การหา keywords



คีย์เวิร์ด (keywords) ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการที่จะบอกว่า เราจะรุ่ง หรือจะร่วง กับการทำ Internet marketing ไม่ว่าจะทำ AdSense , Affiliate, Amazon หรือแนวอื่น ๆ ที่ขึ้นตรงต่อ Search Engine ฉนั้นควรเลือก Keywords ให้เหมาะสม ก่อนลงสนามแข่งขัน

ในทางปฏิบัติมีวิธีการมากมายที่จะได้มาซึ่ง Keywords ที่ดี ไม่ว่าจะเป็นบริการหา Keywords จากผู้ให้บริการต่าง ๆ ทั้งเสียเงิน และฟรี หรือซอฟแวร์ช่วยหา Keywords ที่มีทั้งฟรีและเสียเงินเช่นกัน แต่คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ถ้าหา Keywords ดี ๆ ได้และฟรีด้วยจะดีที่สุด (Keywords ดี ๆ จะเรียกกันว่า Niche Keywords ออกเสียง "นิช คีเวิด" ซึ่งหมายถึง Keywords ที่ยังมีช่องทางในการทำเงินได้ดี)

"ของฟรีดี ๆ ไม่มีในโลก" อันนี้ก็ไม่จริงซะทีเดียว ของฟรีดี ๆ ก็มีให้เห็นกันมาก แต่คนมักจะไม่ค่อยเห็นค่าของฟรีมากนัก เนื่องจากมันฟรี แต่ถ้าลองได้เสียเงินแล้ว จะใช้ให้คุ้มค่าทุกบาททุกสตางค์ทีเดียว

Q : แล้วจะใช้เครื่องมือตัวไหนถึงจะหา Keywords ดี ๆ ได้หล่ะ จะรู้ได้อย่างไรว่า Keywords ไหนเป็น Keywords ทองคำ
A : ไม่มีหรอกเครื่องมือที่จะหา Keywords ทองคำได้ แต่อาจจะช่วยนำทางไปหา Keywords ดี ๆ ได้ คำตอบที่ดีที่สุดคือ "ทดลอง" ถึงจะเห็น Keywords ทองคำจริง ๆ (แต่ก็ไม่ทองคำตลอดไป)

"อ่านมายาวแล้วนะ เมื่อไหร่จะบอกวิธีหา หรือจะใช้เครื่องมืออะไรก็ว่ามา"

หลายคนคงใจร้อนอยากรู้แล้วว่าเทคนิคการหา Keywords แบบอ้างอิง Goo (เกิ้ล) เป็นแบบไหน งั้นก็เข้าเรื่องกันเลย

แนวคิดมีอยู่ว่า Google คือผู้กุมความลับเกือบทั้งหมดของการค้นหา แน่นอนว่าข้อมูลที่ได้จาก Google น่าจะเชื่อถือได้มากกว่า 80% (ไม่ทุกกรณี บ้างครั้ง Google ก็โกหกเราแบบ 100%) โดยเราจะอาศัยเครื่องมือในการหา Keywords จาก Google ที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันอยู่แล้ว นั้นคือ Keyword Tool ของ Google (https://adwords.google.com/select/KeywordToolExternal) แต่มีเทคนิคเพิ่มเติมที่จะทำให้เราได้ Keywords ที่ค่อนข้างดี ด้วยการนำ Keywords ที่ได้ มาวิเคาะห์เพิ่มเติม พอจะสรุปง่าย ๆ ได้ดังนี้

1. หา Keywords และปริมาณการค้นหา จาก https://adwords.google.com/select/KeywordToolExternal
2. หา Keywords ที่ราคาดี ๆ จาก https://adwords.google.com/select/TrafficEstimatorSandbox
3. หาคู่แข่งจาก Search Result (Google, Yahoo, MSN)
4. นำข้อมูลทั้ง 3 ข้อมาวิเคราะห์ (อันนี้ต้องใช้ common sense)
5. ทดลอง Keywords ที่หาได้ (ถ้าโชคดีก็จะเจอ Niche Keywords) ถ้าไม่ได้ก็กลับไปทำซ้ำตั้งแต่ข้อ 1.

