คงไม่มีใครปฎิเสธนะครับว่าหนึ่งในนิยามความสําเร็จทางธุรกิจก็คือ การสร้างมิตรภาพ การสร้างเสริมความสัมพันธ์ทั้งระหว่างคู่ค้า เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมอาชีพ หรือเรียกรวมๆ กันว่า “Connection” สมัยก่อนการบริหารความสัมพันธ์ดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในหน้าที่การงานของเราจะต้องใช้ความพยายามค่อนข้างมาก แต่สมัยนี้เรามี Social Media เฉพาะทางสำหรับคนทำงานอย่าง LinkedIn.com เชื่อว่า thumbsuper หลายท่านคงเคยใช้กันมาไม่มากก็น้อย วันนี้เราเลยขอนำกลเม็ดเล็กๆ น้อยๆ ในการใช้ LinkedIn ให้ได้ประโยชน์สูงสุดครับ
1. ทำโปรไฟล์ให้ชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจเราภายใน 1 นาทีเวลาเราเข้าไปใช้งาน LinkedIn หลายครั้งเลยครับที่เรามักจะเจอโปรไฟล์ที่ดูไม่ชัดเจน เขียนว่าทำอะไรได้ ทำงานที่ไหนมาอย่างเดียวอาจจะไม่พอ แต่สิ่งหนึ่งที่จะทำให้ภาพลักษณ์ของเราชัดเจนได้อย่างง่ายๆ ก็คือ ระบุให้ชัดไปเลยว่าถ้าเราจะอธิบายตัวเองสั้นๆ ให้คนที่อ่านโปรไฟล์ของเราเข้าใจได้ในเวลาไม่เกิน 1 นาที จะต้องเขียนอย่างไร
ส่วนตัวผมใช้วิธีการเขียนนิยามไว้สั้นๆ ใต้รูปโปรไล์สั้นๆ 1 ประโยคว่าเป็น “Online Media Practitioner” หรือผู้สนใจใฝ่รู้ในเรื่องสื่อออนไลน์ เพราะผมเป็นคนที่มีพื้นหลังการศึกษาเรื่องสื่อ เคยผ่านงานข่าวงานสื่อมาแล้วเกือบทุกรูปแบบก่อนที่จะก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ ทำให้มีประสบการณ์ด้านสื่อออนไลน์ชัดเจน ใครที่สนใจจะทำความรู้จักตัวตนของผมมากขึ้น ก็อ่านประวัติต่อได้ ถึงจะรู้ว่าอ๋อ ผ่านงานด้านการตลาด และการดูแลผลิตภัณฑ์มาด้วย เป็นต้น… อีกอย่างหนึ่งที่ขอย้ำคือ เราต้องเขียนเข้าใจง่ายๆ อ่านปราดเดียวเข้าใจด้วยนะครับ พอเขียนเสร็จแล้วให้อ่านทวนและแทนใจว่าเราเป็นคนอ่านว่าอ่านแล้วงงหรือไม่
สำรวจตัวเราเองก่อนเลยครับว่า ถ้าจะให้คนอื่นเรียกเราสั้นๆ จะให้เขาเรียกเราเป็นอะไร อันนี้เป็นเรื่อง Personal Brand ด้วยครับ จะให้คนจำคุณว่าเป็นอะไรดี? แตกต่างจากคนอื่นๆ อย่างไร
2. เพิ่มคนที่คุณรู้จักจริงๆ เท่านั้นผมขอแนะนำให้คุณรับแอดหรือเพิ่มรายชื่อคนติดต่อเฉพาะคนที่คุณรู้จักจริงๆ เท่านั้น เพราะการที่คุณเพิ่มใครเข้ามาอยู่ในเครือข่ายของคุณ เท่ากับคุณอาจเปิดให้คนๆ นั้นเข้ามาดูได้ว่าคุณรู้จักใครบ้าง ซึ่งเป็นทั้งคุณและโทษในเวลาเดียวกัน ที่จริงเราสามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้ด้วยว่าเราจะให้คนในเครือข่ายเราเห็น Connection ของเราหรือไม่ ผมเคยลองไม่ให้คนในเครือข่ายมองเห็น Connection ของเราปรากฏว่าคนดูโปรไฟล์หรือติดต่องานเราน้อยลง ดังนั้นสู้ว่าเราเพิ่มเฉพาะคนที่รู้จักจริงๆ แล้วเปิดให้คนรู้จักดู Connection เราได้จะดีกว่า มันจะทำให้คุณได้รับประโยชน์จาก LinkedIn มากกว่า เพราะ LinkedIn เป็นเรื่องของโครงสร้างข้อมูลที่ “เปิด” มากกว่าการเป็นเว็บไซต์สำหรับอัพโหลด Resume แบบ “ปิด”
