เขียนเว็บ แบบโปร
เว็บไซต์ที่ชัดเจน จะเป็นที่ชื่นชอบของผู้เข้าชม
เมื่อผู้เข้าชมอ่านเว็บคุณ แล้วเห็นการจัดการที่ดีในหน้าเว็บ สามารถอ่านเข้าใจได้ทันที ไม่รู้สึกเสียเวลา
เว็บไซต์ที่ถูกจัดเรียงเนื้อหาให้ชัดเจน
มีผลดีต่ออันดับการค้นหาของเครื่องมือค้นหา
SimpleDifferent ช่วยคุณได้
แท็บเมนูด้านซ้าย ช่วยให้ผู้อ่านมองเห็นสิ่งที่ต้องการค้นหาได้ชัดเจน และสามารถคลิกหน้าต่อไปที่ต้องการได้ทันที ในแต่ละเมนูจะบอกตำแหน่งของเนื้อหาที่คุณได้จัดเตรียมไว้ ทำให้ผู้อ่านเข้าถึงและเข้าใจในเนื้อหานั้นได้ง่าย
เพราะผู้อ่านจะทราบว่ากำลังอ่านเรื่องใดอยู่ จะคลิกเรื่องไหนต่อ...เนื้อหาไม่ซ้ำซ้อน เพิ่มความสะดวกแก่ผู้อ่าน
ตัวคุณไม่ใช่ลูกค้า
สร้างเว็บเพื่อตอบคำถามของผู้อ่าน ไม่ใช่สำหรับคุณ นี่เป็นหลัก พื้นฐานของการสร้างเว็บไซต์
การสร้างเว็บไซต์แบบตามใจฉันนั้น ไม่เป็นผลดีต่อเว็บไซต์ที่คุณสร้าง ควรคำนึงถึงความต้องการของผู้เข้าชมเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อการใช้เว็บไซต์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ระวังข้อผิดพลาดเมื่อเริ่มสร้างเว็บ เรียนรู้การสร้างและจัดการเนื้อหาให้ดี เพื่อเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ
คุณจะพบกับ คำแนะนำดีๆ ในการสร้างเว็บไซต์สำหรับตัวเอง
บริษัท
บริษัท
หรือแม้กระทั่งลูกค้าของคุณ
เราพยายาม อธิบายสิ่งต่างๆ ให้สามารถเข้าใจได้ง่าย โดยได้เรียงลำดับขั้นตอนเพื่อให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
เว็บไซต์จะต้องมีเนื้อหาที่ดี
เรียนรู้แนวคิดการสร้างเนื้อหาที่ดี ที่นี่
แนวคิดพื้นฐาน สำหรับการเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ที่ดี
เว็บไซต์ที่ใช้ในการนำเสนอคืออะไร?
เว็บไซต์ที่ใช้ในการนำเสนอคืออะไร?
คุณสมบัติโดยรวมของเว็บไซต์ ช่วยให้คุณเริ่มต้นสร้างเว็บได้ไม่ยาก:
เว็บไซต์...
- คือแหล่งรวมข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อตอบคำถามของผู้เข้าชม
- คือเครื่องมือ ที่ช่วยให้ผู้เข้าชมเข้าใจได้ง่าย ในเนื้อหาที่คุณนำเสนอ
- คือศูนย์รวมคำตอบ เกี่ยวกับหัวข้อที่ผู้เข้าชมสนใจ
- นำเสนอสิ่งที่คุณเชี่ยวชาญ ถนัด หรือมีความรู้เรื่องนั้นจริง
- นำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ให้น่าสนใจด้วยวิธีการของคุณเอง
- ช่วยในการตัดสินใจเลือก สินค้า หรือบริการ ได้อย่างถูกต้อง
- ข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับคำถาม และความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณ
แล้วคุณล่ะ...คิดว่าเว็บไซต์ที่ดีควรเป็นแบบไหน?
การให้คำจำกัดความที่ดีกับเว็บไซต์คุณ คือ จุดเริ่มต้นสร้างเว็บที่เยี่ยมยอด
ประโยชน์จากการเรียบเรียงเนื้อหาต้นฉบับ
การสร้างเนื้อหาเอง จุดเริ่มต้นของมืออาชีพ
• อย่า! คัดลอก เนื้อหาจากเว็บไซต์อื่น
แม้จะเป็นเว็บคุณก็เถอะ เพราะ Search Engines รู้ จะไม่เป็นผลดีกับเว็บคุณ (การสร้างเว็บเป็นโอกาสที่ดี ทำให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง)
• ทำเนื้อหาให้โดดเด่น เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมมายังเว็บไซต์
เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่ดี ก็ควรค่าแก่การอ่าน การเขียนเว็บไซต์เป็นสิ่งท้าทายความสามารถของคุณ คือต้องทำให้ทั้งผู้เข้าชม และ Search Engines หันมาสนใจเว็บคุณให้ได้ อย่าให้เว็บไซต์คุณ เป็นเพียงลิงค์ที่เข้าเยี่ยมชมแล้วจากไปอย่างไม่สนใจ คุณควรสร้างเว็บ เพื่อแบ่งปันสิ่งที่ดีให้ผู้เข้าชม
• จัดเนื้อหาแบบหน้าต่อหน้า
โดยยึดหลัก "หนึ่งหน้า ต่อ หนึ่งคำตอบ" เพื่อให้ผู้เข้าชมหาคำตอบที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วที่สุด
• เพื่อช่วยให้ผู้เข้าชม เข้าใจเนื้อหาได้เป็นอย่างดี
เลือกใช้คำที่เข้าใจง่าย ให้มากที่สุด และแน่นอน Google ก็สามารถรู้ได้ว่าเว็บคุณเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
..ดูเหมือนว่างเปล่า แต่ไม่ใช่..
เมื่อคุณเขียนเนื้อหาเสร็จ แต่แล้ว คุณก็พบว่า ..มันดูน้อยๆ โล่งยังไงไม่รู้
ไม่ต้องห่วงเพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือ เนื้อหาของคุณอ่านแล้ว เข้าใจง่าย
สั้น กระชับ ได้ใจความก็พอ ไม่มีใครอยากอ่านข้อความที่ยืดยาว
แต่ไม่ได้สาระแน่นอน
พึงระลึกไว้เสมอว่า ผู้เข้าชมจะหาเฉพาะสิ่งที่พวกเขาต้องการทราบเท่านั้น
เพียงคุณ ตรวจสอบให้แน่ใจว่า เนื้อหาที่คุณเขียนครบถ้วน ไม่ขาดสิ่งใด
ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ ขึ้นอยู่กับความ"ถูกต้องชัดเจน"
ความน่าสนใจของเว็บไซต์ คือ การหาคำตอบได้เร็วที่สุด
"เจอเร็ว อ่านง่าย ชัดเจน" เป็นหลักพื้นฐาน ของการเขียนเนื้อหาเว็บไซต์
เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจ หลักการพื้นฐานอย่างง่ายของการสร้างเว็บไซต์ เว็บไซต์นี้ได้อธิบายวิธีเขียนเนื้อหาเว็บไซต์อย่างเป็นลำดับขั้นตอนชัดเจน คุณสามารถศึกษาได้ตามขั้นตอนที่เราได้เขียนแสดงไว้
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อเริ่มสร้างเว็บไซต์
หลีกเหลี่ยงข้อผิดพลาด ที่มักเกิดขึ้นเมื่อสร้างเว็บครั้งแรก
ข้อผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มักเกิดขึ้นกับการสร้างเว็บไซต์ในครั้งแรก
คุณควรหลีกเลี่ยง ความคิดเหล่านี้...
- ฉันคิดว่า ผู้เข้าชมเว็บจะอ่านเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ และจะเข้าใจทั้งหมดในเว็บของฉันอย่างลึกซึ้ง > บางทีคุณอาจคิดผิดก็ได้ เพราะคุณอาจตอบคำถามไม่ตรง ฉะนั้นเราจะพยายามช่วยคุณตอบคำถามของผู้เข้าชม ให้ตรงจุดมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
- ฉันจะเขียนเว็บโดยเริ่มจากหน้าหลัก หรือโฮมเพจก่อน ตามลำดับหน้า ที่ฉันเคยดูจากเว็บอื่น > เริ่มเขียนจากบทสรุปสุดท้าย ทั้งที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไงเนี่ยนะ? จริงๆแล้ว คุณรู้หรือไม่ว่า เว็บไซต์ ต้องเริ่มสร้างเนื้อหาภายในมาภายนอก... ทำอย่างไร? ที่นี่มีคำตอบ
- ฉันจะเลือกรูปแบบ สี อะไรดีนะ > เก็บความชอบส่วนตัวไว้ และคำนึงถึงสิ่งที่ผู้อ่านต้องการเป็นสำคัญจะดีกว่า
- ใส่ภาพที่ฉันชอบ สวยทุกรูปใส่ทั้งหมดนี่แหละ > ขั้นตอนแรกคือ วางโครงเรื่อง > เขียน > แล้วจึงยกตัวอย่าง
- คิดไปเขียนไป > ก้มหน้าก้มตาเขียน ด้วยความปรารถนาดีกับผู้อ่าน แต่หารู้ไม่ว่าหากไม่จัดการเนื้อหาให้ดี ที่เขียนมา อ่านเท่าไหร่ก็งง ไม่รู้เรื่องอยู่ดี
- ฉันชอบเรื่องน้ี ฉันคิดว่าดีนะ น่าสนใจ > เป็นข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นบ่อย เพราะคุณคิดถึงตัวเอง ไม่ได้นึกถึงผู้เข้าชมจริงๆว่าต้องการอะไร
- เว็บไซต์เสร็จแล้ว จะมีคนซื้อของฉันแล้ว > เว็บไซต์ก็เหมือนร้านค้า ต้องค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป แต่เว็บไซต์จะง่ายกว่านิดนึงตรงที่ หากคุณมุ่งเป้าไปที่ความต้องการของลูกค้า ลูกค้าก็จะหันมาให้ความสนใจเว็บคุณไม่ยาก
- เว็บไซต์ฉันเสร็จแล้ว เสร็จซะที > ความจริงแล้ว เว็บไซต์ที่อัพเดทบ่อยๆเท่านั้น จึงจะให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้สร้างมัน
- เขียนเนื้อหาเว็บไซต์ยากจัง > ยากตรงไหน? การสร้างเว็บไซต์เป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ทำได้ เพืยงนึกถึงความต้องการของลูกค้าเท่านั้นเอง คลิกเพื่อดูวิธีการสร้างเว็บ
- หาเว็บมาสเตอร์สร้างเว็บไซต์ให้ดีกว่า เว็บจะได้สวย มีคนสนใจมาก ๆ > คิดมากไปแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องเก่งทุกอย่าง ให้คนอื่นช่วยบางครั้งก็มีประโยชน์ เพียงแต่คุณต้องให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้เข้าชม หรือลูกค้าของคุณ เป็นอันดับแรก แล้วมาสร้างเว็บง่ายๆ กับ SimpleDifferent กัน หากอยากให้ผู้อื่นมาร่วมทำด้วย(เช่น ช่างถ่ายภาพ มาลงภาพบนเว็บคุณ) ก็ย่อมได้ ซึ่งคุณยังคงจัดการเว็บได้เหมือนเดิม
สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า เว็บไซต์คืออะไร
และอะไรไม่ใช่เว็บไซต์:
เพราะคนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่า:
- เว็บไซต์ คือเครื่องมือเรียกลูกค้า อันดับ 1 > จริงๆเป็นเพียง การอธิบายสิ่งที่เกี่ยวกับสินค้า หรืออื่นๆของคุณ ให้ผู้เข้าชมเข้าใจมากขึ้นเท่านั้น
- สร้างเว็บเพื่อแข่งขันแย่งชิงลำดับการค้นหา โดยใช้เทคนิคกลโกงต่างๆเพื่อ ลวงตา Search Engine > แต่หากจัดการเนื้อหาให้ อ่านง่าย เข้าใจ ไม่ยืดยาว จะช่วยให้ Search Engines รู้จักเว็บคุณ
- เว็บไซต์ใช้สำหรับขายเนื้อหาไร้สาระ > เว็บไซต์ เป็นประโยชน์สำหรับการอธิบายสิ่งต่างๆ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ และอีกมากมายที่เป็นประโยชน์
- เว็บไซต์เต็มไปด้วย การละเมิดข้อกฎหมาย > SimpleDifferent เป็นเว็บไซต์สำหรับให้คุณสร้างเว็บ ที่รวมโฮสต์ติ้งในตัว ยินดีให้บริการผู้ที่ต้องการสร้างเว็บที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน ตามกฎเกณฑ์การให้บริการ
- เว็บไซต์เป็นแหล่งดึงดูดผู้คน > จะเป็นอย่างนั้นแน่นอนถ้า เนื้อหาน่าสนใจ
- เว็บไซต์เปรียบเสมือนงานแสดงสินค้าจากทั่วโลก ขนาดมหึมา > แน่นอนอยู่แล้ว ถ้าเนื้อหาโดน มีความน่าเชือถือ มีการอัพเดทตลอด ก็จะถูกใจผู้เข้าชม พวกเขาจะเข้ามาเยื่ยมชมบ่อยๆ เพื่อหาสิ่งที่พวกเขาต้องการ
ตอนนี้คุณก็ทราบเส้นทางที่จะก้าวต่อแล้ว สู้เพื่อความสำเร็จกัน
เมื่อพร้อมแล้ว ต่อไปคือการเรียนรู้ขั้นตอนแรกสำหรับการสร้างเว็บไซต์ สิ่งสำคัญสำหรับการสร้างเว็บไซต์ คือ"การตั้งคำถาม" คลิกเพื่อดูว่า ทำไมต้องตั้งคำถาม สำหรับเว็บไซต์
คำถามและความคาดหวัง จากผู้เข้าชม
เข้าใจและยอมรับฟังความต้องการของผู้เข้าชม จะช่วยให้การสร้างเว็บไซต์ง่าย เร็ว และได้ประสิทธิภาพสูงสุด
ฟังดูเหมือนง่าย แต่ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะคุณมักเขียนคำถามโดยใส่ความคิดส่วนตัวเองลงไป และทิ้งความต้องการของผู้เข้าชม ทั้งที่รู้ว่าความต้องการของผู้เข้าชมสำคัญที่สุด....
