดข่าว”(Press Kit)สำหรับสื่อ
29. สมัครอี-ซีน (E-zine)เพื่อประชาสัมพันธ์จดหมายข่าวของคุณสู่สาธารณะ
30. เข้าไปซื้อขายสินค้าในเว็บไซต์สำหรับประมูลเช่น eBay
31. จัดทำโครงการสำหรับ”สุดยอดเว็บ”
32. ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสะดวกสบายเวลาเข้ามาใช้งาน
33. ทำให้การสร้างลิงก์ที่เว็บไซต์อื่น ต้องการลิงก์มายังหัวข้อต่างๆ ในเว็บไซต์คุณที่และง่ายที่สุด
34. สร้างเว็บไซต์ของคุณให้เป็นโฮมเพจของผู้ชม
35. ใส่ลิงก์ลงในรายละเอียดท้ายอีเมล์ของคุณหรืออีเมล์ซิกเนเจอร์(Email Signature)
36. ทำให้มีหน้าวารสารข่าวบนเว็บไซต์ของคุณ
37. สร้างกระดานความคิดเห็นหรือฟอรั่ม(Forum)ในเว็บไซต์ของคุณ
38. ให้บริการรายงานฟรี
39. กันรายได้ส่วนหนึ่งของรายได้จากเว็บของคุณสำหรับทำการตลาด
40. จัดทำ”ข่าวพิเศษ (Scoop)” ให้กับเว็บไซต์ทีมีคนเข้าชมจำนวนมาก
41. ให้รางวัลรายเดือนกับเว็บไซต์ที่นำป้ายของเว็บไซต์คุณขึ้นโฆษณา
42. สำรวจเว็บไซต์ของคุณจากผู้เข้าชม
43. รวบรวมจุดแข็งของคู่แข่งมาเป็นของคุณ
44. ขอให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณ ทำลิงค์มาหาคุณ
45. ขอให้ผู้เข้าชมทำการบุคมาร์ก (Bookmark) เว็บของคุณ
46. ใช้รูป฿าพเพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้ปฏิบัติ
47. สร้างไอคอน(Icon) เฉพาะเวลาบุ๊คมาร์ก
48. เขียนบทความลงในเว็บไซต์อื่นๆ
49. เสนอบทความของคุณสำหรับให้ผู้อื่นไปเผยแพร่ได้
50. จัดวันสำคัญสักวัน เป็นวันพิเศษสำหรับผู้เข้าชม
51. ทำการตลาดให้เว็บไซต์ของคุณ โดยใช้เว็บไซต์ขของคุณเอง
52. หาเหตุผลที่จะบอกผุ้ชมว่า ทำไม่พวกเขาควรกลับมา
53. เพิ่มบริการการส่งการ์ดอวยพรอิเล็กทรอนิกส์(E-Greeting Card)
54. สร้างและทำการตลาดเว็บ โดยทำหน้าหลักๆหลายๆหน้า
55. ใส่พื้นที่ที่สามารถเล่นเกมส์แบบโต้ตอบลงไปในเว็บไซต์
56. มีการนำเสนอเหตุการณ์สดๆ ผ่านแชต(Chat) เช่นการสัม฿าษณ์สด
57. จัดการสัมมนาแบบออนไลน์
58. จัดทำบทความวิจารณ์สินค้าหรือบริการที่เป็นกลาง
59. นำเสนอบทความประวันเจาะลึกทิศทางต่างๆในธุรกิจของคุณ
60. ประกาศ”คำประกาศ฿ารกิจ” (Mission Statement) และยึดมั่น
61. จัดกลุ่มถลกประเด็นแบบออนไลน์(Online Focus Group)
62. เสนอบริการทดลองใช้ฟรี หรือมีการรับรองผล
63. จัดทำรายชื่ออีเมล์ของผู้เข้าชม (Maillinglist)
64. ส่งเมล์สุขสันต์วันเกิด (มีการจับฉลากด้วย)
65. ริเริ่มทำโครงการประกอบการร่วมกัน (Affilate Program)