เห็นไหมครับว่าขั้นตอนก็เดิม ๆ ไม่มีอะไรแปลกไหม่เท่าไหร่ แต่ถ้าใครได้ลองตามขั้นตอนนี้แล้วจะเห็นว่าต้องใช้เวลามากพอสมควร จึงจะได้ Keywords ออกมาแต่ละชุด ถ้าใช้เวลาและแรงงานเยอะอย่างนั้นคงไม่เรียกว่าเทคนิคแน่นอน

ลองมาดูเทคนิคเพิ่มเติมที่จะทำให้ได้ Keywords ดี ๆ ได้ในเวลาไม่มากนัก โดยไปตามขั้นตอนเหมือนเดิม
1. หา Keywords จาก https://adwords.google.com/select/KeywordToolExternal โดยตัวอย่างจะลองหา Keywords ที่เกี่ยวข้องกับ acne (สิว)

เสร็จแล้วก็คลิกที่ .csv (for excel) เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ Keywords 150 คำแรกมาเปิดโดย excel

ทำการเรียงลำดับจำนวนการค้นหาของแต่ละ Keywords จากมากไปหาน้อย




จากนั้นเลือก Keywords ตามจำนวนที่ต้องการ ตัวอย่างเลือกแค่ 20 คำ เพื่อที่จะไปขั้นตอนหา Keywords ที่ราคาดี ๆ เราไม่จำเป็นต้องเอาคำที่มีการค้นหามากสุดก็ได้ เลือกเอาในช่วงที่มีการค้นหาพอสมควร เช่นสัก 5000 - 100000 เพื่อที่จะได้ลดจำนวนคู่แข่งไปได้ เนื่องจาก Keywords ที่มีการค้นหาสูง คู่แข่งย่อมจะเยอะ เมื่อได้จำนวนตามต้องการแล้ว ก็ลบคำที่เราไม่ต้องการออก พร้อมทั้งเรียงรายชื่อใหม่ ตามตัวอักษรของ Keywords
จากนั้นก็ลบคำที่เราไม่ต้องการออก




2. ไปที่ https://adwords.google.com/select/TrafficEstimatorSandbox แล้วใส่ Keywords ทั้ง 20 คำ


เสร็จแล้วก็ทำการดาวน์โหลดมาเปิดด้วย excel


ทำการคัดลอกค่า Estimated Avg. CPC และ Estimated Click/Day ไปใส่ในไฟล์ excel ในข้อ 1.




3. หาคู่แข่งจาก Search Result (Google, Yahoo, MSN) ตรงนี้อาจจะเป็นปัญหาสำหรับหลายคน ว่าจะต้องหาทีละคำ ทีละ Search Engine โอ้โห้.... กว่าจะครบนี่เหงื่อตกกันพอดี บางคนอาจจะมีตัวช่วยให้ง่ายขึ้นด้วยเครื่องมือต่าง ๆ



4. วิเคราะห์ข้อมูลที่มีทั้งหมด เพื่อหา Keywords ที่น่าสนใจ โดยอาจจะทำการเรียงลำดับดังนี้
1 จำนวนคู่แข่งใน Google (เพราะเราสนใจ Google) หรือเลือกได้ว่าจะเอาคู่แข่งไหนเป็นหลัก อาจจะเอาค่ารวมก็ได้
2 จำนวนการค้นหา
3. ค่าของ Keyword แต่ละคำ หรือจำนวนการคลิกของแต่ละ Keyword

จากตัวอย่างเราก็จะได้ Keywords ที่น่าสนใจดังนี้



acne care
acne products
acne remedy

หรือขยายความสนใจให้กว้างขึ้น


acne remedy
cystic acne
clear acne
acne laser
acne product
cure acne
acne natural
acne products
acne control
rid acne
acne care

เราสามารถที่จะเอา Keywords เหล่านี้ไปหาต่อได้ โดยทำซ้ำตามขั้นตอนทั้งหมด

5. ขั้นตอนสุดท้ายคือการนำ Keywords ที่ได้ไปทดลอง โดยอาจจะไปลองกับเว็บปั่นดูว่า Keywords ไหนจะทำเงินได้ดีจริง ๆ ขั้นตอนนี้ก็ต้องอาศัยเทคนิคหลายอย่างเข้าช่วย คงต้องใช้เวลาสักพัก แต่ก็ต้องทำเพราะคงไม่มีใครมาบอกว่า Keywords ไหนทำเงินให้เขาจริง ๆ (จะบอกให้โง่ทำไม กว่าจะหาได้แทบรากเลือด)