ขั้นตอนการสร้างเว็บ เปรียบเสมือนเรากำลังทำงานวิจัยชิ้นเอกอยู่
ซึ่งต้องตั้งคำถาม เพื่อค้นคว้าคำตอบให้กับผู้เข้าชม
ผู้อ่านมาจากต่างที่ ย่อมมีเหตุผลต่างกัน
- ผู้เข้าชมบางส่วน รู้จักเว็บต่างๆจากการพิมพ์ค้นหาสิ่งที่ต้องการบน Google หรือเครื่องมือค้นหาอื่นๆ เช่น เมื่อต้องการไปพักร้อนเขาอาจพิมพ์คำว่า "ที่พัก" "สถานที่ท่องเที่ยว" "ของฝาก" เป็นต้นเพราะเขาเข้าเว็บมาเพื่อหาคำตอบโดยเฉพาะ
- พบเว็บคุณจาก ลิงค์ในเว็บไซต์อื่น หรืออาจเป็นลิงค์จาก เฟสบุ๊คซึ่งถูกแชร์โดยคนในระบบ บางที มาจากเอกสารแผ่นพับ หรือนามบัตรของคุณเองก็เป็นได้
- การกลับมาเยี่ยมชม จากผู้ที่เคยเข้ามาชมเว็บไซต์แล้ว หากพวกเขาสนใจเนื้อหาคุณ ต้องการเรียนรู้ต่อ หรือเข้ามาเพื่อดูการอัพเดทสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ใหม่ของคุณ
เริ่มเขียนลิสต์คำถาม ที่คุณคิดว่า ผู้เข้าชมอาจพิมพ์ เพื่อหาคำตอบในเว็บของคุณ
A.ลิสต์คำถาม ที่คิดว่าผู้เข้าชมจะถาม
เขียนให้หมด! สิ่งที่คุณคิดว่าผู้เข้าชมจะพิมพ์ถาม เกี่ยวกับเว็บไซต์ของคุณ อาจเริ่มจากการเขียนคำถามเป็นข้อๆ ลงในกระดาษสมุดเล็ก ๆ ก็ได้ อย่าพึ่งกังวลกับการหาคำตอบ เขียนคำถามให้ครอบคลุมให้ได้มากที่สุด
จะดีมาก หากคุณได้มีโอกาสสอบถามกับตัวผู้เข้าชม หรือลูกค้าโดยตรง เพราะจะช่วยให้คุณทราบความต้องการที่เป็นความจริง มากกว่าการที่คุณพยายามคิดเอง
B.เขียนคำถามที่คิดว่าผู้เข้าชมเว็บคุณ จะพิมพ์ค้นหาใน Google
ไม่เหมือนกันนะ! ขั้นตอนนี้ไม่เหมือนกับข้อ A
การเลือกใช้คำ กลุ่มคำ หรือ ภาษา จะไม่เหมือนกัน ถึงแม้จะเป็นหัวข้อเดียวกันก็ตาม เช่น
คำถามในชีวิตประจำวัน:
- คุณสอนโยคะอย่างไร ที่ไหน?
- นาฬิกาเรือนนี้ กันน้ำได้รึป่าว?
- ห้องพักคืนละเท่าไหร่?
เมื่อพิมพ์ค้นหาในกูเกิลต้องพิมพ์ว่า:
- เรียนโยคะ ในตัวเมือง
- นาฬิกาข้อมือคุณภาพดี
- โรงแรม 4 ดาวน์ ในตัวเมือง
C.เขียนคำถามที่คิดว่า ผู้เข้าชมอาจถาม แต่ไม่รู้จะถามยังไง
…และหน้าที่ของคุณคือ แนะนำบริการต่างๆ หรือสิ่งอื่นดึงดูดความสนใจของลูกค้า เช่น คุณอาจแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับ โปรโมชั่น กิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ หรืองานอีเว้นท์ต่าง ๆ ที่คุณจัดในช่วงนั้นให้ลูกค้าทราบ นี่คือสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะเป็นการสร้างความแปลกใจให้ลูกค้า เพิ่มความประทับใจ และทำให้อยากเข้าชมเว็บไซต์คุณอีกหลาย ๆ ครั้ง
คำว่า เป้าหมาย ในที่นี้คือ "เข้าใจความต้องการ และความคาดหวังของผู้เข้าชม"
ไม่ใช่การตอบคำถามเพียงอย่างเดียว
ยังไม่ใช่เวลา ในการตอบคำถาม เพราะการเข้าใจความคาดหวังของผู้เข้าชมสำคัญกว่า ณ ตอนนี้ พยายามเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสม สำหรับพวกเขา "ความคาดหวัง" จะมีผลทำให้ผู้เข้าชมหวนกลับมายังเว็บคุณ เมื่อเป็นไปตามสิ่งที่พวกเขาคาด
ขั้นตอนต่อไปคือการ วิเคราะห์ข้อมูลที่คุณหาได้
ขั้นตอนนี้สำคัญเช่นกัน เพราะก่อนที่คุณจะตั้งหน้าตั้งตาเขียนเนื้อหาจริง ๆ คุณจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูล จากคำถาม ก่อนนำมาใช้ นี่จะทำให้คุณได้เว็บไซต์ที่ อ่านเข้าใจง่าย รวดเร็ว และมีคุณภาพ
คำถามตรง+คำตอบโดน=เว็บไซต์แห่งคุณภาพ
ภาษาของผู้เข้าชม คือ รากฐานของการสร้างเว็บไซต์
มีลิสต์คำถามแล้วหรือยัง?
คุณไม่สามารถเริ่มบทนี้ได้หาก คุณยังไม่ได้เขียนคำถาม เพราะการตั้งคำถามเป็นสิ่งสำคัญต่อการกำหนดคำหลัก และขั้นตอนอื่นๆ เพื่อดึงดูดผู้เข้าชม
ภาษาอะไร?
เลือกภาษา (ภาษาที่ใช้ประจำวัน) คำ หรือกลุ่มคำ ที่คิดว่าผู้เข้าชมใช้ อย่าพยายามเลือกใช้ภาษาส่วนตัวของคุณ สังเกตว่าภาษาที่ผู้เข้าชมมักใช้ ส่วนใหญ่เป็นอย่างไร แล้วจดเอาไว้ จะเป็นประโยชน์ในการเลือกใช้คำหลักในเว็บคุณ
คำที่คุ้นหู กุญแจไขคำหลักของผู้อ่าน
ในลิสต์คำถามที่คุณได้จดไว้นั้น เริ่มจัดกลุ่มของคำถาม และคำที่ลูกค้ามักใช้บ่อย เช่น เขาอาจเขียนว่า "เกสท์เฮาส์ หรือ โรงแรมที่สะอาดในตัวเมืองเชียงใหม่ ใกล้สถานีรถไฟ" แต่จะไม่ใช่ "ราคาห้องพักไม่แพงในตัวเมืองเชียงใหม่ อยู่ใกล้สถานีขนส่ง" เพราะจะทำให้อ่านแล้วรู้สึกสับสน ระหว่างผู้อ่านกับผู้เขียนเว็บ ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยๆ
ฉะนั้นพยายามเลือกใช้คำที่ผู้เข้าชมใช้ จะได้จำง่าย
เห็นได้ชัดเจนเมื่อกล่าวถึง
แต่ละคำหลัก ความสำคัญไม่เท่ากัน การเลือกใช้นั้นจึงขึ้นอยู่กับส่ิงที่คุณต้องการนำเสนอ เช่น หากคุณอยากรับประทานอาหารญี่ปุ่น คุณคงไม่พิมพ์ว่า "ร้านอาหารญี่ปุ่นที่ดีที่สุด" แต่จะพิมพ์ว่า "ร้านอาหารญี่ปุ่น ในนิวยอร์ก" ซึ่งการระบุสถานที่นั่น ทำให้ผู้เข้าชมค้นหาเจอสิ่งที่ต้องการได้ง่าย
เลือกคำพิเศษ
คุณอาจเลือกใช้คำเฉพาะ เพื่อบอกว่าธุรกิจคุณมีสิ่งเหล่านั้นจริง จะทำให้เว็บคุณต่างจากเว็บอี่น วิธีนี้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่งที่ทำให้เว็บไซต์น่าสนใจ
ตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยว ต้องการหาที่พัก เลือกพิมพ์ข้อความ เพื่อสร้างความประทับใจ เพื่อให้้เขากลับมาพักยังเกสต์เฮ้าของคุณอีกในอนาคต เช่น ชมการแสดงดนตรีแจ๊ส, คอร์สเรียนทำอาหาร, อาหารว่างสุดพิเศษ หรืออาจมุ่งจุดขายมาที่ธรรมชาติโดยรอบ เช่น ทิวเขา แม่น้ำ สำคัญคือเลือกใช้คำที่ตรงกับความจริง และตรงกับสิ่งที่ผู้เข้าชมจะใช้ค้นหา
เลือกคำที่ใช้กับ Search engines
การใช้คำ ในการพิมพ์ค้นหาสิ่งที่ผู้เข้าชมต้องการ คุณรู้หรือไม่ว่าเนื้อหาในเว็บที่ผู้เข้าชมต้องการอ่าน กับภาษาที่เขาใช้พิมพ์ค้นหาใน Google นั้น ต่างกันโดยสิ้นเชิง ฉะนั้นคุณควรค้นหาว่าผู้เข้าชมมักใช้คำพูด หรือภาษาแบบใด ในการพิมพ์ค้นหา
ข้อผิดพลาดที่มักพบบ่อย
การให้ความสำคัญกับ Search Engine มากเกินไป จนลืมว่าผู้เข้าชมก็สำคัญเช่นกัน ทำให้คุณใช้คำหลัก มากเกินไป ทั้งหัวข้อเว็บไซต์ ชื่อเริื่อง ซึ่งคุณทราบหรือไม่ว่า การใช้คำหลักแบบซ้ำไปซ้ำมานั้น ไม่ได้ช่วยให้ Search engine หาเว็บคุณเจอได้ง่ายขึ้นเลย แต่กลับเกิดผลเสียสำหรับเว็บคุณ ฉะนั้นควรให้ความสำคัญกับผู้เข้าชมด้วย
ก่อนจับคีย์บอร์ด เริ่มเขียนเว็บ
ควรตรวจสอบคำหลักก่อนว่า เมื่ออ่านคำนั้นแล้ว บอกได้ว่ากล่าวถึงเรื่องใด
เลือกใช้ภาษาให้เข้าใจง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ นำคำหลักต่างๆที่ลิสต์ไว้ มาเลือกคำที่คุณคิดว่า อ่านปุ๊บ รู้ปั๊บว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ไปไว้ที่หัวเรื่องของคุณ
เช่น
ถ้าคุณขายน้ำมันหล่อลื่นสำหรับรถยนต์ ลิสต์คุณมีคำว่า: เพลา, เครื่องยนต์, ยาง, การขนส่ง, ประตู, ช่วงล่าง
ลูกค้าจะทราบทันที ว่าเป็นน้ำมันสำหรับรถยนต์ ไม่ใช่น้ำมันสำหรับปรุงอาหารอย่างแน่นอน
เพราะดูจากคำหลักแล้ว เป็นคำที่เกี่ยวกับรถยนต์ทั้งสิ้น
ฉะนั้นการเลือกใช้คำหลัก มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ผู้เข้าชมเข้าใจเนื้อหา และกูเกิลจะเข้าใจคุณเช่นกัน
ถึงตรงนี้ การเริ่มต้นสร้างเว็บก็ไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อคุณรู้ คำถาม คำหลัก ในบทต่อไปมาดูวิธีตอบคำถามกัน
เลือกคำหลัก(Keywords) ให้ตรงกับผู้อ่าน หนทางสู่ความเข้าใจในเนื้อหา
เราบอกสิ่งที่ผู้เข้าชมต้องการให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด มากกว่าคาดหวังให้เขาอ่านทั้งหมด
เขียนเนื้อหาอย่างไร ให้โดนใจผู้เข้าชม
เราบอกสิ่งที่ผู้เข้าชมต้องการให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด มากกว่าคาดหวังให้เขาอ่านทั้งหมด
เพราะนิสัยของผู้เข้าชม....