3. กล้าใช้ภาษาอังกฤษแบบไม่กลัวผิดด้วยความที่ LinkedIn ยังไม่ได้เปิดให้บริการภาษาไทยอย่างเป็นทางการ ผมแนะนำว่าเราควรใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเป็นหลักแบบที่คุณไม่ต้องไปกลัวผิดอะไรมาก เพราะถ้าคุณสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษแล้ว คุณก็จะใช้บริการของ LinkedIn ได้คุ้มค่าไม่ว่าจะเป็นการถาม-ตอบใน LinkedIn Answers หรือการใช้ Application ต่างๆ ที่อยู่ใน LinkedIn ไม่ใช่ใช้มันเป็นเพียงที่แปะ Resume อย่างนั้นคุณใช้เว็บหางานทั่วไปก็ได้ครับ แต่สำหรับ LinkedIn คุณใช้มันทำอะไรได้หลากหลาย แต่ก้าวแรกต้องเริ่มจากการพยายามสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษก่อน ถ้าคุณกลัวว่าจะใช้ภาษาผิด ไม่ต้องกลัวครับคนต่างชาติถ้าอยากจะคุยกับเราจริงต้องพยายามทำความเข้าใจเรา แต่อย่างไรถ้ามีเวลาเราก็ต้องพยายามเขียนให้ถูกด้วยนะครับ
4. Upgrade Account ของคุณด้วยการยอมจ่ายเงิน LinkedIn บ้างถ้าลองสังเกตไอค่อนเล็กๆ ข้างโปรไฟล์ของผู้ใช้ LinkedIn บางคนคุณจะเจอไอค่อนสีทอง อันนั้นคือไอค่อนที่ระบุว่าสมาชิก LinkedIn คนนั้นใช้ Business Account โดยยอมจ่ายค่าสมาชิกเดือนละ 30-100 เหรียญ โดยคุณจะได้รับประโยชน์อย่างเช่น ส่งอีเมลหาคนที่ไม่ได้อยู่ใน Contact ของคุณได้โดยตรง และทาง LinkedIn การันตีว่าจะได้รับการตอบกลับแน่นอน นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มความสามารถในการคอยตรวจดูว่าใครมาดูโปรไฟล์ของคุณบ้าง อย่างปกติดูได้จำกัดไม่กี่คน แต่ถ้าคุณอัพเกรดคุณก็รู้หมดว่าใครเข้ามาดูบ้าง ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้เรารู้ได้ว่าตอนนี้คนในแวดวงไหนที่อ่านและดูโปรไฟล์ของคุณบ้าง ส่วนตัวแล้วผมได้รับประโยชน์จากการ Upgrade Account หลายอย่างครับ ทำให้มีคนติดต่อเข้ามามากขึ้น และส่วนตัวก็ติดต่อชาวต่างประเทศในด้านเดียวกันได้ง่ายมากๆ แม้จะไม่มี Connection ระหว่างกัน
5. เข้าร่วมกลุ่มความสนใจต่างๆ
LinkeIn ไม่ใช่เว็บไซต์หางานอย่างเดียว แต่มันเป็น Social Media ที่เปิดให้เราบริหารความสัมพันธ์ทางธุรกิจได้ วิธีการเริ่มต้นง่ายๆ ก็คือ กลุ่มความสนใจต่างๆ ของสมาชิก LinkedIn ครับ กลุ่มหลักๆ จะแบ่งออกเป็น 2 อย่างครับ แบบแรกคือ “แบบองค์กร” อย่างผมเองเคยทํางานที่ Yahoo! ผมก็จะเข้าไปร่วมในกลุ่มของ “ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน Yahoos” ซึ่งข้างในกลุ่มนี้ก็จะมีคนที่เคย/กําลัง ทํางานอยู่ใน Yahoo! เข้าไปคุยกันอยู่ในนั้น ใครย้ายไปประเทศอะไร อยู่ที่ไหนก็ตามกันได้ ใครมีงานใหม่ๆ มาประกาศกัน มีแม้กระทั่ง อดีตฝ่ายบุคคลมาตามหาคนไปทํางานก็มี
แบบต่อมาก็คือแบบ “กลุ่มความสนใจ” อันนี้แบ่งกันตามสะดวก เช่นวันดีคืนดีอาจจะมีคนมาชวนคุณมาเข้าร่วม “กลุ่มนักการ ตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย” หรือ “กลุ่มนักพัฒนาโอเพ่นซอร์ส” และถ้าไม่มีกลุ่มไหนตรงกับความต้องการหรือความสนใจเราเลย จะตั้งกลุ่มเองก็ไม่ผิดกติกาครับ การตั้งกลุ่มที่เป็นกลุ่มเฉพาะในความสนใจของเราเองจะทําให้เราได้สนทนาภาษาเดียวกันกับคนที่ทํางานในสายเดียวกับเราได้แลกเปลี่ยนความรู้กับคนอื่นๆ มีแต่ได้กับได้ครับ เราเพียงแต่ต้องคอยจัดการกลุ่มหรือดูแลชุมชนของเราให้ดี