66. ให้บัตรกำนัลแบบออนไลน์ (Gilf Certificates)(จำกัดเวลา)
67. สร้างแผ่นโฆษณาออนไลน์(Online Brochure)
68. ให้บริการเล่นล๊อตเตอร์รี่ฟรีบนเว็บไซต์ของคุณ
69. สร้างรายชื่ออีเมล์(Mailing List)ของคุณด้วยการใช้การแจกฟรี
70. เตือนผู้เข้าชมเว็บของคุณเมื่อมีการปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์
71. ให้บริการข่าวสาร จากแหล่งข่าวสารต่าง ๆ บนเว็บ
72. การซื้อโฆษณาในจดหมายข่าว(E-mail-Newsletter)
73. แยกเรื่องแต่ละเรื่องออกโดยกับในแต่ละหน้า เพื่อโอกาสที่เสิร์ชเอ็นจิ้นจะค้นพบได้ง่ายขึ้น
74. ทำทัวร์พาผู้เข้าชม เยี่ยมบนเว็บไซต์ของคุณ
75. ทำปฏิทินเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ที่เว็บไซต์
76. ให้ทำดาวน์โหลดฟรี
77. ให้บริการอินสแตนด์เมสเสจ(Imstant Messaging)
78. ประกาศเว็บไซต์ของคุณ
79. สมัครหน้าฟรีสำหรับทุกลิงก์(FFa – Free For All Link)
80. สร้างหน้า FFA ของคุณเอง
81. นำเว็บริงก์(Web Ring)มาใช้งาน
82.เข้าโปรแกรมแลกเปลี่ยนแบนเนอร์(Banner Exchange Program)
83. สมัครเข้าร่วมโครงการประกวดเว็บไซต์
84. ติดต่อกับคนที่ทำลิงก์มาหาคุณอยู่สม่ำเสมอ
85. จัดทำเวทีประกวดความคิด(Disscusion Fprum)
86. เปลี่ยน฿าษาในเว็บไซต์ของคุณเป็น฿าษาอื่น
87. รวมเหตุการณ์ต่างๆไว้ที่เนวิเกชั่นบาร์(Navigation Bar)
88. ซื้อโฆษณาทางเบนเนอร์ที่เว็บไซต์อื่น
89. ใส่ ”บอกต่อเพื่อนๆ” ในเว็บไซต์ของคุณ
90. ใส่ความสามารถในเว็บไซต์ ให้ผู้เข้าชมหน้าเว็บของคุณ
91. ซื้อรายชื่ออีเมล์สำหรับส่งอีเมล์โฆษณา
92. มี(FAQ)และประชาสัมพันธ์ออกไป
93. ใส่กล่องรับความคิดเห็นเข้าไปในโฮมเพ็จของคุณ
94. สร้างโฆษณาด้วย฿าพวีดีโอแบบออนไลน์
95. สร้างสีสันต์ให้เว็บของคุณในเทศกาลวันหยุดต่างๆ
96. ลงชื่อเยี่ยมชมใน “เกสต์บุ๊ค”(Guest Book) ของเว็บไซต์อื่น
97. เข้าร่วมในเปิดร้านในห้างสรรพสินค้าแบบออนไลน์
98. โฆษณาขายสินค้าออนไลน์(Classifild Ad Online)
99. สร้างห้องเช็ทบนเว็บไซต์
100. เป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมทางอินเตอร์เน็ตเช่น การสัม฿าษณ์สดผ่านแชต
101. สร้างสถานีวิทยุของคุณบนเว็บ
102. คุณต้องให้มากกว่าสิ่งที่ผู้เข้าชมคาดหวัง
จากหนังสือ Web Marketing กลยุทธ์ทำการตลาดให้กับเว็บไซต์ โดย Joe Tracy
ที่มา : http://www.docom4u.com/
อ้างอิง : http://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,185867.0.html

ร่วมเป็นสมาชิก Blogseothai คุณคือตัวจริง !