• บางคน ไม่ชอบอ่าน
แต่จะดูคร่าวๆ ดูแบบข้ามๆ เร็วๆ เพื่อหาสิ่งที่เขาสนใจ ซึ่งอาจคลิกที่ลิงค์เพื่อไปรูปภาพนั้นๆ หรือ มองจากหัวเรื่องต่างๆ ฉะนั้นต้องเขียนให้ สั้น กระชับ ได้ใจความ โดยเน้นการเขียนแบบ อ่านเร็ว แต่เข้าใจเนื้อหา
> เว็บไซต์ไม่ใช่หนังสือ ตั้งชื่อหน้า ใส่หัวเรื่อง ใส่เนื้อหาสำคัญ สั้นได้ใจความ จัดให้อ่านง่ายไม่ยุ่งเหยิง สิ่งเหล่านี้คือสื่งที่จำเป็น
• บางคน ชอบดูข้อมูล
และ เขาหวังว่าข้อมูลที่หานั้น จะช่วยตัดสินใจอะไรบางอย่างได้
>ผู้เข้าชม มองหาสิ่งที่คุณต้องการจะบอก หรือแบ่งปัน
• บางคน ชอบมองหาสิ่งที่ต้องการเท่านั้น
อารมณ์ และ ความรู้สึก เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้อ่านมีให้กับบทความนั้นๆ
> ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเขียนเนื้อหาให้ สนุกสนาน หรือน่าเบ่ือ พยายามเขียนด้วยอารมณ์ที่เป็นกลางจะเป็นผลดีแก่ผู้อ่าน
"การเขียนเนื้อหาเว็บไซต์" ประเด็นเด็ด สำหรับวันนี้
เขียนเนื้อหาเว็บ ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่ายเช่นกัน
ค้นคว้าหาข้อมูลก่อน แล้วคุณจะพบคำแนะนำดี ๆ เช่น กลุ่มคำสั้นๆที่เป็นประโยชน์ การใช้ภาษาอ่านง่าย เพื่อการอ่านที่ เร็ว เข้าใจง่าย และจำได้
จัดเนื้อหาให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะดวก และประหยัดเวลาในการอ่าน
ดูง่ายดี แต่…จะเลือกใช้คำให้ถูกต้องอย่างไรล่ะ?
เมื่อคุณมีลิสต์คำถามของผู้เข้าชม และคำที่ใช้อธิบายแล้ว จำไว้เสมอว่า
• ให้ความสำคัญกับ ความคาดหวังของผู้เข้าชม
• ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
• ใส่คำที่คุณต้องการให้ ผู้เข้าชมเรียนรู้
พยายามอย่าให้เกิดความผิดพลาด จากการเขียนเนื้อหา
ให้ความสำคัญกับความต้องการ และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กับผู้เข้าชม มากกว่าผลการค้นหาหน้าแรกบน Google ที่สำคัญ ใช้คำหลัก(Keywords) ให้เหมาะสม และคำนึงถึงความเข้าใจของผู้เข้าชม จัดการเนื้อหาให้อ่านง่ายดูเป็นระเบียบ อย่าใส่คำหลักมากเกินไปจะเกิดผลเสีย
"ซ่อมคอมพิวเตอร์"
ตัวอย่างที่ช่วยให้คุณเห็นภาพชัดเจนขึ้น
ลองนึกภาพดู,
หากคอมฯคุณเสีย แล้วคุณต้องนำมันไปซ่อม...
คุณก็ขับรถไปยังศูนย์รวมร้านคอมฯ เช่น พันธ์ทิพย์พลาซ่า แล้วคุณก็จะต้องมองหาคำว่า "รับซ่อมคอมฯ"
โดยหากร้านใดบอก "ราคา" เพิ่มลงไป หรือ บอกเวลาที่ใช้ เช่น "ด่วน 1ชั่วโมง รอรับได้"
คำเหล่านี้จะช่วยคุณตัดสินใจเลือกร้านซ่อมคอมฯได้ดีขึ้น จากนั้นคุณจึงจะกวาดสายตามองหาคำเหล่านั้น
>เรืยกคำเหล่านี้ว่า ภาษาที่ผู้เข้าชมคาดหวัง
ณ ร้านคอมฯ ที่คุณเลือก
พอเข้าไป ช่างก็จะสอบถามอาการและอธิบายสาเหตุที่อาจเกิดจากอาการเสียของคอมฯ ซึ่งช่างที่ดี จะใช้ภาษาที่ง่าย ในการอธิบายให้คุณเข้าใจ พร้อมทั้งบอกคำศัพท์ใหม่ที่คุณไม่รู้ เช่น "การ์ดจอ>ตัวแสดงภาพ" หรือบางทีอาจเป็นคำอื่นๆ ที่คุณควรจะรู้ก่อนที่จะตกลงซ่อม
>เรืยกคำเหล่านี้ว่า ภาษาที่ผู้เข้าชมเรียนรู้
แล้วหาก คุณเจอสถานะการณ์แบบนี้ล่ะ?
พอเข้าไป ตรวจเช็คเสร็จ ช่างบอกคุณว่า "พัดลมระบายอากาศเสียควรจะเปลี่ยน คุณต้องการเปลี่ยนหรือไม่" คุณอาจงง ๆ นิดหน่อย แต่ก็ตอบตกลงเปลี่ยน
แล้วถ้า...ช่างบอกคุณว่า "เมนบอร์ดของคุณรุ่นไหน คุณเคยซ่อมเมนบอร์ดที่ติดอยู่กับซีพียูหรือไม่ แล้วแรมคุณเท่าไหร่?"
ทีนี้คุณคงแทบอยากจะเดินออกจากร้านเลยใช่ไหม เพราะคำที่ใช้นั้นเป็นศัพท์เฉพาะที่คนทั่วไปอาจไม่รู้จัก
>ฉะนั้น การใช้คำศัพท์เฉพาะ ควรมีคำอธิบายให้เข้าใจง่าย และชัดเจน
ภาษาเป็นเรื่องที่สำคัญ ฉะนั้นคุณ
ควรเลือกใช้ภาษาให้ถูกต้อง
รู้จักจังหวะการเลือกใช้คำเฉพาะ ให้เหมาะสม จะช่วยให้ผู้เข้าชมได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
ระยะเวลาในการเขียนเนื้อหา : ดึงดูดผู้เข้าชมด้วยเนื้อหาที่เรียบง่าย แต่ได้ใจความ โดยใช้หลัก
หนึ่งหน้า เสมือน หนึ่งเว็บ ที่มี หนึ่งคำถาม
ความเหมือนที่แตกต่าง
เรื่องเดียวกัน จัดอยู่ในแท็บเดียวกัน 1 หน้า= 1 หัวเรื่อง
จัดหมวดแต่ละคำตอบ ไว้ในแต่ละบทสั้นๆ เรียงแต่ละหัวเรื่องให้เหมือนคุณกำลังนำเสนอรายงาน
เพราะเว็บไซต์ก็เปรียบเสมือนสื่อที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ หรือตัวอย่าง ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนนั้น ไม่ควรซับซ้อน ควรมี 1 เรื่องที่ตามด้วยการตอบคำถามที่ชัดเจนในเรื่องนั้นๆ เพื่อความสะดวกแก่ผู้เข้าชม
เพราะ หนึ่งหน้า ต่อ หนึ่งหัวเรื่องนั้น ช่วยให้ผู้เข้าชมคุณมองหาสิ่งที่ต้องการค้นหาได้ง่าย และรู้ตำแหน่งหน้าที่อ่าน
ผู้เข้าชมเลือกชมเว็บไซต์เพราะต้องการหาคำตอบที่ต้องการ การสร้าง 1 หน้า ต่อ 1 หัวเรื่อง เพื่อการหาคำตอบได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยสามารถมองหาคำตอบได้จากแท็บเมนูด้านซ้ายมือ
ในหน้านั้นๆควรแบ่งเป็นแต่ละย่อหน้า
แต่ละย่อหน้านั้นควรจะเป็นบทความที่กล่าวเกี่ยวกับหัวเรื่องหน้านั้นๆ ฉะนั้นการใช้หัวเรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะแจ้งผู้เข้าชมให้ทราบว่าบทความของแต่ละย่อหน้านั้นกล่าวเกี่ยวกับสิ่งใด ทำให้ผู้เข้าชมหาคำตอบได้ง่ายขึ้น
เลือกใช้หัวเรื่องที่เหมาะกับเนื้อหา รวมถึงหัวเรื่องของแต่ละย่อหน้า
การเขียนหัวเรื่องสำหรับเนื้อหาแต่ละหน้า และแต่ละย่อหน้านั้น ควรทราบเกี่ยวกับการเลือกใช้ คำหลักให้ถูกต้อง(จากบทที่ผ่านมา) เพราะเมื่อผู้เข้าชมอ่านคำหลักแล้ว พวกเขาจะทราบรายละเอียดคร่าวๆเกี่ยวกับเนื้อหาภายใน เพื่อช่วยให้พวกเขาเลือกอ่านสิ่งที่ต้องการได้
ชื่อแท็บ ควรเป็นคำหลักเพียง 1-2 คำเท่านั้น และควรเป็นคำที่ใช้ตอบคำถามหน้านั้นๆ
ตัวอย่าง
หากคุณเขียนเว็บไซต์เกี่ยวกับ โรงแรม คุณจะได้รับคำถามต่างๆ เกี่ยวกับห้องพัก เช่น มีห้องพักประเภทไหนบ้าง? ห้องสะอาดหรือไม่? ราคาห้อง? เอาสัตว์เลี้ยงเข้าได้หรือไม่? check out เวลากี่โมง?
ดูเป็นเรื่องตลกแน่ หากคุณแยกคำถามทั้งหมดนี้ไว้คนละหน้า ทั้งที่เป็นเรื่องเดียวกัน
จะดีกว่า หากคุณรวมอยู่ในหน้า ห้องพัก
จะไม่ยากอีกต่อไป หากคุณมีหัวเรื่องที่ชัดเจน คุณก็จะตอบคำถามได้ชัดเจนเช่นกัน
อย่าลืมเลือกใช้คำหลัก ให้เข้ากับหัวข้อที่คุณต้องการสื่อ เพื่อความสะดวกในการค้นหาคำตอบของผู้เข้าชม พูดง่ายๆคือ เมื่อผู้เข้าชมอ่านหัวข้อ ก็จะทราบทันทีว่าหน้านั้นจะกล่าวถึงเรื่องใด
___
"สั้นๆ ได้ใจความ" แม้ผู้เข้าชมจะอ่านแบบไม่ตั้งใจ ก็สามารถเข้าใจเนื้อหาได้
ยิ่งเข้าใจได้ง่าย ยิ่งดี
และตอนนี้มาดูวิธีเลือกใช้รูปให้เหมาะสมกับเนื้อหาเว็บ
เราบอกสิ่งที่ผู้เข้าชมต้องการให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด มากกว่าคาดหวังให้เขาอ่านทั้งหมด
เพราะนิสัยของผู้เข้าชม....
• บางคน ไม่ชอบอ่าน
แต่จะดูคร่าวๆ ดูแบบข้ามๆ เร็วๆ เพื่อหาสิ่งที่เขาสนใจ ซึ่งอาจคลิกที่ลิงค์เพื่อไปรูปภาพนั้นๆ หรือ มองจากหัวเรื่องต่างๆ ฉะนั้นต้องเขียนให้ สั้น กระชับ ได้ใจความ โดยเน้นการเขียนแบบ อ่านเร็ว แต่เข้าใจเนื้อหา
> เว็บไซต์ไม่ใช่หนังสือ ตั้งชื่อหน้า ใส่หัวเรื่อง ใส่เนื้อหาสำคัญ สั้นได้ใจความ จัดให้อ่านง่ายไม่ยุ่งเหยิง สิ่งเหล่านี้คือสื่งที่จำเป็น
• บางคน ชอบดูข้อมูล
และ เขาหวังว่าข้อมูลที่หานั้น จะช่วยตัดสินใจอะไรบางอย่างได้
>ผู้เข้าชม มองหาสิ่งที่คุณต้องการจะบอก หรือแบ่งปัน
• บางคน ชอบมองหาสิ่งที่ต้องการเท่านั้น
อารมณ์ และ ความรู้สึก เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้อ่านมีให้กับบทความนั้นๆ
> ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเขียนเนื้อหาให้ สนุกสนาน หรือน่าเบ่ือ พยายามเขียนด้วยอารมณ์ที่เป็นกลางจะเป็นผลดีแก่ผู้อ่าน
"การเขียนเนื้อหาเว็บไซต์" ประเด็นเด็ด สำหรับวันนี้
เขียนเนื้อหาเว็บ ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่ายเช่นกัน
ค้นคว้าหาข้อมูลก่อน แล้วคุณจะพบคำแนะนำดี ๆ เช่น กลุ่มคำสั้นๆที่เป็นประโยชน์ การใช้ภาษาอ่านง่าย เพื่อการอ่านที่ เร็ว เข้าใจง่าย และจำได้
จัดเนื้อหาให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะดวก และประหยัดเวลาในการอ่าน
ดูง่ายดี แต่…จะเลือกใช้คำให้ถูกต้องอย่างไรล่ะ?