กระแสการใช้เฟซบุ๊ค (Facebook) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีจำนวนผู้ใช้ (account)เติบโตโดยตลอด สถิติจากwebsite www.facebakers.com มีคนไทยที่ลงทะเบียนแล้ว 5,744,060 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 45% และผู้หญิง 55% ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่คือวัยอุดมศึกษาหรือวัยเริ่มต้นทำงาน (18-24 ปี) ประมาณ 37% ของกลุ่มผู้ใช้บริการทั้งหมด และวัยทำงาน (อายุ 25-34 ปี) ประมาณ 32% ซึ่งสรุปได้ว่า 69% คือกลุ่มที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว และใช้ Facebook แสดงความเป็นตัวตนของตัวเองให้กับสื่อที่กระจายไปอย่างไม่มีขอบเขต แม้ว่าFacebookจะมีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว (Privacy) แล้วก็ตาม ซึ่งในต่างประเทศ เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกาหลายบริษัทเมื่อจะรับคนเข้าทำงานก็จะตรวจสอบพฤติกรรมต่างๆ ของผู้สมัคร โดยเข้าไปดูใน Facebook ของผู้สมัครนั้นด้วย รูปถ่ายที่ประหลาด กิจกรรมที่หลากหลาย คำหรือประโยคที่ใช้โพสข้อความ ล้วนสื่อถึงความคิดและการกระทำของผู้สมัครได้
นอกเหนือจากการปรับวิธีการใช้เฟซบุ็ค Facebook ให้เหมาะสมแล้ว ถ้าคุณคิดจะได้งานที่ดี หรือต้องการเติบโตในสายอาชีพอย่างเหมาะสมและถูกทางแล้ว ยังมี Social media ที่เน้นสำหรับมืออาชีพ (Professional) โดยเฉพาะ นั่นคือLinkedin
มีสถิติศึกษาโดย Nielsen Claritas เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว (2552) สรุปว่า 35% ของผู้ใช้บริการ Linkedin สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 100,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 3 ล้านบาท) ในขณะที่ผู้ใช้บริการ Facebook 20% สามารถสร้างรายได้ในระดับเดียวกัน ทั้งๆที่สมาชิก Facebook มีมากกว่าสมาชิก Linkedin หลายเท่า
Linkedin ไม่ใช่เพียงเวปแสดงประวัติการทำงานหรือประสบการณ์ (Resume) เพื่อหางานเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งข้อมูล และเครือข่ายอีกมากมาย รวมทั้งต่อยอดธุรกิจไปทั่วโลกด้วย จำนวนผู้ใช้ตอนนี้มีกว่า 70 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่คือผู้บริหารระดับกลางและสูง มาจากบริษัทระดับชาติหลายแห่ง ดังนั้นจึงไม่ใช่การหางานเท่านั้น แต่คือแหล่งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และวิธีการทำงานให้ประสบความสำเร็จในสายอาชีพเดียวกัน ยกตัวอย่างกลุ่มที่ผมเป็นสมาชิกอยู่ได้แก่ Finance Industry Professional Worldwide กลุ่มคนที่ทำงานหรือสนใจในสายงานด้านการเงิน มีสมาชิกตอนนี้ 26,981 คน จะมีข้อความแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเงินทั่วโลก และ กลุ่มThailand Connection ราชอาณาจักรไทย มีสมาชิกตอนนี้ 4,340 คน มีผู้บริหารสายงานอาชีพต่างๆ ในประเทศไทย (มีทั้งคนไทยและคนต่างชาติ) พูดคุยเกี่ยวกับการทำงานในประเทศไทย
ผมเองก็มี Facebook แต่ว่า Linkedin ช่วยสร้างเครดิตให้การทำงานของผมมากกว่า เพราะลูกค้าของผมเป็นบริษัทต่างชาติด้วย ซึ่งเคยมีบริษัทต่างชาติโทรมาสัมภาษณ์งาน เพราะสนใจใน Profile ของผมใน Linkedin และมี email จากผู้บริหารในหลายประเทศที่สนใจจะมาลงทุนในประเทศไทยติดต่อเข้ามาหลายครั้ง
ผมได้แนบตัวอย่างหน้า Profile Linkedin ของผมให้ดูกันนะครับ หรือไปดูเพิ่มเติมได้ที่
http://th.linkedin.com/in/sethaphong หรือค้นหา Sethaphong ผ่านทาง Google จะพบว่าเวปProfile ของ Linkedin ของผมจะติดอันดับต้นๆ เลย