เหนื่อยแล้ว... ใช้เวลาเขียนบทความนี้อยู่หลายชั่วโมงเลย บทความนี้ไม่ได้ถูกต้องทุกอย่าง เป็นเทคนิคที่อ้างอิง Goo (และGoogle) โดยต้องยอมรับเงื่อนไขว่าข้อมูลที่ได้จาก Google เชื่อถือได้ (ผมก็ค่อนข้างเชื่อข้อมูลการค้นหาจาก Google เพราะทดลองกับ Keywords แล้วปริมาณการค้นหาก็ใกล้เคียงกับที่ Google บอก

Alexa Rank คือ อะไร?

seo

Google Pagerank คือ อะไร ?
Google Pagerank หรือ Google PR คือ ค่าลำดับคะแนนที่ Google ประเมินให้กับคุณภาพของเนื้อหา ในหน้าเว็บเพจแต่ละหน้า ที่ปรากฎ อยู่ในเว็บไซต์ โดยคะแนนที่ปรากฎจะอยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง 10 ยิ่งตัวเลขยิ่งสูงยิ่งดี PageRank สูง นั่นหมายความว่าเว็บไซต์นั้นๆ มีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่าเว็บไซต์ที่มี PageRank ต่ำกว่า สำหรับหน้าเว็บเพจที่ไม่มีค่าPagerank ระบบจะแจ้งเป็น “No PageRank information available”

Alexa Rank คือ อะไร?
Alexa Rank คือ อันดับเว็บทั่วโลกที่อยู่บนเว็บของ alexa
ตัวเลขแสดงอันดับของการเข้าชมเว็บไซต์ ในค่าของ Alexa Rank นี้ ได้มาจากการคำนวณ ตาม Traffic ที่มาจาก UIP ที่เป็นผู้ใช้อยู่ทั่วไปนั่นเอง (โดยคิดคำนวณในระยะเวลา 3 เดือนต่อครั้ง) และจะเห็นได้ว่า Alexa Rank ของเว็บไซต์ที่มีค่าน้อย จะดีกว่า Alexa Rank ของเว็บไซต์ที่มีค่ามาก

Backlinks คือ อะไร?
Backlinks คือ Links ที่เชื่อมโยงเข้ามาที่เว็บไซต์ของเรา บางครั้งเรียกว่า Incoming Links หรือ Link Popularity ยิ่งมีเยอะเท่าไหร่ยิ่งส่งผลดีต่อเว็บเราเท่านั้น

One-stop Service Keyword Page


One-stop Service Keyword Page

ไอเดียการสร้างหน้า keyword ที่ตรงใจ visitor ครับ
ผม เชื่อว่าเพื่อนๆส่วนหนึ่งที่จ้างเขียนบทความอาจจะเจอปัญหาเรื่องจ้างเขียน แล้วได้บทความไม่ตรงใจ เช่นส่ง kw "Australia Adventure" ไปจ้างเขียน อยากได้ทำนอง how to get the best deals แต่คนเขียนดันเขียนมาแนวสถานที่ที่ควรไปซะนี่

แน่นอนว่าเขาเขียนไม่ ผิด แต่มันไม่ตรงใจเรา เพราะอะไร? ก็เพราะ keyword มันดิ้นได้ ต้องเดาใจว่าคนที่ค้นเขาต้องการอะไรจากการค้นครั้งนี้ บางคนอาจจะต้องการรู้สถานที่ที่ควรไป วิธีการเดินทาง บางคนต้องการ package tour หรือบางคนอาจจะแค่อยากอ่านสนุกๆ แบบว่าว่างมาก

โจทย์นี้เลยมาตก อยู่ที่เจ้าของเว็บว่าจะทำยังงัยดีกับคนค้นที่มาด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่าง กัน แต่จะต้องมาเจอหน้าบทความของเราแค่หน้าเดียว สมมุติว่าคนเข้ามาเพราะต้องการ package tour ถูกๆ เข้าทางโจรเลยครับ บทความเราเป๊ะ แต่ถ้าเขามาด้วยวัตถุประสงค์อื่น หน้าเว็บเราก็จะกลายเป็นส่วนเกินที่เขาไม่ต้องการไปทันที