เมื่อคุณมีลิสต์คำถามของผู้เข้าชม และคำที่ใช้อธิบายแล้ว จำไว้เสมอว่า
• ให้ความสำคัญกับ ความคาดหวังของผู้เข้าชม
• ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
• ใส่คำที่คุณต้องการให้ ผู้เข้าชมเรียนรู้
พยายามอย่าให้เกิดความผิดพลาด จากการเขียนเนื้อหา
ให้ความสำคัญกับความต้องการ และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กับผู้เข้าชม มากกว่าผลการค้นหาหน้าแรกบน Google ที่สำคัญ ใช้คำหลัก(Keywords) ให้เหมาะสม และคำนึงถึงความเข้าใจของผู้เข้าชม จัดการเนื้อหาให้อ่านง่ายดูเป็นระเบียบ อย่าใส่คำหลักมากเกินไปจะเกิดผลเสีย
"ซ่อมคอมพิวเตอร์"
ตัวอย่างที่ช่วยให้คุณเห็นภาพชัดเจนขึ้น
ลองนึกภาพดู,
หากคอมฯคุณเสีย แล้วคุณต้องนำมันไปซ่อม...
คุณก็ขับรถไปยังศูนย์รวมร้านคอมฯ เช่น พันธ์ทิพย์พลาซ่า แล้วคุณก็จะต้องมองหาคำว่า "รับซ่อมคอมฯ"
โดยหากร้านใดบอก "ราคา" เพิ่มลงไป หรือ บอกเวลาที่ใช้ เช่น "ด่วน 1ชั่วโมง รอรับได้"
คำเหล่านี้จะช่วยคุณตัดสินใจเลือกร้านซ่อมคอมฯได้ดีขึ้น จากนั้นคุณจึงจะกวาดสายตามองหาคำเหล่านั้น
>เรืยกคำเหล่านี้ว่า ภาษาที่ผู้เข้าชมคาดหวัง
ณ ร้านคอมฯ ที่คุณเลือก
พอเข้าไป ช่างก็จะสอบถามอาการและอธิบายสาเหตุที่อาจเกิดจากอาการเสียของคอมฯ ซึ่งช่างที่ดี จะใช้ภาษาที่ง่าย ในการอธิบายให้คุณเข้าใจ พร้อมทั้งบอกคำศัพท์ใหม่ที่คุณไม่รู้ เช่น "การ์ดจอ>ตัวแสดงภาพ" หรือบางทีอาจเป็นคำอื่นๆ ที่คุณควรจะรู้ก่อนที่จะตกลงซ่อม
>เรืยกคำเหล่านี้ว่า ภาษาที่ผู้เข้าชมเรียนรู้
แล้วหาก คุณเจอสถานะการณ์แบบนี้ล่ะ?
พอเข้าไป ตรวจเช็คเสร็จ ช่างบอกคุณว่า "พัดลมระบายอากาศเสียควรจะเปลี่ยน คุณต้องการเปลี่ยนหรือไม่" คุณอาจงง ๆ นิดหน่อย แต่ก็ตอบตกลงเปลี่ยน
แล้วถ้า...ช่างบอกคุณว่า "เมนบอร์ดของคุณรุ่นไหน คุณเคยซ่อมเมนบอร์ดที่ติดอยู่กับซีพียูหรือไม่ แล้วแรมคุณเท่าไหร่?"
ทีนี้คุณคงแทบอยากจะเดินออกจากร้านเลยใช่ไหม เพราะคำที่ใช้นั้นเป็นศัพท์เฉพาะที่คนทั่วไปอาจไม่รู้จัก
>ฉะนั้น การใช้คำศัพท์เฉพาะ ควรมีคำอธิบายให้เข้าใจง่าย และชัดเจน
ภาษาเป็นเรื่องที่สำคัญ ฉะนั้นคุณ
ควรเลือกใช้ภาษาให้ถูกต้อง
รู้จักจังหวะการเลือกใช้คำเฉพาะ ให้เหมาะสม จะช่วยให้ผู้เข้าชมได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
"รูปภาพ" ตัวอย่างที่ช่วยได้
บางครั้ง "รูปภาพ" สามารถสื่อสิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งกว่าตัวอักษร
เลือกเพิ่มรูปภาพ เพื่อประกอบ หัวข้อ แบรนด์ สถานที่
หรือกิจกรรมต่างๆของคุณ อย่าลืมเขียนอธิบายใต้ภาพด้วย
แต่การเพิ่มรูปภาพนั้นมีข้อควรระวังด้วย เพราะการเพิ่มภาพ ไม่ใช่แค่เลือกรูปที่คุณชอบมาใส่ แต่ต้อง...
ดูเนื้อหาประกอบ...อย่าให้รูปมาเป็นอุปสรรคในการอธิบายเนื้อหาของคุณ
เพราะบางทีเนื้อหาคุณเข้าใจดี แต่พอคุณเลือกรูปมาใส่ กลับทำให้ผู้เข้าชม
สับสนในเนื้อหา เนื่องจากรูปไม่ตรงกับสิ่งที่อธิบายอยู่
ลองพยายามนึกคำอธิบายใต้รูปภาพ ก่อนเลือกรูปจริง
บ่อยครั้งที่เราเลือกใส่รูปก่อน แล้วเขียนเนื้อหาทีหลัง
คุณควรเขียนเนื้อหาให้เสร็จก่อน แล้วค่อยใส่รูป เพราะคุณจะทราบว่าข้อมูลตรงไหนที่ควรใช้ภาพ เพื่อประกอบการอธิบาย
หลายครั้งที่ รูปภาพ สามารถเป็นหัวเรื่องได้ เช่น
- เมื่อต้องการ นำเสนอรายละเอียดห้องพัก
- นำเสนอสินค้า ในร้านค้าออนไลน์
- เป็นเว็บเกี่ยวกับ รูปภาพโดยเฉพาะ
- อื่นๆ
ตรวจสอบให้ดีว่ารูปคุณจะไม่ขัดแย้งกับเนื้อหา
"หนึ่งภาพ แทนล้านคำพูด"
เป็นคำที่ใช้ได้เฉพาะกลุ่มผู้เข้าชมเท่านั้น, แต่ไม่ใช่กับคุณ
เลือกเฉพาะภาพที่น่าสนใจ และเข้ากับหัวข้อของคุณ อย่าให้ภาพดึงความน่าสนใจไปจากบทความ จึงจะเป็นประโยชน์ต่อบทความของคุณ
ลองนึกดู: หากคุณมีดอกไม้แสนสวย 5 รูป ที่ถ่ายจากสวนของคุณ แล้วคุณใส่รูปดอกไม้ทั้งหมดลงไปในบล็อกข้อความ ผู้เข้าชมก็จะหันไปมองรูปดอกไม้ และอยากมาเยี่ยมสวนหลังบ้านคุณ โดยไม่สนใจข้อความที่คุณเขียนเตือนว่าดอกไม้เหล่านั้นมีพิษร้ายแรง เป็นอันตรายต่อผู้เข้าชมได้
จากตัวอย่างข้างต้น คงพอให้คุณเห็นภาพ ฉะนั้น การใส่รูปเพื่ออธิบายนั้นจำเป็นต้องดูความเหมาะสมของเนื้อหาด้วย เพราะรูปเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจได้ดีกว่าตัวหนังสือ
เสริมความเข้าใจเนื้อหา ด้วยการเลือกใช้รูปให้เหมาะสม
___
ตอนนี้หากคุณมีการจัดการเนื้อหาที่ชัดเจน และการยกตัวอย่างที่ดีแล้ว ต่อไป
ลองนึกดูว่า ทำอย่างไรให้ผู้เข้าชมเข้าอ่านเนื้อหาหน้าอื่นๆ
"ลิงค์" โซ่ เชื่อมโยงระหว่างหน้า..สายสัมพันธ์ภายในเว็บไซต์
ตอบคำถามแล้ว อย่าลืมเสนอทางเลือกเพิ่มเติม
เมื่อผู้เข้าชมเข้ามาหาคำตอบในหน้าเว็บคุณ และเจอคำตอบแล้ว เขาอาจมีข้อสงสัย หรือคำถามใหม่เกิดขึ้นมาทันที ฉะนั้นคุณควรนึกต่อว่า อะไรเป็นคำถามที่ผู้เข้าชมจะถามต่อไป แล้วเตรียมคำตอบไว้ ผ่าน การสร้างลิงค์เชื่อมโยงนี้
จริงๆ แล้วหน้าที่คุณลิงค์ไปนั้น อยู่แท็บเมนูด้านซ้ายนี่เอง เพียงแต่คุณใส่ลิงค์ไว้ที่ท้ายสุดของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้เข้าชม และคุณยังสามารถ...
ช่วยตอบคำถามอื่นให้ผู้เข้าชมโดย สร้างลิงค์เชื่อมหน้าภายในเว็บไซต์
การใส่ลิงค์ ไว้ที่เนื้อหานั้น คุณต้องพยายามใส่คำหลักที่เกี่ยวข้องลงไปในลิงค์นั้นๆ เมื่อผู้เข้าชมได้อ่านคำหลักเหล่านั้น (ซึ่งอาจตรงกับคำถามที่เขามี) ก็จะคลิกเพื่อตามหาคำตอบ
ซึ่งสิ่งที่คุณต้องทราบคือ คำถามต่อไปอะไรคือ เมื่อผู้เข้าชมได้อ่านบทความนั้นเสร็จ
การสร้างลิงค์นี้ มีความสำคัญต่อเว็บของคุณ และธุรกิจของคุณไม่น้อย พยายามตอบคำถามผู้เข้าชมให้ได้มากที่สุด ยิ่งผู้อ่านเยี่ยมชมแต่ละหน้าเว็บคุณมากเท่าไหร่ โอกาสที่เขาจะไว้ใจ เลือกใช้บริการ หรือ เลือกซื้อสินค้าจากเว็บคุณก็จะมากตามไปด้วย เพราะคุณสามารถตอบคำถามที่เขาสงสัยได้ครบถ้วน
ข้อความท้ายสุด(Footer)
Footer เป็นข้อความที่อยู่ด้านล่างสุดของทุกหน้า เป็นเหมือนตัวเก็บตก ข้อความทิ้งท้าย สามารถบอกรายละเอียดสุดท้ายให้ผู้อ่านรับรู้ คุณอาจเห็นข้อความ Footer บ่อยๆ เช่น " © copyright 2009-2012" หรือ บางครั้งอาจเป็นลิงค์เพื่อเชื่อมไปยังหน้า จองสินค้า บริการ ตัวอย่างเช่น:
• สำรองห้องพัก(อาจมีเบอร์โทรศัพท์ด้วย)
• ติดต่อเรา แล้วลิงค์ไปยังหน้าติดต่อ
• แผนที่ร้าน แล้วลิงค์ไปยังหน้าแผนที่
ลิงค์เชื่อมโยง และ Google
ประโยชน์ของการสร้างลิงค์เชื่อมโยงนั้น ไม่เพียงแต่เป็นการเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้เข้าชมของคุณเท่านั้น แต่เป็นเหมือนการวัดผลว่า คุณเข้าใจผู้เข้าชมมากเพียงใด ใช้คำหลักเข้ากับพวกเขาได้ตรงแค่ไหน และสุดท้ายผลพลอยได้ที่ไม่ธรรมดาเลยนั่นคือ Google และ Search engines อื่นๆ จะให้ความสนใจเว็บคุณ โดยจะมองเห็นเว็บคุณผ่านคำหลัก(Keywords) ที่คุณใช้
เว็บไซต์ที่มีประโยชน์ต่อผู้เข้าชม จัดเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ
สร้างสังคมของเว็บไซต์ด้วยการสร้างลิงค์เชื่อมโยงแต่ละหน้าไว้ด้วยกัน
ตอนนี้คุณเดินทางมาไกลพอสมควรแล้ว กับการเรียนรู้วิธีการสร้างเว็บไซต์
จากนี้เป็น การทดสอบการใช้งานเว็บไซต์ในแบบผู้เข้าชมจริง
เพื่อหาข้อผิดพลาดและนำมาปรับปรุงเว็บไซต์
ถึงตอนนี้เนื้อหาของคุณก็เกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่อย่าพึ่งเริ่ม เขียนหน้าหลัก หรือ โฮมเพจค่ะ หากคุณเขียนไปแล้ว ให้กดล็อคที่รูปแม่กุญแจไว้ก่อน
โปรดอย่าลืมว่า การทดสอบนี้ คุณต้องทำการเผยแพร่เว็บไซต์ก่อน
แล้วจะทดสอบอะไรล่ะ?
ทดสอบสิ่งที่เราเขียนมาทั้งหมด เริ่มโดย ให้คุณกลับไปดูคำถามที่เคยเขียนเอาไว้ตอนต้น โดยสมมุติว่าคุณคือ ผู้เข้าชมคนหนึ่งเข้ามายังเว็บนั้นๆ จากนั้นลองมองเนื้อหาที่คุณเขียนเพื่อดูว่าเนื้อหานั้นๆมีคำตอบครบถ้วนตามคำถามที่มีหรือไม่ หรือหากคุณอ่านดูแล้วคุณเกิดคำถามใหม่ขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์ต่อเนื้อหาเว็บคุณต่อไป
การทดสอบนี้ เป็นการตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วน และเป็นการตอบคำถามใหม่ๆที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย
ทดสอบเว็บไซต์ด้วยตัวเองสิ!
นี่เป็นการทดสอบเบื้องต้น เพราะบางทีการที่เราทดสอบเอง เราอาจไม่รู้ข้อบกพร่องของเราก็ได้ แต่การทดสอบด้วยตัวเองนี้เป็นขั้นตอนแรก ก่อนที่จะทดสอบจริงกับผู้เข้าชม
เหมือนกัน การทดสอบนี้ คุณต้องสมมุติว่าคุณคือผู้ที่เข้ามาชมเว็บนี้ โดยมีคำถามอยู่ในใจ เช่น
- ร้านนี้อยู่ที่ไหน?
- ราคาค่าบริการ หรือราคาสินค้าเท่าไหร่?
- มีใครซื้อแล้วบ้าง, คุณภาพสินค้าดีไหม?
นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ พอให้เห็นภาพ หลักคือให้คุณนึกเสมอว่า คุณคือผู้เข้าชม
หรือลูกค้า ถ้าคุณเป็นผู้ซื้อ คุณยังสงสัยอะไร แล้วพยายามหาคำตอบในเว็บ อย่า! ตอบด้วยตัวเองในฐานะผู้เขียนเว็บนะ เพราะจะทำให้คุณพลาดเนื้อหาสำคัญที่ควรจะมีในเว็บคุณ
หากคุณพบว่าคำถามที่คุณสงสัย ไม่มีคำตอบในเว็บ จัดการเพิ่มเนื้อหานั้นลงไปได้เลย
อย่างไรก็ตามการทดสอบนี้ไม่ใช่การทดสอบที่ดีที่สุด เป็นเพียงการทดสอบเบื้องต้น เพราะถึงอย่างไรเราก็จะมองไม่เห็นข้อบกพร่องของตัวเองได้หมดทุกอย่างหรอก ฉะนั้นต้องพยายามมองให้ลึกที่สุด เมื่อทำการทดสอบด้วยตัวเอง
ทดสอบ กับ ผู้เข้าชม
การทดสอบกับผู้เข้าชมจะทำให้ได้มุมมองที่กว้างขึ้น แต่การทดสอบนี้จะขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่คุณมีด้วย เรามีคำแนะนำเล็กน้อยเกี่ยวกับวิธีการทดสอบนี้
ฉันควรบอกพวกเขาว่า พวกเขาคือกลุ่มผู้ทดสอบหรือไม่?
- บางครั้ง การที่เราเก็บเงียบก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะคุณจะได้เห็นอะไรหลายๆ อย่างที่เกิดจากพฤติกรรมการเข้าชมเว็บ ทำให้รู้สิ่งที่เราไม่เคยรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เว็บของแต่ละคน
- การบอกแบบอ้อม เช่น คุณให้เขาลองหาที่อยู่ร้าน หรือ หาราคาสินค้าและบริการ เขาก็อาจทราบว่าคุณกำลังทดสอบเว็บไซต์อยู่
- และเมื่อเขารู้ว่า คุณให้เขาช่วยทดสอบเว็บอยู่ เขาก็จะมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย จนบางครั้งพวกเขาอาจสับสนกับคำถามที่ตัวเองตั้งขึ้น และไม่รู้ว่าจะตอบคำถามไหนก่อนดี เรียงไม่ถูก แม้ว่าจะเปิดเว็บคุณอยู่ก็ตาม ฉะนั้นหากคุณต้องการบอกเขาก็อาจสมมุติเหตุการณ์ ให้เขาเป็นลูกค้าโดย พูดอย่างไรก็ได้ไม่ให้เขารู้ว่าเรากำลังให้เขาทดสอบเว็บให้เราอยู่ เช่น บอกเพื่อนของคุณว่า ช่วยดูเว็บของโรงแรมนี้ให้หน่อย(เว็บคุณ)เพราะเราจะไปพักที่นี่ จะพิจารณาจากอะไรบ้าง เป็นต้น จะทำให้คุณทราบว่าเขามีคำถามอะไร อยากทราบอะไรเพิ่มเติม จะทำให้การปรับปรุงเว็บได้ผลเช่นกัน
การแข่งขันที่ท้าทาย
- เป็นกลาง เมื่อเว็บไซต์คุณถูกเผยแพร่แต่อยู่ในระหว่างการทดสอบ ให้คุณทำตัวเป็นกลาง เพราะจะเป็นโอกาสที่ดี ที่คุณจะได้เห็นความคิดที่มาจากผู้เข้าชมจริง โดยไม่มีความคิดของคุณมาเกี่ยวข้อง
- อย่าเบื่อที่จะอธิบาย หรือแสดงตัวอย่าง เพราะผู้เข้าชมเป็นคนสำคัญสำหรับคุณ โปรดทำให้เขาเข้าใจเนื้อหามากที่สุด
- ให้อิสระกับผู้ใช้ จะอ่านเนื้อหาหรือไม่ จะคลิกที่ลิงค์หรือไม่ ก็แล้วแต่เขา เพราะนี่จะเป็นพฤติกรรมของผู้ใช้ที่คุณต้องเจอ
- ความคิดเห็นจากเขา ลองให้เขาแสดงความเห็นในขณะที่อ่านสิ่งต่างๆ
- หลีกเลี่ยงคำว่า"ส่วนตัว" เนื่องจากคุณต้องเป็นคนแก้ไขปรับปรุงข้อมูลเอง ฉะนั้นไม่แปลกที่คุณจะลำเอียง นำความคิดส่วนตัวมาปนกับเนื้อหา ฉะนั้นก่อนแก้ไขควรลองถามผู้อื่นดูเผื่อจะได้ความคิดเห็นที่ดีกว่า
- คำถามหลังการทดสอบ ถามความเห็นเขาว่าชอบ ไม่ชอบ เป็นอย่างไร คิดอย่างไร แล้วจดบันทึกไว้เพื่อนำไปปรับปรุง โปรดเป็นผู้ฟังที่ดี อย่าโต้แย้ง หรืออธิบายสิ่งต่างๆ เพียงจดสิ่งที่ผู้ทดสอบบอก นี่จะช่วยเปิดโลกทัศน์ให้คุณได้
ทำการทดสอบแบบเดิม แต่เปลี่ยนผู้ทดสอบ
ยิ่งผู้ทดสอบมาก หรือ มีผู้ทดสอบหลายกลุ่ม คุณก็จะเห็นมุมมองที่แตกต่างมากขึ้น
- ถามเด็ก ให้เขาพยายามหาคำตอบในเว็บไซต์คุณ
- ผู้สูงอายุ ก็เป็นนักทดสอบที่เยี่ยมยอดเช่นกัน
- นักทดสอบ ความเป็นผู้ที่พอมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับที่คุณทำบ้าง สามารถให้ความเห็นกับคุณได้
- ก็ไม่เลวนะ หากคุณจะให้ผู้มีความรู้ หรือ Pro มาให้ความเห็นเกี่ยวกับเว็บไซต์คุณ
ทดสอบขั้นตอนข้างต้นหลาย ๆ ครั้งกับบุคคลที่ต่างกัน เพื่อช่วยให้คุณได้มุมมองใหม่ๆ และแนวทางการปรับปรุงเว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์ที่สุด จำไว้ว่าพยายามตอบคำถามให้ครบ ซึ่งคุณอาจเพิ่มเนื้อหาลงในหัวเรื่องเดียวกัน หรือบางทีอาจต้องสร้างหน้าใหม่ก็เป็นได้
ลองสังเกตว่า ผู้เข้าชมหาคำตอบเจอ(ไม่เจอ) อย่างไร?
การทดสอบเป็นเรื่องค่อนข้างละเอียด เพราะเว็บไซต์ที่สร้างไม่ใช่สำหรับคุณ แต่สำหรับผู้เข้าชม
ตอนนี้ คุณต้องแน่ใจว่า:
- คุณได้เรียบเรียงแท็บเมนูได้เหมาะสม ตั้งชื่อแท็บเมนูด้วยคำหลักที่อ่านแล้วสามารถเดาได้ว่าแท็บนั้นจะกล่าวเรื่องใด ตามที่ผู้ทดสอบได้ให้ความเห็น หรือจากการสังเกตของคุณ
- ดูว่าตอนนี้คุณมี 1 แท็บต่อ 1 คำถามหรือไม่
- หัวเรื่องในแต่ละหน้า เข้ากับเนื้อหาหรือไม่
- ตรวจสอบว่า เนื้อหาทั้งหมดครบถ้วน ดูให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ลืมพูดเรื่องใด หรือเขียนสลับหน้า
- ตรวจสอบลิงค์ต่างๆ และลิงค์ระหว่างหน้า ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าชมในการคลิกเพื่อหาคำตอบ
Test ก่อน และ Test บ่อยๆ
ประยุกต์ใช้ ในสิ่งที่ได้เรียนรู้
จากที่คุณได้เรียนรู้ในบท "ฮัลโหล Test" นี้ คุณจะสามารถ..
- บอกได้ว่า หัวเรื่อง ของแต่ละบท มีเนื้อหาสัมพันธ์กันในแต่ละหน้า ผู้เข้าชมสามารถอ่านง่าย เข้าใจดี
- ปรับปรุงการใช้คำหลัก(Keywords) สำหรับลิงค์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับเนื้อหา
- เพิ่มลิงค์เชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ให้มากขึ้น เพื่อการค้นหาคำตอบของผู้เข้าชม
- เรียงและจัดการแท็บต่างๆใหม่ ให้เหมาะสมว่าอันไหนควรมาก่อน หรือหลัง เพื่อการอ่านที่ต่อเนื่องของผู้เข้าชม
ดูให้ดีว่า หัวเรื่อง เข้ากับเนื้อหาหรือไม่
ประสบการณ์เว็บไซต์ ได้มาจากผู้เข้าชม
ณ ตอนนี้คุณก็ทราบถึงความต้องการของผู้เข้าชมแล้ว
- คุณรู้วิธีการอธิบายสิ่งต่างๆ ให้ผู้เข้าชม เข้าใจได้อย่างไร
- คุณได้สังเกตและเรียนรู้ว่าเว็บไซต์ไม่จำเป็นต้องอ่านทุกอักษร สามารถอ่านแบบข้ามๆ
หรือกลับไปกลับมาได้ - คุณทราบถึงการเลือกใช้คำหลัก(Keywords)เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เข้าชม
ถึงเวลารวบรวมเนื้อหาทุกบทหรือบล็อกมาพิจาราณา แล้วเขียนหัวข้อใหม่ โดยนึกอยู่เสมอว่า:
- หัวเรื่องของบทความจะต้องไม่ยาว หรือสั้นเกินไป
- เมื่ออ่านหัวเรื่องแล้ว ผู้อ่านต้องสามารถเดาได้ว่าบทความนั้นกล่าวถึงเรื่องใด
- หัวเรื่องเป็นจุดที่ผู้อ่านมักจะอ่านทุกครั้ง ก่อนเริ่มอ่านเนื้อหา
- เมื่อผู้เข้าชมต้องการหาสิ่งต่างๆ พวกเขาจะอ่านที่หัวเรื่องเพื่อดูว่าเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พวกเขาหาหรือไมเครื่องมือค้นหา (Search Engines) จะค้นหาคำหลัก(Keywords) จาก หัวเรื่อง, เนื้อหา, คำอธิบายใต้ภาพ, และ อื่นๆ
คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการแก้ไขและตั้งชื่อหัวเรื่อง
> ชื่อเรื่องหลัก ของแต่ละหน้า
เขียนประโยคหรือกลุ่มคำที่ สั้น กระชับ ความหมายครอบคลุม เพราะโดยปกติแล้วเมื่อจะเริ่มอ่านเนื้อเรื่อง
ผู้อ่านย่อมจะอ่านชื่อเรื่องก่อนเสมอ
> ชื่อเรื่องรอง ในแต่ละบล็อก
ในหนึ่งเรื่อง อาจแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ที่อยู่ในเรื่องหลักก็ได้ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหามากขึ้น สร้างหัวเรื่องรอง (อักษรใหญ่และหนาขึ้น) โดยคลิกที่ "T" ในกล่องแก้ไขข้อความ
> จากภายในสู่ภายนอก
เริ่มจาก แก้ไขชื่อเรื่องรองภายในบทความก่อน แล้วค่อยมาแก้ที่ชื่อเรื่องหลักของหน้านั้นๆ
เมื่อทุกสายตาต่างจับจ้องที่ "หัวเรื่อง"
แล้วไงต่อ?
ตอนนี้เว็บไซต์เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้ว และผู้เข้าชมสามารถเนื้อหาอ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น ใกล้ถึงเวลาสร้างหน้าหลัก หรือ โฮมเพจแล้ว แต่คุณต้องเรียนรู้ทักษะการนำเสนอเว็บไซต์ ให้โดดเด่นเสียก่อน....