สรุปเบื้องต้นตรงนี้ก่อนว่า บทความที่เราคิดว่าคุณภาพเต็มร้อย โครตเทพ ก็จะสามารถตอบสนองความต้องการของ visitor ได้บางส่วนเท่านั้น

ถ้า ถามผมว่า ทำยังงัยดีละกับปัญหานี้ ผมก็ไม่รู้ครับ ผมให้ความสนใจปัญหานี้มาระยะนึงแล้ว ตอนนี้กำลังทดลองอะไรบางอย่าง จริงๆผลการทดลองออกมาให้เห็นแล้ว เพียวแต่มันระยะสั้นเกินไปที่จะสรุปเป็น roadmap ได้
   
แนวทางที่ผมใช้ในการแก้ปัญหานี้คือ การสร้าง kw page แบบ one-stop service ซึ่งหมายถึงการสร้าง kw page เพื่อตอบสนองความต้องการของ visitor ส่วนใหญ่ (อาจจะไม่ทั้งหมด) วิธีการไม่ซับซ้อนครับ

  • ขั้นแรก เมื่อหา kw ที่ต้องการทำได้แล้ว ผมก็จะมานั่งคิดว่า คนเขาค้น kw นั้นด้วยวัตถุประสงค์อะไรได้บ้าง
  • ขั้นสอง สร้างหน้า kw ตามวัตถุประสงค์นั้นๆ
  • ขั้นสุดท้าย วัดผล

สำหรับเพื่อนๆที่ยังนึกไม่ออก ลองดูตัวอย่างนี้นะครับ
สมมุติ ว่าเราทำ kw page ของคีย์ cpanel web hosting (ยกตัวอย่างนี้บ่อย แต่ผมไม่ได้ทำนะครับ ยากเกิ้น) เราก็ต้องมานั่งนึกว่าคนเขาค้นเข้ามาด้วยวัตถุประสงค์อะไร ก็จะสามารถแยกคร่าวๆได้ดังนี้
1. กลุ่มที่ต้องการรู้ว่ามันคืออะไร
2. กลุ่มที่รู้ว่าคืออะไร แต่ต้องการรู้ว่ามีเจ้าไหนเด็ดๆบ้าง
3. กลุ่มที่รู้ว่ามีที่ไหนบ้าง แต่ต้องการอ่าน reviews, feedback เป็นต้น
4. กลุ่มที่รู้ทุกอย่างแล้ว เพียงแต่จะมาหาคูปองหรือ package ราคาถูกๆ

เอา แค่ 4 กลุ่มละกัน ถ้าเราจ้างเขียนบทความ แล้วเขาเขียนมาให้เราในแนว CPanel Web Hosting - What is it? แบบนี้กลุ่มแรกยิ้ม แต่อีก 3 กลุ่มเบ้หน้า เพราะรู้แล้ว ... ผมเชื่อว่าเขาจะกดปิดหน้าเว็บของเรา

เพื่อแก้ปัญหานี้ ผมก็จะสร้างหน้าเว็บที่มีข้อมูลต่อไปนี้
1. มันคืออะไร ดียังงัย เมื่อเทียบกับ hosting ประเภทอื่นๆ
2. reviews ซัก 1-2 ที่ ทำนอง best in class (แน่นอนมี aff link ให้กดเล่นสนุกๆด้วย)
3. ตามด้วย recommended cpanel web hosting services อีกซัก 4-5 ที่ (มี aff link ด้วย)
4. ตามด้วย deals of the week/month ก็ว่าไป ใส่ promo code / coupon / package ราคาพิเศษ
5. ตบท้ายด้วย related topics เผื่อข้อมูลหน้านี้ไม่ตรงกับที่ visitor ต้องการ จะได้มีที่ไปต่อ

พวก aff ที่เราเอามา reviews เป็นได้ทั้ง amazon, cj, cb หรืออะไรก็ได้ครับ ที่สามารถสร้าง value added ให้กับ visitor และกับเราได้
ส่วนการวัดผลก็ง่ายๆครับ click + earning จาก aff นั้นๆ

เพื่อนๆละครับ มีแนวทางการสร้าง kw page เพื่อรองรับความต้องการที่แตกต่างของ visitor ยังงัยกันบ้าง

credit: http://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,165460.840.html

ร่วมเป็นสมาชิก Blogseothai คุณคือตัวจริง !