ถึงเวลาที่เว็บคุณจะเปิดตัวให้ผู้อื่นเห็นแล้ว คลิกอ่าน การวางและปรับแต่งลิงค์ให้ได้ผล
ลิงค์ อัจฉริยะนำทาง ช่วยผู้อ่านทราบว่าอยู่จุดไหนบนเว็บคุณ
ลิงค์มี 2 ประเภท (เลือกพิจารณาเพื่อนำมาใช้บนเว็บคุณ)
ลิงค์ภายใน (Internal links)
• ลิงค์ภายใน คือ การลิงค์ไปหน้าอื่น ๆ ในเว็บของคุณ ลิงค์ชนิดนี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าชม ย้ายไปอ่านเนื้อหาหน้าอื่น ๆ ที่สนใจ ซึ่งมีเนื้อหาท่ีต่อเนื่องกัน และผู้เข้าชมจะทราบว่าเข้าดูหน้าไหน เมื่อเขาคลิกที่ลิงค์นั้น เช่น
ลิงค์เป็นการนำผู้เข้าชมไปยังหน้าอื่น เมื่อพวกเขากดที่ข้อความตัวอักษรนั้นๆ (แต่แท็บหัวเรื่องเป็นสิ่งแสดงทุกๆหน้าในเว็บคุณ เปรียบเสมือน สารบัญเว็บไซต์นั่นเอง)
ลิงค์ภายนอก (External links)
• ลิงค์ภายนอก คือ ลิงค์ที่เชื่อมไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ที่ไม่ใช่หน้าในเว็บไซต์ของคุณ เหมาะสำหรับใส่ไว้ท้ายสุด หรือจบบทของเนื้อหานั้นๆ เพื่อจะได้ลิงค์ไปยังเว็บต่อไปที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน เมื่อคุณต้องสร้างลิงค์ไปยังเว็บไซต์อื่นๆ คุณอาจสร้างลิงค์ข้อความ พร้อมกับตั้งค่าให้เปิดเว็บไซต์นั้นๆ ในหน้าต่างอื่น เพื่อไม่ให้ผู้เข้าชมเข้าใจผิดว่าเป็นเว็บไซต์เดียวกัน แต่คุณควรใส่ลิงค์เว็บนั้นๆให้ถูกต้อง และลิงค์นั้นๆ ต้องสามารถเข้าชมได้จริง
เคล็บลับเล็กๆน้อยๆ เพื่อช่วยคุณสร้างลิงค์ให้ถูกต้องและเป็นประโยชน์ที่สุด
- สีของลิงค์และบทความ ควรแยกสีให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ซึ่งธีม SimpleDifferent เตรียมเครื่องมือนี้ให้คุณแล้ว อย่าลืม!! แบ่งสีลิงค์ และตัวหนังสือให้ชัดเจน
- อย่ากลัวที่จะเขียนคำว่า "คลิกที่นี่เพื่อไปที่..." เพราะนี่เป็นการนำเนื้อหาอื่นในเว็บให้ผู้เข้าชมอ่าน
- …ควรใช้คำหลัก(Keywords) หรือกลุ่มคำที่สื่อความหมายชัดเจน ในข้อความลิงค์
- ลิงค์เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วย Google ได้รู้จักเว็บไซต์คุณ
ลิงค์ ช่วยเชื่อมโยงเนื้อหาเว็บไซต์ไว้ด้วยกัน
___
ใกล้ได้เว็บไซต์ที่สมบูรณ์แบบแล้ว ขั้นต่อไปพบกับ
การจัดเรียงแท็บเมนูให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความเข้าใจและสะดวกในการเข้าชม
* ดูแลผู้เข้าชมของคุณแล้วกูเกิลจะดูแลคุณเอง
การสร้างเว็บไซต์ถึงจะทำเอง ก็ยังต้องอาศัยผู้อื่นมาช่วย อย่างน้อยๆก็ ช่วยอ่านทวน ตรวจเช็คภาษาและการสะกดคำ เลือกภาพที่เหมาะสม ช่วยคิดตัวอย่าง เลือกสี เลือกธีมให้เหมาะสม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ที่คุณจะคิดได้ ...ยังมีอีกหนึ่งทางเลือกคือ การหาผู้ที่เหมาะสมมาทำสิ่งเหล่านี้ให้คุณ
การจัดระเบียบแท็บเมนู
ข้อมูล กับ การจัดการเป็นของคู่กัน
เมื่อเนื้อหาเริ่มมากขึ้น ... ถึงเวลาจัดระเบียบแท็บเมนูเสียที
ลำดับขั้นตอน ที่เรียบง่าย ชัดเจน
แน่นอน ต้องเรียงจากสิ่งที่ผู้เข้าชมถามมากที่สุด หรือคำถามที่สำคัญที่สุด
ไว้ด้านบนสุดของหน้า
จัดแท็บเมนูให้เป็นหมวดหมู่
ลองหันไปมองแท็บเมนูด้านซ้ายของคุณสิ เยอะขนาดนี้หากไม่จัดกลุ่ม จะทำให้ผู้เข้าชมอ่านยาก และตาลายได้นะ ลองแบ่งแท็บเหล่านี้ให้เป็นกลุ่มๆดู โดยคลิกที่ "เพิ่มหน้า" เลือก "ช่องเว้นระยะ" เพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลได้เร็วขึ้น
หน้า "ติดต่อ"
เป็นหน้าที่มีความสำคัญเช่นกันเพราะ ผู้เข้าชมจะติดต่อคุณผ่านหน้านี้ เพื่อให้ง่ายต่อการหา ควรนำหน้าติดต่อนี้ ไปไว้ที่ด้านล่างสุดของเว็บไซต์ และอย่าลืมเพิ่มรูปภาพ และแผนที่ลงไปในหน้านี้ด้วย เพื่อการติดต่อสอบถามที่ง่ายขึ้น
สร้างทางเลือก เพื่อผู้เข้าชม
ข้อมูลเป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจ ฉะนั้นควรจัดกลุ่มข้อมูลให้เหมาะสม เช่น กลุ่มลิงค์ที่เป็นประโยชน์, กลุ่มข้อมูลที่เกี่ยวกับบริษัท ประวัติ หรือ กิจกรรมต่างๆ
แท็บเมนู สารบัญขนาดย่อมของเว็บไซต์
ผลการวิจัยพบว่า การจัดกลุ่มแบบ 3 แท็บนั้น จะช่วยผู้อ่านหาสิ่งที่เจอง่ายขึ้น การจัดแบบมากกว่า 5 แท็บ จะลดความสนใจของผู้อ่าน ฉะนั้นพยายาม อย่าจัดกลุ่มให้มากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้อ่านลดความสนใจของกลุ่มนั้นๆลง ยิ่งกลุ่มเล็กเท่าไหร่ยิ่งหาเจอง่ายเท่านั้น
ถึงจะใช้สีที่ตัดกันเช่น ดำกับขาว หรือขาวกับตำ ผู้เข้าชมอ่านแล้วก็สบสนอยู่ดี
___
มาถึงขั้นตอนการสร้างหน้าสารบัญเว็บไซต์ เพื่อบ่งบอกว่าเว็บไซต์คุณมีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งใดบ้าง
นั่นคือ การเขียนหน้าหลัก หรือ โฮมเพจ
หน้าหลัก ที่ไม่ได้เริ่มเขียนเป็นหน้าแรก
หน้าหลัก (Home Page)
คนส่วนมากมักจะเริ่มเขียนหน้าหลักก่อน ….แต่หารู้ไม่ว่า การเขียนหน้าหลักนั้น ผู้เขียนต้องเข้าใจเนื้อหาภายในเว็บเสียก่อน โดยจะเขียนหน้าหลักได้เมื่อ:
- คุณมีลิสต์คำถามของผู้เข้าชมพร้อม
- คุณมีคำหลัก(Keywords) และกลุ่มคำสำคัญพร้อม
- คุณตอบคำถามลงในหน้าเว็บอื่นของคุณเรียบร้อย
- คุณได้เรียบเรียงและจัดการเนื้อหาของหน้าต่างๆ ลิงค์ และทำการทดสอบเสร็จ
ถึงตอนนั้น จึงจะเป็นเวลาที่คุณได้ทำการเริ่มเขียน หน้าหลัก เสียที
สรุปคือ
1 พยายามบอกให้ผู้เข้าชมรู้ว่าเขากำลังเข้าเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับอะไร หรือชื่อเว็บไซต์อะไร อยู่ที่ไหน
2 นำเสนอข้อมูลที่มีในเว็บให้ชัดเจน(อาจแบ่งเป็นข้อๆ) เพื่อให้ผู้เข้าชมเลือกหัวข้อที่สนใจได้ทันที
2 นำเสนอข้อมูลที่มีในเว็บให้ชัดเจน(อาจแบ่งเป็นข้อๆ) เพื่อให้ผู้เข้าชมเลือกหัวข้อที่สนใจได้ทันที
หน้าหลักที่ดีควรจะ...
- บอกผู้เข้าชมสักนิดหนึ่งว่า ตอนนี้เขาอ่านหน้าไหนอยู่
- มี 1 หรือ 2 รูปเพื่อประกอบการอธิบายหัวเรื่อง (แบรนด์ สถานที่ กิจกรรม ฯลฯ)
- เปิดตัวด้วยข้อความอธิบายสั้นๆ ในสิ่งที่ผู้เข้าชมคาดหวัง
- ตามด้วยคำอธิบายสั้นๆ ของกิจกรรมที่คุณต้องการนำเสนอ
- มีคำอธิบายเนื้อหาที่กระชับ ไม่ยาวจนเกินไป โดยการทำลิงค์ไปยังหน้าต่างๆ ลิงค์นั้นๆ ควรจะ เขียนและจัดการเนื้อหาให้อ่านเข้าใจง่าย
- ข้อความด้านล่างสุดของหน้า (Footer) ควรใส่ลิงค์ข้อมูลสำคัญสำหรับติดต่อกลับ หรือเป็นข้อมูลสำคัญอื่นๆ
เทคนิคหนึ่งที่ดี คือ สร้างหน้าหลักจากภายในสู่ภายนอก...
ยังไงล่ะ? ก็เหมือนขั้นตอนแรกที่คุณเริ่มเขียนเว็บ คือ ต้องมีเนื้อหาให้ครบ แล้วจึงเริ่มตั้งชื่อเรื่อง และชื่อแท็บเมนู จัดเรียงแต่ละบล็อค แต่ละหน้าให้เข้ากับหัวเรื่องแล้ว จากนั้นให้นำแท็บเมนู และเนื้อหา มาสร้างเป็นหน้าหลัก
หัวเรื่องของหน้า
ต้องมีคำหลัก และควรเขียนแนะนำให้ผู้อ่านทราบว่ากำลังอ่านสิ่งใด เพื่อให้เขาแน่ใจว่า เขากำลังเข้าชมเว็บไซต์ที่เขากำลังค้นหาคำตอบอยู่
หัวเรื่องเว็บไซต์
ควรใช้คำหลัก ที่ทำให้ผู้เข้าชมทราบว่าเขากำลังเข้าเว็บใดอยู่ แล้วเว็บนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เขาต้องการค้นหาหรือไม่
มี 1 หรือ 2 ภาพประกอบ เพื่อช่วยเติมสีสันให้หนัาหลัก
เลือกใช้ภาพประกอบที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เพื่อให้หน้าหลักของคุณ ดูน่าสนใจขึ้น
ไม่เพียงแค่ภาพประกอบเท่านั้น แต่คุณยังสามารถเพิ่มภาพส่วนบน และภาพส่วนล่างได้อีกด้วย
ระวัง!! อย่าเลือกรูปที่สื่อความหมายได้หลายอย่าง เพราะจะทำให้ผู้เข้าชมสับสนกับเนื้อหาในเว็บได้
การนำเสนอ ก็เปรียบเสมือน การแนะนำให้อ่านเนื้อหาภายใน
ถ้าเปรียบไป หน้าหลักก็เหมือนกับ สารบัญ ในหนังสือ ซึ่งคุณจะต้องอธิบายเนื้อหาคร่าวๆ โดยใช้ภาษาที่โน้มน้าวผู้อ่าน ให้อยากอ่านเนื้อหาภายในเว็บ หน้าหลักต้องไม่ยาว หรือสั้นเกินไป อ่านได้ใจความ ใช้คำหลักที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย
อย่างไรก็ตาม การเขียนหน้าหลักไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเมื่อคุณเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดในเว็บเป็นอย่างดีแล้ว หน้าหลักก็แค่เขียนเนื้อหาโดยรวมและอธิบายเล็กน้อย อาจเขียนเป็นลิสต์ หรือข้อๆ เพื่อให้ผู้อ่านคลิกลิงค์เลือกอ่านได้สะดวก ควรใช้คำหลัก เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้เข้าชม
สั้น เข้าใจง่าย เป็นการนำเสนอเนื้อหาเว็บไซต์ที่ดี
ดังที่กล่าวว่า หน้าหลักเปรียบเสมือนหนังสือ เมื่อเราต้องการทราบว่าหนังสือเล่มนั้นกล่าวเกี่ยวกับสิ่งใดบ้าง เรามักจะเปิดอ่านที่สารบัญ แล้วค้นหาคำตอบที่เราต้องการ หน้าหลักของเว็บไซต์ก็เช่นกัน คุณควรนำเสนอเนื้อหาในเว็บของคุณ และสิ่งที่เกี่ยวข้อง หรือมีในเว็บไซต์ โดยใช้คำอธิบายที่สั้น เข้าใจง่าย ตรงประเด็น และการเน้นคำก็เป็นอีกทางเลือกเมื่อคุณต้องการจะให้ความสำคัญกับหัวข้อนั้นๆเป็นพิเศษ เช่นการใช้ ตัวหน้า(B) หรือการใช้เครื่องมือ "T" เมื่อต้องการสร้างหัวเรื่องรอง สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้เข้าชมและ Google หันมาสนใจคุณได้ไม่ยาก
ข้อความท้ายสุด(Footer)
อยู่ล่างสุดของทุกหน้าเว็บไซต์ ตามที่ได้อธิบายในหัวข้อ ลิงค์เชื่อมหน้า ข้อความด้านท้ายถือเป็นส่วนสำคัญ เพราะสามารถใส่รายละเอียดลิงค์สำคัญ ซึ่งจะแสดงให้เห็นที่ด้านล่างของทุกหน้า ข้อความท้ายสุดอาจใส่ ข้อมูลติดต่อ ลิงค์แผนที่ เบอร์โทรศัพท์ หรือ แม้แต่สโลแกนประจำเว็บไซต์ ก็ได้เช่นกัน
ช่วยให้เขาค้นพบสิ่งที่หาคืองานของคุณ
___
เมื่อทุกอย่างเสร็จ...แต่ยังไม่เสร็จทุกอย่าง ยังขาดขั้นตอนที่เรียกว่า
ทดสอบเว็บไซต์ ขั้นตอน และคำแนะนำ
การทดสอบ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่นักสร้างเว็บควรทำอยู่เสมอ
คุณอาจไม่เชื่อว่า บริษัทใหญ่ๆมักสูญเงินจำนวนมากไปกับการทำเว็บไซต์ โดยไม่มีการทดสอบการใช้งานเว็บที่สร้าง และกว่าจะเห็นความสำคัญของการทดสอบนี้ก็สายเสียแล้ว
เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำสอง หรือมากกว่านั้น คุณไม่ควรมองข้ามการทดสอบเว็บไซต์ การทดสอบเว็บไซต์นั้น จะทำให้เกิดการพัฒนาใน 2 ด้านคือ 1.ตรวจดูว่าคุณไม่ได้พลาดการตอบคำถามที่มีของผู้เข้าชม 2.ได้สังเกตพฤติกรรมผู้เข้าชม ทดสอบขั้นแรกโดย อ่านเนื้อหาอีกครั้ง เพื่อเช็คภาษาและความเข้าใจ และขั้นต่อไป....
ควรทดสอบเมื่อใด?
• ไม่ใช่อยากทดสอบเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ต้องดูว่าผลการทดสอบครั้งแรกเป็นอย่างไร แล้วจึงมาวิเคราะห์ผล และปรับปรุงเสียก่อน
• คุณควรมีอีกคนเพื่อช่วยคุณอ่าน และเช็คภาพรวม เช่น ความเข้าใจเนื้อหา การใช้ภาษา การสะกดคำ และอื่นๆ เพื่อให้ได้เว็บที่มีคุณภาพ เพราะบางครั้งคุณอาจเบลอ และมองไม่เห็นข้อผิดพลาดนั้นๆ
• ลองทดสอบเหมือนครั้งแรก โดยไม่ให้ผู้ที่ทำการทดสอบ อ่านหน้าหลัก(ให้คุณล็อคหน้าหลักไว้ไม่ให้เผยแพร่) แล้วลองสังเกตผลการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบกับครั้งแรก
• ตรวจสอบอีกครั้ง แล้วลองจัดเรียงแท็บเมนู และตรวจทานหน้าหลักด้วย
• เปิดช่องรับความคิดเห็น(หน้าติดต่อ) เพื่อรับฟังความเห็นของผู้เข้าชม
• เมื่อถึงเวลาอัพเดทข้อมูลเว็บไซต์ครั้งใหม่ ให้ทำการทดสอบก่อน
ท่องไว้ "ทดสอบเพื่อความมั่นใจ"
• ขณะทำการทดสอบ ให้คุณนึกอยู่เสมอว่าคุณคือผู้เข้าชม ไม่ใช่คนทำเว็บไซต์ ทำใจให้เป็นกลาง แล้วคุณจะพบสิ่งที่คุณอาจทำพลาดไป เช่น คุณอาจเขียนบทความที่เกินจริง
• พร้อมเสมอ ที่จะทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เมื่อพบสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้เข้าชมตัดสินใจอ่านหน้าต่อไป หรือปิดเว็บคุณไปทันที
• อย่าเชื่อคนๆเดียวจนเกินไป เมื่อคนที่คุณให้เขาช่วยทดสอบให้ความเห็นมา อย่าพึ่งแก้ไข้ เพราะคุณควรฟังจากหลายๆความเห็น ไม่ใช่เพียงความเห็นเดียว และอย่าลืมดูความสมเหตุสมผลด้วย
• ช่างสังเกต ใจเย็น และ ยอมรับฟัง เมื่อผู้ที่ทำการทดสอบเว็บคุณ แสดงความเห็นส่วนตัวของเขา อย่าพึ่งโมโห สังเกตการใช้งานของเขา รับฟังความคิดเห็น และนำมาวิเคราะห์ ให้คุณ "ฟัง จด และ จำ"
ยังมีความเห็นอีกมากมายในโลกนี้ที่คุณยังไม่ทราบ เปิดใจรับฟังสิ่งที่แตกต่าง
เส้นทางความสำเร็จ
- การทดสอบทุกครั้ง เป็นตัวช่วยให้คุณปรับปรุงเว็บให้ดีขึ้น เช่น เมื่อคุณเข้าเว็บไซต์ และมองแท็บเมนูแล้ว รู้สึกตาลาย คุณก็จดไว้เป็นข้อแรก และจดข้อต่อๆไปไว้ เพื่อนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น
- เมื่อคุณทำการทดสอบ คุณอาจพบคำถามใหม่ที่เกิดในใจคุณ อย่ามองข้ามเพราะผู้เข้าชมก็สงสัยเหมือนคุณ เพิ่มคำตอบลงไปในเว็บ
- ผู้เข้าชมจำได้ว่าข้อมูลที่เขาค้นหาอยู่หน้าไหนของเว็บคุณ ก็ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นของเว็บคุณ
- ความสำเร็จ...หากผู้เข้าชมอ่านแท็บเมนู หรือ หัวเรื่องในแต่ละหน้าแล้วสามารถคาดเดาได้ว่า เนื้อหาจะกล่าวถึงใด
- ความสำเร็จ...เมื่อผู้เข้าชมรู้สึกว่าเว็บคุณ อ่านง่าย เป็นระเบียบ ไม่สับสนในเนื้อหา
- ความสำเร็จ...คุณจะรู้ว่าเว็บไซต์ของคุณดี จากการที่ผู้เข้าชม อยากอ่านเนื้อหาหน้าต่อๆไปในเว็บคุณ โดยที่คุณไม่ต้องแนะนำ
- ความสำเร็จ...เมื่อมีผู้ให้คำติชมคุณผ่านหน้าติดต่อ และบอกคุณว่า เนื้อหาของคุณเป็นประโยชน์กับเขาจริงๆ
- ความสำเร็จ...เมื่อคุณได้รับความคิดเห็นในเชิงบวกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จำไว้ว่า ผลการทดสอบที่ไม่มีสิ่งผิดพลาด ไม่ใช่สิ่งที่บอกถึงความสำเร็จ
เพราะความสำเร็จของการทดสอบคือ การที่คุณได้เรียนรู้ว่า จะบอกผู้เข้าชมอย่างไรให้ง่ายที่สุด
___
เมื่อการสร้างเนื้อหาเสร็จสิ้น ถึงเวลาที่จะช่วย Google และเครื่องมือค้นหาอื่นๆ เข้าใจเว็บคุณมากขึ้น
เมต้าแท็ก(Meta tag) คืออะไร
เมต้าแท็ก คืออะไร?
คำว่า meta tags, meta data หรือ meta element คือสิ่งเดียวกัน เป็นส่วนหนึ่งของภาษาที่ใช้สำหรับเขียนเว็บไซต์ หรือ HTML code ซึ่งเมต้าแท็กเหล่านี้ มีหลายประเภท ทำหน้าที่หลายอย่าง ซึ่งในที่นี่จะอธิบายความรู้พื้นฐาน ความสำคัญ และการใช้งานเมต้าแท็ก
เรียนรู้วิธีการใช้งานเมต้าแท็กง่ายๆ ด้วย เครื่องมือเมต้าแท็กของ SimpleDiferent (รูปกุญแจข้างๆตัวล็อค มุมขวาของหน้าเว็บ) และเรียนวิธีกรอกข้อมูลเมต้าแท็กให้ได้ผล ซึ่งหากคุณมีข้อสงสัยในการกรอก
คุณสามารถคลิกที่เครื่องหมาย "?" ในวงกลมเล็กๆสีเหลืองข้างๆช่องกรอกข้อมูลได้
ทราบหรือไม่ว่า เมต้าแท็กนั้น มีส่วนช่วยให้ เครื่องมือค้นหา(Search engines)ต่างๆ พบเว็บคุณได้ ฉะนั้นมาดูวิธีการเขียน เมต้าแท็กที่ถูกต้องกัน
จากนิยายสู่ชีวิตจริง
ผู้คนมักพูดกันว่า เมต้าแท็กเท่านั้น ที่จะทำให้ Search Engines ค้นหาเว็บเราเจอนั้น ไม่ถูกต้องนัก จริงๆแล้ว เมต้าแท็ก ไม่ได้เป็นเครื่องมือเพียงอย่างเดียว ของ Search engines
เมต้าแท็ก เป็นตัวยืนยันเนื้อหา เพื่อให้ Google และเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ มองเห็นและนำมาพิจารณา
ซึ่งการเขียน การจัดการเนื้อหา การตอบคำถามผู้เข้าชมให้ได้นั้น เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะบ่งบอกความมีคุณภาพของเว็บไซต์คุณ
เมต้าแท็กเหล่านี้ เป็นเพียงตัวช่วยเสริม เพื่อให้เครื่องมือค้นหาสามารถมองเห็นเว็บไซต์ของคุณได้เร็วขึ้น การทำงานของเมต้าแท็กจะช่วยได้ดี เมื่อข้อมูลในเมต้าแท็กสัมพันธ์กับสิ่งที่ Google มองเห็นเนื้อหาในเว็บคุณ เมต้าแท็กก็เปรียบเสมือนโบนัสในแง่ของการที่ค้นหา และการเจอสิ่งที่หา หากข้อมูลเมต้าแท็ก ไม่ตรงตามเนื้อหา ก็จะเกิดผลเสีย
วิธีใส่ เมต้าแท็ก ลงในเว็บไซต์คุณ
คุณสามารถเพิ่มและแก้ไขเมต้าแท็กสำหรับเว็บไซต์คุณได้โดย คลิกที่รูปกุญแจ(มุมขวาบนข้างๆรูปตัวล็อค ใต้เครื่องมือตั้งค่าเว็บไซต์) ใส่เมต้าแท็กตามประเภทที่เขียนไว้ หากต้องการความช่วยเหลือให้คลิกรูปเครื่องหมาย " ? " อยู่ในวงกลมสีเหลือง เพื่ออ่านคำอธิบาย
หมายเหตุ: การใส่คำหลัก ไม่ควรซ้ำกัน ควรมีคำที่ตรงกับเนื้อหาในหน้านั้นๆ
หมายเหตุ: การใส่คำหลัก ไม่ควรซ้ำกัน ควรมีคำที่ตรงกับเนื้อหาในหน้านั้นๆ
เมต้าแท็ก กับ เครื่องมือค้นหา และ ประสิทธิภาพของเมต้าแท็ก
ช่อง "<title> meta tag" หรือ <หัวเรื่อง>เมต้าแท็ก
เนื้อหาในช่องนี้คือ "หัวเรื่อง หรือ ชื่อเรื่อง" นั่นเอง เมื่อพิมพ์ไปแล้ว จะปรากฎที่ ด้านบนของหน้าต่าง หรือแท็บ เว็บบราวเซอร์นั้นๆ เป็นเหมือนชื่อเรื่องที่คอยแนะว่า เนื้อหาเว็บ หรือหน้านั้นๆจะเกี่ยวกับสิ่งใด ตัวอย่างเช่น ตอนนี้คุณกำลังอ่านหน้านี้อยู่ หากลองมองที่ด้านบนของหน้าต่างนี้ก็จะเขียนว่า "เครื่องมือเมต้าแท็ก-SimpleDifferent" เมต้าแท็ก ไม่ควรจะยาวมากเกินไป และบอกสิ่งที่เกี่ยวกับเนื้อหาในหน้านั้นๆ
ช่อง "<Description> meta tag หรือ <คำอธิบาย> เมต้าแท็ก
ช่องนี้เป็น"คำอธิบาย" โดยคร่าว ๆ เกี่ยวกับเนื้อหาในแต่ละหน้า ซึ่งจะแสดงเมื่อ หน้าเว็บนั้น ถูกค้นเจอในหน้ากูเกิล คำอธิบายนี้ก็จะอยู่ด้านล่างของตัวหนังสือสีน้ำเงินที่ขีดเส้นใต้
คำอธิบายนี้จะช่วยให้ผู้ค้นหา ทราบข้อมูลของเว็บโดยคร่าว ๆ ก่อนคลิกเข้าชมจริง
Google มักใช้ข้อมูลในช่องนี้ เพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าเนื้อหาในเว็บ เป็นเนื้อเรื่องเดียวกันกับในช่องที่คุณกรอกนี้ ฉะนั้นควรกรอกคำหลัก ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บให้ครบถ้วน (อย่ายาวมาก สรุปเพียง 2-3 ประโยคก็พอ) จะช่วยให้ผู้เข้าชมได้ทราบก่อนเข้าชมเว็บไซต์คุณ
พยายามหลีกเลี่ยงคำกล่าวโฆษณาเกินจริง เช่น ดีที่สุด, มหัศจรรย์, ไม่มีอีกแล้ว, ฯลฯ เพราะกูเกิลจะไม่เชื่อคุณ
ช่อง "<Keywords> meta tag" หรือ <คำหลัก> เมต้าแท็ก
ช่องใส่ คำหลัก ใช้ใส่คำหลักลงไป ซึ่งสำหรับกูเกิลแล้ว คุณสมบัติของช่องนี้ก็ไม่ได้ต่างไปจากช่องอื่นเลย การใส่คำ แต่ละหน้าควรใส่คำหลักไม่เกิน 5 คำ(เลือกที่สำคัญ)
อย่าใส่ คำหลัก ที่ไม่มีในเนื้อหาหน้านั้นลงไป
ช่อง"name of this file on server" tag หรือ "ชื่อเอกสาร"
ข้อความในช่องนี้จะแสดงอยู่ด้านหลังสุด ของช่องที่อยู่เว็บไซต์(ช่องที่กรอก www.)
ซึ่งจริงๆแล้วนี่ไม่ใช่ เมต้าแท็ก แต่ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้เพราะ ข้อความในช่องนี้จะช่วยให้ผู้อ่านทราบว่ากำลังอ่านหน้าไหนอยู่และทำให้ Google เข้าใจเว็บคุณมากขึ้น
ข้อความในช่องนี้ก็คล้ายกับ หัวเรื่อง เพราะจะแจ้งให้ผู้เข้าชมทราบว่าเขากำลังอ่านอะไรอยู่(อ่านได้จากช่อง ที่อยู่เว็บไซต์ หรือ ที่ใหกรอก url) ไม่จำเป็นต้องเขียนยาว สั้น ๆ ได้ใจความ การตั้งชื่อช่องนี้จะช่วยยืนยันเนื้อหาให้ Google เข้าใจอีกทาง
หมายเหตุ: ควรระวัง ก่อนกรอกข้อมูลเมต้าเดต้า ต้องพิจารณาคำให้ดีเสียก่อน เพราะหากคุณเปลี่ยนข้อความจะมีผลต่อการค้นหาด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับ เมต้าแท็ก ที่นี่
ช่วย Search engines เข้าใจเว็บคุณด้วยการให้ความสำคัญกับเนื้อหาเว็บไซต์
80% ที่ผ่านมาล้วนเกี่ยวกับเครื่องมือค้นหาทั้งสิ้น..ก้าวสู่ความเป็นโปรกัน!
การตรวจสอบครั้งสำคัญบนเครื่องมื่อค้นหา (Search Engines)
• เมื่อกดเผยแพร่เว็บไซต์แล้ว ไม่ได้หมายความว่าเว็บคุณจะขึ้นบนหน้ากูเกิลทันที
คุณต้องทำการส่งลิงค์เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ หรือไม่ คุณก็ต้องสมัครสมาชิกกับเครื่องมื่อค้นหานั้นๆ
• เครื่องมือค้นหาไม่สามารถอ่านเนื้อหาบนเว็บคุณได้จริง แต่การที่เขาเจอเว็บคุณ เนื่องมาจากการวิเคราะห์คำ จากเนื้อหาบนเว็บคุณ ก็เหมือนผู้เข้าชมที่เลือกเข้าชมเว็บไซต์เพราะเจอคำหลักที่อาจตอบคำถามเขาได้*
• เครื่องมือค้นหามีระบบจับกลุ่มของคำหลักที่ชาญฉลาด มันสามารถจัดกลุ่มระหว่างคำหลักด้วยกัน จากนั้นก็แยกประเภทของข้อมูล เช่น เครื่องมื่อค้นหาจะทราบทันทีว่าเว็บคุณกล่าวถึงเรื่องน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์
ไม่ใช่น้ำมันพืชสำหรับปรุงอาหาร จากคำหลักในเว็บ จากนั้นเขาจะพยายามจัดกลุ่มคำหลักเพื่อหาคำมาให้ตรงกับสิ่งที่ผู้เข้าชมพิมพ์ค้นหา*
• เพราะงานของเครื่องมือค้นหา คือการช่วยหาคำตอบ ให้ผู้ใช้งาน
• เครื่องมือค้นหา เกลียดเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสับสน อ่านยาก พยายามจัดการเนื้อหาให้อ่านง่าย ตอบตรงคำถาม เพื่อผู้เข้าชมและกูเกิล
• ปัจจัยสำคัญสำหรับเครื่องมือค้นหา คือ "เวลา" เหมือนคำพูดที่ว่า ยิ่งแก่ยิ่งเก๋า
* ดูแลผู้เข้าชมของคุณแล้วกูเกิลจะดูแลคุณเอง
เว็บคุณจะหาเจอง่ายนิดเดียว! หากคุณทำตามคำแนะนำนี้:
เมื่อคุณได้สร้างเว็บไซต์เพื่อผู้เข้าชมของคุณอย่างตั้งใจ ตอนนี้ก็เป็นเวลาของเครื่องมือค้นหาที่จะเข้ามาในเว็บไซต์คุณ เพื่อค้นหาคำตอบต่างๆที่ตรงกับคำถามที่ผู้เข้าใช้พิมพ์ค้นหา
- เพราะเครื่องมือค้นหาถูกสร้างมาเพื่อหาคำตอบให้ผู้ที่ทำการค้นหา และหากคุณเขียนเว็บไซต์ให้มีคำตอบ ตรงกับคำถามที่ผู้ใช้พิมพ์ค้นหา กูเกิลก็จะเข้ามาหาคุณเอง
- ใส่คำหลัก ที่แสดงให้เห็นว่าเว็บคุณกล่าวถึงเรื่องใดอยู่ เพราะเครื่องมือค้นหา มีหลักการทำงานโดย การค้นหาคำหลักจากเว็บของคุณ เพื่อตรวจสอบเนื้อหาในเว็บคุณ
- 1 หน้า ต่อ 1 หัวเรื่อง เพื่อช่วยผู้อ่านเจอสิ่งที่หาโดยเร็ว แล้วช่วยให้กูเกิลชอบคุณเพิ่มขึ้น
- เขียนลิงค์ โดยใช้คำหลักที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ลิงค์ไป เพื่อบอกให้ผู้เข้าชมทราบเรื่องที่กำลังหาคำตอบอยู่ และเครื่องมือค้นหาจะแสดงเว็บคุณให้ผู้เข้าชมคลิก เพื่อตอบสิ่งที่เขาสงสัย
- การทำลิงค์เพื่อเชื่อมโยงไปในแต่ละหน้า ทำให้ง่ายต่อการเข้าชม สามารถชมเนื้อหาได้อย่างทั่วถึง และต่อเนื่อง
- หากเรื่องที่คุณจะกล่าวถึง ประกอบด้วยหัวข้อย่อย คุณสามารถทำหัวข้อย่อยนั้น ให้เป็นหัวเรื่องรองได้ เช่น คำว่า ห้องพัก เป็นหัวเรื่องหลัก ซึ่งแบ่งหัวเรื่องรองได้อีก เช่น ประเภทห้อง ราคา สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น การมีหัวเรื่องย่อยนั้นเป็นเรื่องปกติของเว็บไซต์ ช่วยให้เครื่องมือค้นหาสามารถค้นเจอได้เช่นกัน (ในส่วนเมต้าแท็กของภาษาเว็บไซต์ หรือ HTMLโค้ด จะเรียกว่า H1,H2)
พอจะทำให้คุณเห็นภาพบ้างหรือไม่ : เครื่องมือค้นหาทำหน้าที่อย่างดีที่สุดเพื่อผู้ใช้เสมอ
ตราบใดที่คุณยังช่วยเหลือผู้อ่านของคุณอยู่ก็เหมือนว่าคุณได้ช่วย Google ค้นหาคำตอบให้ผู้อ่านของคุณอีกทาง
ทำอย่างไรจึงจะทราบว่าเครื่องมือค้นหามองเห็นเว็บคุณแล้ว
เข้าชมอีกเว็บของเราเพื่อเรียนรู้วิธีการโปรโมทเว็บไซต์ของคุณ การโปรโมทเว็บไซต์ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เข้าไปดูว่าวิธีการโปรโมทเว็บไซต์ ให้เป็นที่รู้จัก ทำอย่างไร ปรับตั้งค่าอย่างไรให้ได้ผล
ขณะนี้คุณได้เดินบนเส้นทางนักเขียนเว็บ...
ตอนนี้คุณได้เข้าใจแล้วว่า จริงๆแล้วการสร้างเว็บไซต์นั้นต้องสร้างโดยให้ความสำคัญกับ
ความต้องการของของผู้เข้าชมและเครื่องมือค้นหาก่อน
แต่ยังมีอีก 2 สิ่งที่คุณต้องทำ...
1.อ่านเว็บคุณทั้งหมดอีกครั้งด้วยใจเป็นกลาง
ค่อยๆ ปรับปรุงเว็บไซต์
ไม่จำเป็นต้องรีบ เพื่อให้เว็บไซต์ออกมาดีที่สุด
2.เรียนรู้วิธีโปรโมทเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จัก
มาเริ่มเรียนรู้วิธีการโปรโมทเว็บไซต์ กับคู่มือแนะนำการโปรโมทเว็บไซต์กับ SimpleDifferent
เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ SimpleDifferent ทุกท่าน
หากมีความเห็น หรือคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับเว็บไซต์นี้ โปรดอย่าให้ความเห็นของคุณต้องสูญเปล่า
แสดงความคิดเห็นของคุณกับเรา เพื่อช่วยพัฒ
การสร้างเว็บไซต์ถึงจะทำเอง ก็ยังต้องอาศัยผู้อื่นมาช่วย อย่างน้อยๆก็ ช่วยอ่านทวน ตรวจเช็คภาษาและการสะกดคำ เลือกภาพที่เหมาะสม ช่วยคิดตัวอย่าง เลือกสี เลือกธีมให้เหมาะสม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ที่คุณจะคิดได้ ...ยังมีอีกหนึ่งทางเลือกคือ การหาผู้ที่เหมาะสมมาทำสิ่งเหล่านี้ให้คุณ
ความสมบูรณ์ของเนื้อหาจะเสริมสร้างคุณภาพที่ดีให้เว็บไซต์
บอกความต้องการของคุณได้
หากคุณทำเว็บไซต์เอง คุณก็จะพยายามนึก ว่าคำถามใด ที่ผู้เข้าชมมักจะถาม หรือต้องการคำตอบ ซึ่งทำให้ทราบความต้องการของคุณที่ชัดเจนมากขึ้น และสามารถอธิบายได้
เมื่อคุณมีผู้สร้างระดับมืออาชีพ คุณจะได้พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารจากการอธิบายสิ่งที่คุณต้องการให้ กับโปรผู้มีความชำนาญ สำหรับผู้มีประสบการณ์ ด้านการสร้างเว็บไซต์ เขาจะยินดีมาก หากคุณพยายามค่อย ๆ เรียนรู้ทีละนิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาทำ จะดีแค่ไหน หากทั้งเขากับคุณแบ่งปันและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
เลือกคนให้เหมาะสมกับงาน
>>ง่ายมาก แค่หา นักออกแบบเว็บไซต์ คนทำเว็บไซต์ หรือผู้ดูแลเว็บไซต์สักคนมาทำ เพราะพวกเขา ทำได้ดีทุกอย่างอยู่แล้ว.... คุณแน่ใจหรือ?
เป็นเรื่องยากที่เราจะหาคนที่เก่งทุกด้านมาทำ ...แต่เมื่อคุณสร้างเว็บกับ SimpleDifferent
เพียงเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน หาลูกทีมที่มีความถนัดในด้านต่างๆ มาช่วยทำเว็บไซต์ของคุณ แต่ทุกส่วนคุณสามารถจัดการ และควบคุมได้
นี่คือเหตุผลว่าทำไม SimpleDifferent ถึงเหมาะกับทุกคน
เพราะ SimpleDifferent ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่ง่าย ใครๆก็ใช้ได้
อย่าปิดกั้นความสามารถของคุณ เพราะคุณเองก็สามารถสร้างและออกแบบทุกอย่างได้
เว็บไซต์ทั้งหมดอยู่ในมือคุณ "ใช้งานง่าย" ไม่ใช่เป็นเพียงจุดขาย แต่ยังเป็นหลักการที่เรายึดมาโดยตลอด
บางครั้ง คุณก็ไม่ได้ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง แต่เป็นเพียงผู้ประสานงาน รวบรวมงาน ที่มอบหมายให้ลูกทีมทำ แล้วเรียบเรียง และปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ในเว็บไซต์ให้ดีขึ้น เพื่อประโยชน์แก่ลูกค้าของคุณ
เช่นเดียวกันคุณสามารถจ้างโปรหรือบุคคลที่เหมาะสมกับงานมาช่วยคุณได้ โดยใช้คำแนะนำทั้งหมดนี้ เป็นแนวทางการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ให้เสร็จสมบูรณ์ได้นาเว็บ
ลิงค์ที่เป็นประโยชน์ในการสร้างเว็บ กับ SimpleDifferent
ติดอันดับเครื่องมือค้นหา (Search Engines) ทำอย่างไร
เทคนิคการติดอันดับการค้นหา
หลักการเบื้องต้นของการติดอันดับการค้นหาบนเครื่องมือค้นหา
คลังความรู้และคู่มือช่วยเหลืออื่นๆ จาก SimpleDifferent
มาดูเทคนิค และวิธีการโปรโมทเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จัก
รูปแบบเพิ่มเติม ที่ใช้ได้ในแพ็คเกจ Pro กับ SimpleDifferent
เขียนเว็บอย่างไร ให้ได้ใจผู้เข้าชม
เทคนิคการทำเว็บไซต์ และเว็บเพจให้น่าสนใจไซต์ให้ดีขึ้น เพราะทุกความเห็นของคุณมีค่าสำหรับเรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น